วิเคราะห์สถานการณ์ข้าวไทยในตลาดจีน

SME Go Inter
24/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 5797 คน
วิเคราะห์สถานการณ์ข้าวไทยในตลาดจีน
banner

จีนถือเป็นประเทศที่มีแหล่งเพาะปลูกข้าวรายใหญ่ของโลก โดยผลผลิตข้าวของจีนคิดเป็น ร้อยละ 28.90 ของผลผลิตข้าวทั่วโลก รองลงมาเป็น อินเดีย (23.13%), อินโดนีเซีย (7.70%), บังคลาเทศ (7.03%), เวียดนาม (5.83%), ไทย (4.34%), ฟิลิปปินส์ (2.61%), สหรัฐอเมริกา (1.41%), ปากีสถาน (1.39%) และประเทศอื่นๆ (17.65%) โดยในปี พ.ศ. 2561 จีนมีเนื้อที่ปลูกข้าวทั้งหมด 30,189 ล้านตารางเมตร ให้ผลผลิตรวมทั้งสิ้น 212 ล้านตัน ขณะที่ปี พ.ศ. 2562 ผลผลิตข้าวลดลงเหลือ 210 ล้านตัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2563 จะมีปริมาณผลผลิต 207.05 ล้านตัน

มณฑลที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของจีน ได้แก่ มณฑลหูหนาน มีพื้นที่เพาะปลูกร้อยละ 13.28 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด รองลงมาเป็น มณฑลเฮยหลงเจียง (12.53%), มณฑลเจียงซี (11.38%), มณฑลอันฮุย (8.43%), มณฑลหูเป่ย (7.92%), มณฑลเจียงซู (7.34%), มณฑลเสฉวน (6.21%), มณฑลกวางตุ้ง (5.92%), มณฑลกว่างซี (5.81%), มณฑลยูนนาน (2.81%) และมณฑลอื่นๆ (18.37%)

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ขณะที่ปริมาณการบริโภคข้าวในตลาดจีนมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2561 มีปริมาณการบริโภคข้าว 193 ล้านตัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2563 จะมีปริมาณความต้องการบริโภคข้าว 214 ล้านตัน โดยแบ่งรูปแบบการบริโภคข้าวเป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ การบริโภคเป็นอาหาร การผลิตเป็นอาหารสัตว์ และการใช้ในด้านอุตสาหกรรม

โดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2563 ปริมาณข้าวเพื่อการบริโภคเป็นอาหาร 165.20 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 77 ปริมาณที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ 21.65 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 10 และปริมาณที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรม 19.10 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 9 ตามลำดับ โดยข้าวที่ได้รับความนิยมในการรับประทานมากที่สุด ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน คือข้าวสายพันธุ์จาปอนิกา (Japonica) เมล็ดสั้น หนา อ่อน หวาน เหนียว ละเอียด มีความหนึบ เหมาะสำหรับการทำข้าวต้ม และข้าวสวย

การนำเข้าข้าวของจีนเป็นการนำเข้าแบบมีโควตา โดยโควตาสำหรับการนำเข้าข้าวของจีนอยู่ที่ 5.32 ล้านตันต่อปี แต่อย่างไรก็ดีจีนยังคงนำเข้าข้าวไม่เต็มโควตา โดยในปี พ.ศ. 2562 จีนนำเข้าข้าวจากต่างประเทศทั้งหมด 2.546 ล้านตัน โดยนำเข้าข้าวจากประเทศ 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา และกัมพูชา ขณะที่ในปี พ.ศ. 2563 ในช่วง 8 เดือนแรกพบว่า จีนนำเข้าข้าวจากเวียดนามมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา ได้แก่ เมียนมา ปากีสถาน ไทย และกัมพูชา ตามลำดับ ขณะที่พิจารณารายมณฑลที่มีการนำเข้าข้าวจากประเทศไทยเป็นปริมาณมากที่สุดในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ กวางตุ้ง ปักกิ่ง ฝูเจี้ยน ยูนนาน และเจ้อเจียง ตามลำดับ

ทั้งนี้ข้าวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้แก่ ข้าวจีนที่มีแหล่งผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และผู้บริโภคชาวจีนในพื้นที่ดังกล่าวมีความนิยมรับประทานข้าวเมล็ดสั้นที่มีความเหนียวมากกว่าข้าวเมล็ดยาว

อย่างไรก็ตาม จีนมีพื้นที่ปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรสชาติตรงกับความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งมีราคาที่ถูกกว่า ทำให้ข้าวไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคา และไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มากเท่าที่ควร ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคชาวจีนเริ่มหันมานิยมบริโภคธัญพืชที่ผลิตในประเทศมากขึ้น ทั้งนำมาประกอบอาหาร และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ทำให้การนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเป็นเพียงการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ โดยเฉพาะข้าวไทยที่มีราคาสูงในสายตาผู้บริโภคชาวจีน เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคชาวจีนบางกลุ่ม เท่านั้น

ดังนั้นการเจาะตลาดข้าวไทยในตลาดจีน ควรเริ่มจากการสร้างการรับรู้ถึงคุณค่าทางโภชนาการ การสร้างประสบการณ์ในการชิม การรับประทาน การสาธิตการนำข้าวไทยมาประกอบอาหาร ควบคู่ไปกับการจำหน่ายสินค้าไทยที่ชาวจีนรู้จักดี เช่น เครื่องปรุงข้าวผัดสับปะรด เครื่องปรุงรสต้มยำกุ้ง เครื่องปรุงแกง เขียวหวาน เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารที่สามารถรับประทานร่วมกับข้าวหอมมะลิไทยได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคชาวจีนได้ง่ายดายมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าประเภทอาหารจากการได้มีประสบการณ์ที่ดี และการได้เคยลองรับประทานมาก่อน ขณะที่การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ข้าวไทยผ่านสื่อออนไลน์ร่วมกับผู้มีอิทธิพลทางความคิด หรือ Key Opinion Leader (KOL) ในตลาดจีนที่มีชื่อเสียงด้านอาหาร และร่วมกับร้านอาหารไทยที่ได้รับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT โดยการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคชาวจีน เผยแพร่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของจีนอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ข้าวไทยมีโอกาสเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนได้มากขึ้น และสามารถเป็นหนึ่งทางเลือกของข้าวที่ผู้บริโภคชาวจีนจะเลือกรับประทานได้อย่างแน่นอน

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ส่องเทรนด์อาหารและพฤติกรรมของผู้บริโภคปี 2021

RCEP ความหวังไทย-อาเซียน ฟื้นเศรษฐกิจ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6331 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2034 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5072 | 23/10/2022
วิเคราะห์สถานการณ์ข้าวไทยในตลาดจีน