Hyperloop การขนส่งแห่งอนาคต

SME Startup
03/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4142 คน
Hyperloop การขนส่งแห่งอนาคต
banner

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน คือสนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจฝั่งตะวันออกหรือ EEC ซึ่งมีองค์ความรู้หนึ่งเกี่ยวข้องกับแวดวงโลจิสติกส์แห่งอนาคต นั่นคือ Hyperloop ระบบขนส่งภาคพื้นดินในลักษณะอุโมงค์รูปลักษณ์ท่อขนาดใหญ่วางยาวต่อๆกัน โดยท่อเป็นระบบท่อสุญญากาศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


แนวคิด Hyperloop  เริ่มโดย Elon Musk ในปี 2013 ได้ร่างพิมพ์เขียวการจัดสร้างและเผยแพร่เป็นเอกสารการออกแบบเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงเส้นทางที่แนะนำจากลอสแอนเจลิสถึงซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นแนวทางเดินรถเชื่อมระหว่าง 5 รัฐ มีการประมาณการค่าใช้จ่ายเบื้องต้น สำหรับเส้นทางลอสแอนเจลิสไปยังซานฟรานซิสโกไว้ที่ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการขนส่งเฉพาะผู้โดยสาร และ 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯสำหรับการขนส่งสินค้า

โดยในปีต่อมาได้มีการก่อตั้ง Hyperloop One โดยทีมวิศวกรอากาศยานและทีมวิศวกรขนส่งระบบรางจำนวน 200 คน เป็นทีมงานบุกเบิกเพื่อสร้าง Hyperloopในเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก ทีมวิศวกรชุดบุกเบิกได้แนะนำให้มีการทดลองเชื่อมต่อ Hyperloop ระหว่างเมืองเฮลซิงกิ ไปยังกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะลดเวลาในการเดินทางระหว่างเมืองต่างๆ ลงถึงครึ่งชั่วโมง

โดยโครงการดังกล่าวเป็นการระดมทุนจากนักลงทุนมากกว่า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  นำโดย Musk&SpaceX ของ Elon Musk และในวันที่ 11 พฤษภาคม ปี ค.ศ.2016 Hyperloop One ได้ดำเนินการทดลองใช้เทคโนโลยี Hyperloop ครั้งแรก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามอเตอร์ไฟฟ้าที่กำหนดไว้ สามารถขับเคลื่อนได้เองโดยเลื่อนจาก 0 ถึง 110 ไมล์ต่อชั่วโมงภายในเวลาเพียงหนึ่งวินาที

อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อมาสำหรับ Hyperloop ก็คือท่อแรงดันอากาศต่ำที่ใช้สำหรับลดแรงเสียดทานระหว่างโบกี้รถไฟกับตัวท่อ โดยมีพัดลมยักษ์ซึ่งติดตั้งไว้ที่ด้านหน้าสุดของตัวรถแรงดันอากาศต่ำเจอกับภาวะสุญญากาศ และการขับเคลื่อนของ STATOR และ ROTOR ก็จะทำให้ขบวนรถไฟ Hyperloopเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยตนเอง

ปัจจุบัน Hyperloop ได้เริ่มดำเนินการระบบการขนส่งผู้โดยสาร ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) จากเมืองดูไบ ไปอาบูดาบี ตามรอยความสำเร็จของเส้นทางเฮลซิงกิ-สตอกโฮล์ม และลอสแอนเจลิส-ซานฟรานซิสโก และกำลังทำการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับระบบการขนส่งของรัสเซีย และสวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ

กล่าวกันว่าการขนส่งแบบ Hyperloop แม้จะมีความเร็วสูงกว่าแต่ปลอดภัยกว่าเครื่องบิน การขับเคลื่อนอาศัย STATOR วางแนวไว้ด้านล่างของขบวนรถไฟ ซึ่งเป็นระบบมอเตอร์แม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนที่ติดตั้งกับตัวรถเรียกว่าROTOR ทำความเร็วสูงสุดได้ 760 ไมล์ต่อชั่วโมง มันจึงวิ่งจากลอสแอนเจลิส ไปยังซานฟรานซิสโกด้วยเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น


สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยี Hyperloop ต้องถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก เพราะในขณะนี้บ้านเราเพิ่งเริ่มต้นโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์นำร่องของ S-Curve ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ดังนั้น Hyperloop ยังถือว่าเป็นอนาคตที่ไกลเกินไปสำหรับประเทศไทยในขณะนี้

อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าเทคโนโลยี Hyperloop จะเป็นมิติใหม่ด้านการขนส่งในอนาคตอย่างแน่นอน และเชื่ออีกไม่นานเกินรอ ภายใต้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่ EEC สามารถต่อยอดไปกับ New S-Curveอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ซึ่งเทคโนโลยีการขนส่งรูปแบบใหม่จะยิ่งผลักดันให้ Hyperloop ในประเทศไทยเกิดเร็วขึ้น 


2020 ก้าวสำคัญของเทคโนโลยีล้ำสมัย

‘โดรน’ ปฏิวัติเศรษฐกิจสมัยใหม่


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2286 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4474 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2257 | 22/12/2022
Hyperloop การขนส่งแห่งอนาคต