สเปน...จุดหมายปลายทางที่หอมหวานของฮาลาล

SME Go Inter
10/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1840 คน
สเปน...จุดหมายปลายทางที่หอมหวานของฮาลาล
banner

ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออกกลุ่มอาหารฮาลาลอันดับ 1 ของอาเซียน เป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากจีน และอินเดีย และติดอันดับที่ 12 ของโลก โดยปี 2562 ไทยส่งออกไปทั่วโลกรวมมูลค่า 29,331 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มจำพวกข้าว ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลแปรรูปและกระป๋อง และน้ำตาล เนื่องจากได้เปรียบด้านวัตถุดิบต้นน้ำ ขณะเดียวกับตลาดอาหารฮาลาลยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีผู้บริโภคประมาณร้อยละ 29 ของประชากรโลก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ทำไมต้องเป็นสเปน

ประเทศสเปนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาลเป็นจำนวนมาก มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ในสเปนประมาณ 2 ล้านคน ด้วยความสัมพันธ์ในหลายมิติกับกลุ่มประเทศมุสลิม ประเทศสเปนถือเป็นประตูการค้าสู่แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง ประเทศในกลุ่มซับซาฮารา และคาบสมุทรบอลข่าน

ขณะเดียวกันสเปนยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว Halal-friendly ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 37 ของชาวมุสลิมทั่วโลก มีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านคนต่อปี หากพิจารณาทั้งหมดของอุตสาหกรรมฮาลาลที่รวมอาหาร ท่องเที่ยว และการเงินในสเปนนั้น มีมูลค่าการค้าเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านยูโร (ประมาณ 37,256 ล้านบาท)

สเปนเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากฝรั่งเศส โดยในปี 2561 สเปนต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวน 82.6 ล้านคน และถึงแม้ว่าสเปนจะไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่ก็รายล้อมไปด้วยประเทศมุสลิม โดยมีประชากรมุสลิมเกือบประมาณ 2 ล้านคนในประเทศ และยังมีแหล่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับมุสลิมอีกมากมาย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ประเทศนี้มีศักยภาพสูงด้านการท่องเที่ยวเชิงฮาลาล

เมื่อปี 2562 สเปนติดอันดับ 9 ของประเทศในกลุ่มที่ไม่ใช่มุสลิมที่ได้รับความนิยมจากนักเดินทางชาวมุสลิมมากที่สุด (Top 20 Non-OIC Destination) ตามดัชนี Global Muslim Travel Index โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศมุสลิม 5 อันดับแรกที่มาเยือนสเปน ได้แก่ แอลจีเรีย ตุรกี โมร็อกโก อียิปต์ และอินโดนีเซีย ในวันนี้เราจะมาพาผู้อ่านมารู้จักศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงฮาลาลในสเปน และโอกาสสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและบริการฮาลาลของไทย

การท่องเที่ยวเชิงฮาลาลในสเปนนับว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามกระแสโลกในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการปรับปรุงเที่ยวบินระหว่างสเปนกับกลุ่มประเทศอาหรับ (Gulf Cooperation Council–GCC) การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวสเปนในสถานเอกอัครราชทูตสเปน ณ กรุงอาบูดาบี เมื่อปี 2559 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศ GCC และการจัดทำเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวสเปน (Turespana) เป็นภาษาอาหรับในปี 2560 สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้โดยเฉพาะ โดยมีการให้ข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงฮาลาลทั้งรายชื่อร้านอาหาร โรงแรมห้องละหมาดในสนามบินมัสยิดทั่วทั้งสเปน เป็นต้น

จากสถิติค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว (EGATUR) พบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมสูงกว่านักท่องเที่ยวที่ไปเยือนสเปนทั่วไป โดยใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 137 ยูโร/วัน หรือ 1,063 ยูโร/คน ในปี 2560

จุดขายของสเปนสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ได้แก่ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับมุสลิมที่ตั้งอยู่ในแคว้นอันดาลูเซีย อาหาร และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว รวมทั้งการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ โดยนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 274 ยูโร/วัน หรือ 2,066/คน ซาอุดีอาระเบีย 286 ยูโร/วัน หรือ 1,877 ยูโร/คน และตุรกี 234 ยูโร/วัน หรือ 1,711 ยูโร/คน ในด้านนโยบายรัฐบาลสเปนได้มอบอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่นกำหนดและดำเนินนโยบายด้านการท่องเที่ยว ในส่วนของการท่องเที่ยวเชิงฮาลาล หากเจาะลึกในแคว้นอันดาลูเซีย (แคว้นทางภาคใต้ของประเทศ) เราจะพบว่ามีความพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงฮาลาลทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

 

รู้จักอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในสเปน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในสเปนไว้ดังนี้ :  

• การบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรองฮาลาล มีการขยายตัวทั้งในกลุ่มผู้บริโภคมุสลิมและผู้บริโภคทั่วไป โดยในปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 62 ตามรายงานของตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรของบาร์เซโลนา (Mercabana)

• มีบริษัทในสเปนได้รับตรารับรองฮาลาล จำนวน 300 แห่ง โดยร้อยละ 95 อยู่ในธุรกิจอาหาร

• ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเฉลี่ย 380,000 ตัน โดยเป็น ไก่ เนื้อวัว แพะ ไก่งวง และแกะ ส่วนเครื่องดื่มที่ผลิตมาก คือ น้ำองุ่น

• มีสินค้าที่ได้รับตรารับรองประมาณ 600 ประเภท มีแหล่งจำหน่าย 900 ร้าน

• ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีสินค้าฮาลาล อาทิ Dulcesol, Pascual, Hero, Mahou, Industrias Lácteas Asturianas (Covap), Carrefour, L’oreal, Nestlé, KFC, Tesco, Unilever

• มีร้านอาหารที่ได้รับการรับรองจาก Instituto Halal จำนวน 26 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ที่มาดริด บาร์เซโลนา คอร์โดบา กรานาด้า เซบีญา มาร์เบญา มาลากา และวาเลนเซีย

หน่วยงานรับรองในสเปน (Halal certification in Spain and Certification Body)

Instituto Halal เป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองฮาลาลหลักของสเปน โดยใช้เครื่องหมาย “Halal Guarantee Distinction of the Islamic Committee” ดำเนินงานแบบครบวงจร ทำการตรวจสอบในห้องแลปปฏิบัติการ โดย technical auditors มีบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอาหาร สัตวแพทย์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้าน Sharia ตามมาตรฐาน OIC จึงเป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศมุสลิม

ที่ผ่านมาได้ร่วมกับ City Council ของเมือง Córdoba ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางมุสลิมในสเปน มีแผนดำเนินการจัดตั้ง cluster และศูนย์ธุรกิจ โดยตั้งเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนบริษัทที่มีตรารับรอง 1,300 ราย ในอีก 5 ปี ข้างหน้า และสร้างงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกว่า 6,000 ตำแหน่ง ในปี 2563   

 

ชี้เป้าเจาะตลาดสเปน

งานแสดงสินค้าฮาลาลถือเป็นหนึ่งเครื่องมือการตลาดที่ผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจ โดยจะมีงานใหญ่  ทุกปี คือ งาน Expo Halal จัดคู่ขนานกับงานแสดงสินค้า Alimentaria ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารอันดับ 1 ของสเปน และอันดับ 3 ของยุโรป โดยในปี 2564 จะเป็นการจัดงานครั้งที่ 3 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2564 ณ นครบาร์เซโลนา ทั้งนี้เมื่อปี 2561 มีผู้เข้าร่วมงานจาก 25 ประเทศ 150 บริษัท โดยมีผู้เข้าร่วมงานไทยเข้าร่วม 10 บริษัท


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


4 ยุทธศาสตร์สู่ความมั่นคงด้านอาหาร



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6322 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2032 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5063 | 23/10/2022
สเปน...จุดหมายปลายทางที่หอมหวานของฮาลาล