วิกฤต COVID-19 ‘ธุรกิจก่อสร้าง’ จะปรับตัวอย่างไร?

SME in Focus
16/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2564 คน
วิกฤต COVID-19 ‘ธุรกิจก่อสร้าง’ จะปรับตัวอย่างไร?
banner

การดำเนินธุรกิจด้านการก่อสร้างท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 นับเป็นความท้าทาย จากแนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การชะลอตัวของตลาด โครงการภาคเอกชนหยุดชะงัก รวมทั้งภาวะการณ์ขาดตอนของซัพพลายเชนในการจัดหาและการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องจักร ตลอดจนชิ้นงานต่างๆ ที่เกิดความล่าช้าในการเคลื่อนย้าย และเวลางานที่ลดลง ในช่วงรัฐบาลประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พรก.ฉุกเฉิน นับเป็นอุปสรรคสำคัญที่ธุรกิจต้องหาทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่เสมอ ทั้งยังเป็นการแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

นายกิตติวุฒิ ศศิวิมลพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมทัล บิวล์ดิง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตหลังคาและโครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง กล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคในช่วง พรก.ฉุกเฉินและในจังหวัดที่มีการปิดล็อกดาวน์จากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถขนย้ายวัตถุดิบไปเพิ่มเติมในหน้าไซด์งานได้ อีกทั้งพนักงานไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานในสถานที่ต่างๆ จึงไม่สามารถส่งมอบงานและเก็บเงินค่าจ้างได้ตามกำหนด

อย่างไรก็ตามธุรกิจได้เตรียมการล่วงหน้าเพื่อจัดส่งพนักงานลงพื้นที่ปฏิบัติงานไปแล้ว แต่มีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับ เพื่อดูแลด้านที่พักและอาหารสำหรับพนักงานตามที่กำหนดไว้ ซึ่งที่ผ่านมาได้ความช่วยเหลือผ่านสินเชื่อซอฟท์โลนเข้ามาช่วยให้ธุรกิจไม่สะดุดจากปัญหาสภาพคล่องที่กำลังลดลง จึงสามารถประคองธุรกิจและดูแลพนักงานทั้งหมดเกือบ 100 ชีวิตต่อไปได้

นายกิตติวุฒิ มีความเห็นว่า สำหรับทุกธุรกิจ Cash flow หรือกระแสเงินสด เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไป โดยเฉพาะในยามวิกฤตที่ไม่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ตามปกติ และไม่รู้ว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อยาวนานเท่าใด แต่กลับมีค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกวัน โดยเฉพาะการดูแลรักษาพนักงานทุกคนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด


อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดโควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนทั่วโลก ขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ต้องปรับทั้งวิธีการคิดและกระบวนการดำเนินงาน เพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งอาจจะต้องมีการบริหารจัดการที่ต้นทุนเป็นหลัก คือการทำให้ต้นทุนหรือรายจ่ายต่ำลง ในขณะที่คุณภาพไม่ลดตามไปด้วย อย่างเช่น 

1. การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงได้อย่างคุ้มค่า เนื่องจากมีการผลิตในปริมาณมาก ลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต และตอบโจทย์ของธุรกิจ ณ ช่วงเวลานั้น อาทิเช่น กรณีแรงงานคนขาดแคลนหรือติดเวลาเคอร์ฟิว การสั่งงานเครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติในภาคการผลิตผ่านแอปพลิเคชั่นสามารถชดเชยส่วนนี้ได้

2. การวางแผนในการลงทุน ในช่วงที่ไม่เหมาะสำหรับการลงทุนที่เห็นผลช้าหรือไม่แน่นอน การวางแผนประหยัดต้นทุน โดยชะลอการลงทุนเท่ากับ การรักษาสภาพคล่องในช่วงนั้น

3. การจัดซื้อจัดจ้าง ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยในการดำเนินการซื้อวัตถุดิบ การว่าจ้างผู้ผลิตชิ้นส่วน เนื่องจากซื้อหรือว่าจ้างในปริมาณมากจึงได้ส่วนลดเพิ่มขึ้น ตรงนี้อาจต้องพิจารณาตามสถานการณ์ เพราะการสต็อกสินค้าก็คือต้นทุนเช่นกัน

4. การปรับกลยุทธ์ด้านการขนส่ง โดยการวางแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งแบบใหม่  ซึ่งเป็นวิธีการขนส่งที่ผสมผสานภายใต้การควบคุมระยะเวลาและต้นทุนที่ต่ำที่สุด เช่น การใช้วิธีการขึ้นรูปหลังคาที่ไซด์งาน ลดการขนส่งชิ้นงานสำเร็จรูป  

5. กลยุทธ์ศูนย์กระจายสินค้า การหาที่ตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่สามารถกระจายและส่งต่อไปยังจังหวัดใกล้เคียงหรือประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยทำให้สามารถลดต้นทุนการขนส่งได้เนื่องจากการขนส่งตรงถึงลูกค้า การมีโครงข่ายกระจายสินค้า ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าและกระจายสินค้าไปสู่ไซด์งานหรือโรงงานของลูกค้าจะทำให้สามารถบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ได้ดีขึ้น

คำแนะนำเหล่านี้เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์หากสามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ เพราะเราคงไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าวิกฤตโควิด-19 จะจบลงเมื่อไหร่ และจะเป็นอย่างไรต่อไป ดังนั้นผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงความยุ่งยากที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนการวางแผนรับมือเหตุการณ์ล่วงหน้า ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางปัจจัยความไม่แน่นอนที่รายล้อม 

 

แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=wxieSFUI1Ew&feature=youtu.be&app=desktop 

                    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/880371  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


SMEs ต้องเตรียมพร้อมรับมือการขนส่งสินค้าช่วงโควิด-19

โควิด-19 กระตุ้นธุรกิจโลจิสติกส์โต - จ้างงานเพิ่ม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
141 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
702 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
545 | 10/04/2024
วิกฤต COVID-19 ‘ธุรกิจก่อสร้าง’ จะปรับตัวอย่างไร?