6 มาตรการปฏิรูปยางพารา สร้างเสถียรภาพ เพิ่มโอกาสแข่งขัน

SME Update
28/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2381 คน
6 มาตรการปฏิรูปยางพารา สร้างเสถียรภาพ เพิ่มโอกาสแข่งขัน
banner

ตามที่มีการประชุมคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราและรักษาเสถียรภาพราคายาง ครั้งที่ 3/2563 ซึ่งมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา และตัวแทนเกษตรกร ที่มีการหารือถึงสถานการณ์ผลผลิตยางพาราโลก มีแนวโน้มเติบโตในอัตรา 3–4 % ต่อปี จากพื้นที่เพาะปลูกใหม่ที่ทยอยเข้าสู่ตลาดหลังจากเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูกในช่วงปี 2547-2555

โดยเฉพาะผลผลิตของจีนที่ปลูกในกลุ่มประเทศ CLMV ในขณะที่ความต้องการใช้ยางพาราของโลกคาดว่าจะขยายตัว 4-5% ต่อปี ส่งผลให้ยังคงมีผลผลิตยางพาราส่วนเกินเฉลี่ยกว่า 3.5-4.5 แสนตันต่อปี และจะมีผลให้ค่าคาดการณ์สต๊อกยางพาราโลกสูงกว่า 4 ล้านตันในช่วงปี 2562-2563 ซึ่งจะกดดันให้ราคายางพาราในตลาดโลกในช่วงปี 2563-2564 มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องจากปลายปี 2561 ทั้งยังเผชิญวิกฤติโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ส่งผลต่อการผลิต ตลาด และราคาทั่วโลก

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ปัญหาทั้งในเชิงโอกาส ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลกด้วยมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท ส่งออกยางรถยนต์อันดับ 4 ของโลก และส่งออกถุงมือยางอันดับ 2 ของโลก คณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราและรักษาเสถียรภาพราคายาง จึงมีมติกำหนด 6 มาตรการปฏิรูปยางพารา โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้ชาวสวนยางและสถาบันยาง พร้อมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และแก้ไขปัญหาราคาทำให้เกิดเสถียรภาพราคายางพาราทั้งระยะสั้นและรายะยาว ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

6 มาตรการปฏิรูปยางพารา

1. มาตรการตลาดและราคา (Market & Price) เนื่องจากตลาดซื้อขายล่วงหน้ามีอิทธิพลต่อราคาอ้างอิงในตลาดซื้อขายจริง โดยเฉพาะตลาดซื้อขายล่วงหน้า 4 ตลาดหลัก คือ ตลาดเซี่ยงไฮ้ โตเกียว สิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดผู้ซื้อ ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก และเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกแต่มีบทบาทน้อยมากต่อการกำหนดราคาซื้อขายยางพารา

จึงเห็นควรให้เร่งศึกษาหาข้อสรุปการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริง (Physical Forward Market) ของยางพาราที่เรียกว่า “ตลาดไทยคอม” (ThaiCom) ซึ่งเป็นตลาดลูกผสมแบบ ไฮบริด (Hybrid) ระหว่างตลาดซื้อขายจริง (Spot Market) กับตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Market) โดยดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์

โดยให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจที่ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญศึกษาจัดทำรายงานเสนอภายใน 90 วันและระหว่างนี้ให้ กยท.เสนอรายงานแนวคิดเบื้องต้น (Concept paper) เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อรับทราบแนวทางนโยบาย หากเห็นชอบในหลักการให้คณะทำงานจัดทำรายงานขั้นสุดท้ายเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาก่อนเสนอต่อคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

2. มาตรการการบริหารด้านอุปทาน (Supply Side Management) กำหนดให้ลดพื้นที่สวนยาง 2 ล้านไร่ โดยลดพื้นที่สวนยางปีละ 2 แสนไร่ เป็นเวลา 10 ปีเพื่อลดปริมาณการผลิตโดยขอการสนับสนุนไร่ละ 10,000 บาทจากรัฐบาล เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้ให้เร่งขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่ให้หน่วยงานภาครัฐเพิ่มการใช้ยางพาราภายในประเทศ และมอบหมาย กยท.เพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราตามความต้องการของภาครัฐและตลาดทั้งในและต่างประเทศ

3. มาตรการการบริหารด้านอุปสงค์ (Demand Side Management) เร่งขยายตลาดในจีนโดยให้ขยายการค้ายางพาราให้ครอบคลุมในทุกมณฑลของประเทศจีน เพื่อเพิ่มช่องทางการขายยางพารา ต่อยอดจากในอดีตที่การค้ายางกระจุกตัวอยู่ในบางมณฑล รวมทั้งการขยายตลาดหลักอื่นๆ และเปิดตลาดใหม่ๆ โดยให้จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการค้ายางพารากับจีนและตลาดหลักเป็นการเร่งด่วน เพื่อกำหนดแนวทางการตลาดและการขายเชิงรุก ทั้งรูปแบบการค้าออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งการสร้างมาตรฐานของผลผลิตและผลิตภัณฑ์ยางพารา ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของอุตสาหกรรมยางพาราของไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า นอกจากนี้ยังมีมติให้ กยท.จัดงาน “ยางพาราเอ็กซ์โปบนแพลตฟอร์มดิจิทัลเสมือนจริง” (Virtual Platform) เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าและการจับคู่ธุรกิจระหว่างประเทศ

4. มาตรการส่งเสริมการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เร่งส่งเสริมการลงทุนโรงงานผลิตถุงมือยางรวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ในยุคนิวนอร์มอล (New Normal) จากผลกระทบของโควิด-19 โดยเร่งเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนในรับเบอร์ซิตี้ (Rubber City) และพื้นที่ใกล้แหล่งผลิตยางพาราพร้อมกับเร่งศึกษาโครงการรับเบอร์คอมเพล็กซ์ (Rubber Complex) ที่นครศรีธรรมราช และให้ กยท. จัดโครงการประกวดนวัตกรรมการแปรรูปยาง โดยเชื่อมโยงกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับชาวสวนยางและสถาบันยาง

5. มาตรการลดสต็อกยางพารา ให้ กยท.เสนอแนวทางการบริหารจัดการสต็อกยางพาราที่คงค้างกว่า 1 แสนตัน โดยให้เสนอต่อคณะกรรมการในการประชุมครั้งต่อไป วันที่ 9 กรกฎาคม ทั้งนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้ส่งผลกระทบด้านราคา

6. มาตรการเพิ่มรายได้ มอบหมายให้ กยท.ขยายการส่งเสริมเกษตรผสมผสานเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับชาวสวนยางและสถาบันยางพารา ซึ่งเดิมพึ่งพารายได้จากยางพาราเพียงด้านเดียว และส่งเสริมการปลูกพืชที่มีอนาคตด้านตลาดและไม้เศรษฐกิจ เพื่อทดแทนสวนยางพาราที่ถึงกำหนดต้องตัดทิ้งตามนโยบายลดพื้นที่สวนยางพารา

น่าจับตาว่าภายใต้การขับเคลื่อนมาตรการทั้ง 6 จะสามารถทำให้ตลาดยางพารามีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้หรือไม่ เพราะอุตสาหกรรมยางพาราที่รับผลกระทบเต็มๆ จากการหดตัวของอุตสาหกรรมยางล้อ จากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งดูเหมือนว่าแนวทางการกระตุ้นการใช้ภายในและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จะมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่ไทยจะยกระดับจากประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบยางไปสู่การสร้างนวัตกรรมยาง


 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ยกเครื่อง "ยางพาราไทย" สู่มาตรฐาน FSC

แนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2563


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1059 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1405 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1680 | 25/01/2024
6 มาตรการปฏิรูปยางพารา สร้างเสถียรภาพ เพิ่มโอกาสแข่งขัน