วิเคราะห์เศรษฐกิจ 6 ชาติอาเซียนจากปัจจัย COVID-19

SME in Focus
21/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 6176 คน
วิเคราะห์เศรษฐกิจ 6 ชาติอาเซียนจากปัจจัย COVID-19
banner

Rabobank ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเนเธอร์แลนด์ (ในแง่มูลค่าสินทรัพย์) ได้ออกรายงานเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563 วิเคราะห์ผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจอาเซียนในภาพรวม และผลกระทบต่อธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของอาเซียน ซึ่งแม้ชื่อของรายงานจะระบุผลกระทบต่ออาเซียน (How COVID-19 will impact ASEAN) แต่เนื้อหาของรายงานมุ่งเน้นผลกระทบต่อประเทศสมาชิกอาเซียนเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม บนพื้นฐานของผลสำเร็จในการรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีความแตกต่างกันในภูมิภาค กลุ่มที่หนึ่ง คือประเทศที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

และกลุ่มที่สอง คือประเทศที่เริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้ ได้แก่ เวียดนาม ไทย และมาเลเซีย และผลวิเคราะห์ของรายงานอยู่บนสมมติฐานว่า ทุกประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดไว้ได้และระบบสาธารณสุขยังมีศักยภาพที่เพียงพอต่อการรับมือ (โดยเพ่งเล็งอินโดนีเซียซึ่งอยู่ในฐานะที่สุ่มเสี่ยงและอาจนำมาซึ่งผลการวิเคราะห์ที่แตกต่างออกไป

เนื่องจากอินโดนีเซียมีการตรวจสอบจำนวนผู้ติดเชื้อที่จำกัดและมีจุดอ่อนเรื่องระบบสาธารณสุข หากรัฐบาลอินโดนีเซียใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นหรือยาวนานขึ้น ระบบเศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะได้รับผลกระทบมากกว่าที่บทวิเคราะห์นี้ได้คาดการณ์ไว้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

แนวโน้มผลกระทบทางเศรษฐกิจ 

6 ชาติอาเซียน (ตามรายงาน) จะประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากผลกระทบต่อ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 

1. การส่งออก  ซึ่งสิงคโปร์และเวียดนามจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออก 

2. การท่องเที่ยว  ฟิลิปปินส์และไทยจะได้รับผลกระทบหนัก และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะยังคงซบเซาจนกว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนได้เป็นผลสําเร็จ ซึ่งคาดว่าการใช้วัคซีนอย่างเร็วที่สุด จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 

3. อุปสงค์ภายในประเทศ  ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดและระยะเวลาที่นำมาตรการมาบังคับใช้ โดยเวียดนามและฟิลิปปินส์จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เนื่องจากบังคับใช้มาตรการอย่างเข้มงวด

 

การคาดการณ์ GDP ในปี 2563

- อินโดนีเซีย  คาดว่าตัวเลข GDP จะไม่ติดลบ เนื่องจากเศรษฐกิจของอินโดนีเซียไม่เปิดกว้างนักและไม่พึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นหลัก รวมถึงมิได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด ประกอบกับอินโดนีเซียนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก (ร้อยละ 17 ของการใช้ภายในประเทศ) ด้วยราคาน้ำมันที่ถูกลง จึงลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า (อย่างไรก็ดีการคาดการณ์ตัวเลข GDP อยู่บนเงื่อนไขที่ว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้)

- มาเลเซีย  ใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดและเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ โดยเฉพาะน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าที่ทำรายได้หลักให้ประเทศ (ประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ทั้งหมด) จึงคาดว่า GDP ของมาเลเซียจะติดลบร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2562

- สิงคโปร์  เป็นประเทศขนาดเล็กและมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าเป็นสำคัญ จึงคาดว่าจะส่งผลให้ GDP ของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปี 2562

- ไทย  ผู้วิเคราะห์ระบุว่าจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในอาเซียน โดยคาดว่า GDP อาจลดลงถึงร้อยละ 8 เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของไทยที่เป็นแบบเปิด พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ และการเมืองที่ยังไม่มีความมั่นคงนัก อย่างไรก็ดีไทยอาจได้รับผลกระทบเชิงบวกจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เนื่องจากมีอัตราค่าจ้างและระบบการค้าที่สามารถทดแทนจีนได้

- เวียดนาม  ในปีนี้คาดว่า GDP ของเวียดนามจะเติบโตที่ร้อยละ 1 เนื่องจากแม้เวียดนามจะใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด แต่เป็นระยะเวลาที่สั้นและสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้แล้ว และเช่นเดียวกับไทยที่เวียดนามจะได้รับผลกระทบเชิงบวกจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เนื่องจากมีค่าจ้างและระบบการค้าที่ทดแทนจีนได้

อย่างไรก็ดีเวียดนามได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯ มาระยะหนึ่งแล้ว นับตั้งแต่เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน จึงมีโอกาสที่สหรัฐฯ จะเปลี่ยนแปลงนโยบายทางภาษีต่อเวียดนาม (อนึ่งตัวเลขคาดการณ์ GDP ปี อยู่บนพื้นฐานว่าเวียดนามสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้และระบบสาธารณสุขที่ยังรองรับได้ เนื่องจากเวียดนามไม่ได้ตรวจสอบผู้ติดเชื้ออย่างทั่วถึงและมีจุดอ่อนในด้านสาธารณสุข)

- ฟิลิปปินส์  จะได้รับผลกระทบหนักและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะยังคงซบเซาจนกว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนได้เป็นผลสําเร็จ ขณะที่การนำเข้าส่งออกเกิดชะงัก และคาดว่า GDP จะลดลงร้อยละ 8 เช่นเดียวกับไทย

ผู้วิเคราะห์ยังได้คาดการณ์ถึงกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสไว้ได้ และต้องขยายมาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงมากขึ้น โดยจะเกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน การลดการลงทุน ความผันผวนของค่าเงิน อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และอาจนำมาซึ่งการประท้วง/เดินขบวนของประชาชน (โดยเฉพาะในอินโดนีเซียและไทย)

ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ GDP ของไทยอาจลดลงถึงร้อยละ 16 (อินโดนีเซียอาจลดลงร้อยละ 4 มาเลเซียอาจลดลงร้อยละ 12 ฟิลิปปินส์อาจลดลงร้อยละ 10 สิงคโปร์อาจลดลงร้อยละ 14 และเวียดนามอาจลดลงร้อยละ 5)

ผลกระทบต่อภาคอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรของอาเซียน 

อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกจะได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ กฎเกณฑ์ที่เข้มงวด และความกังวลของผู้บริโภค ซึ่งส่งผลต่อรายได้ในอุตสาหกรรมอาหารของอาเซียนที่คาดว่าจะลดลงถึงร้อยละ 50 (การสั่งสินค้าทางออนไลน์และการนัดรับสินค้าที่ร้านค้า ยังไม่เป็นที่นิยมในอาเซียนมากนัก) และแม้ธุรกิจค้าปลีกจะได้รับประโยชน์จากการที่ผู้บริโภคกักตุนอาหารแห้งในช่วงแรกของการใช้มาตรการ แต่แนวโน้มนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการแล้ว และผู้บริโภคจะเน้นสินค้าที่มีราคาเหมาะสม โดยไม่เน้นสินค้า premium สืบเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ได้รับ

- มาตรการของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร แรงงานต่างด้าวเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักในระบบเศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร แต่การออกมาตรการของรัฐบาลต่างๆ ที่เข้มงวดส่งผลให้แรงงานต่างด้าวจำนวนมากเดินทางกลับประเทศของตน ซึ่งจำนวนแรงงานที่น้อยลงจะส่งผลกระทบต่อการผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และการกระจายสินค้า

- พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือการไม่รับประทานอาหารนอกบ้านและการถดถอยทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าการเกษตรลดปริมาณลง

- การอ่อนตัวของค่าเงินและมาตรการปกป้องทางการค้า สกุลเงินของอาเซียนมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรของประเทศอาเซียนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการออกมาตรการเพื่อปกป้องสินค้าเกษตรจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการค้า

- ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กถือเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอาเซียน โดยมีจำนวนกว่าร้อยละ 90 ก่อให้เกิดอัตราการจ้างงานอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 50-97 และแม้ธุรกิจการเกษตรและอาหารจะเป็นสาขาที่มีความสำคัญ และได้รับการเยียวยาจากรัฐบาลในบางส่วน แต่ก็อาจยังไม่เพียงพอให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

- ปัจจัยเสี่ยง ผู้วิเคราะห์เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรของอาเซียนอาจได้รับผลกระทบมากขึ้น หากเกิดปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ 

1) การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการ 

2) แม้ระบบการขนส่งยังเปิดให้บริการ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยง เกี่ยวกับการเกิดปัญหาสภาวะคอขวดและกฎเกณฑ์การส่งออกที่เข้มงวด

3) การประท้วงอาจเกิดขึ้นได้ หากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุขเลวร้ายลง

 

แหล่งที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


พลิกโฉมซัพพลายเชนโลก ผู้ผลิต ‘หนีจีน’ แห่ย้ายฐานสู่อาเซียน

Post COVID-19 เวียดนามฐานผลิตสำคัญของโลก


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
162 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
387 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1299 | 01/04/2024
วิเคราะห์เศรษฐกิจ 6 ชาติอาเซียนจากปัจจัย COVID-19