เศรษฐกิจเวียดนามหลังโควิด ‘รุ่ง’ หรือ ‘ร่วง’

SME Go Inter
22/01/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 10555 คน
เศรษฐกิจเวียดนามหลังโควิด ‘รุ่ง’ หรือ ‘ร่วง’
banner

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า "เวียดนาม" มีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ซึ่งสถิตินั่นสะท้อนว่าเวียดนามมีความสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลเวียดนามมั่นใจว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้สามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่ง  

ภายในการประชุมออนไลน์ซึ่งมี นายเหงียน ซวนฟุก นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการหารือกับผู้นำเทศบาล เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ระบุว่า เวียดนามประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด จึงตั้งเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไว้ที่ 6.5% ในปี 2564  

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

และแม้ว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2563 จะเติบโตเพียง 2.9% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับจากปี 2554 แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สามารถผลักดันเศรษฐกิจในเติบโตเป็นบวกได้ ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากมาตรการความร่วมมือของรัฐบาลและประชาชน ที่สามารถรักษาจำนวนผู้เสียชีวิตให้อยู่ในระดับต่ำเพียง 35 คน  

อย่างไรก็ตาม ผลจากการแพร่ระบาดของโควิดเป็นอุปสรรคที่ทำให้นักลงทุนไม่สามารถเดินทางเข้ามาลงทุนได้ ส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 2563 มีมูลค่า 28,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 25% จากปี 2562 ที่มีมูลค่า 38,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นปีที่มีการลงทุนตรงจากต่างประเทศสูงสุดในรอบ 10 ปี  

โดยรูปแบบการลงทุนที่เกิดขึ้นในปี 2563 เป็นการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติในโครงการใหม่ 14,600 ล้านเหรียญสหรัฐ การขยายการลงทุนในโครงการเดิมอีก 6,400 ล้านเหรียญสหรัฐ และการควบรวมและซื้อกิจการ 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ  

ซึ่งประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนามสูงที่สุดคือ นักลงทุนจากสิงคโปร์ มูลค่าการลงทุน 6,200 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลีใต้  

อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนโดยตรงสูงที่สุด คือการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว ในจังหวัด BAC Lieu มูลค่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการลงทุนปิโตรเคมีที่ชื่อ Long Son Petrochemicals ในจังหวัด Ba Ria - Vung Tau มูลค่า 1,390 ล้านเหรียญสหรัฐ  

ในปี 2564 ทางรัฐบาลโดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม ยังมั่นใจว่านักลงทุนต่างชาติในเวียดนามยังมีการฟื้นตัว รักษาการผลิต และเปิดดำเนินการโครงการใหม่ ขณะเดียวกันเวียดนามยังมีการออกนโยบายที่ให้สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน รวมถึงมีการลงนามความตกลงจัดทำความตกลงการค้าเสรีหลายฉบับ อาทิ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP), ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA), ความตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามและสหราชอาณาจักร (UKVFTA) เป็นต้น ที่ให้สิทธิลดภาษี จึงน่าจะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุน

ด้านการส่งออก เวียดนามถือว่ามาแรงไม่น้อย โดยมีข้อมูลจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ระบุว่าในช่วง 9 เดือน ของปี 2563 เวียดนามส่งออกได้ 2.02 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.2% มากกว่าไทยถึง 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยยังมีมูลค่าการส่งออกติดลบอยู่ 7.3%  

สำหรับสินค้าที่เวียดนามส่งออกได้มากขึ้น ประกอบด้วยโทรศัพท์และโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ เครื่องจักรและอุปกรณ์ รองเท้า ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ยานพาหนะและส่วนประกอบ ปลาและอาหารทะเล เหล็กและเหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์พลาสติก  

ผลจากการขยายการลงทุนจากต่างชาติที่เข้าไปตั้งฐานการผลิตในเวียดนาม ความได้เปรียบด้านต้นทุนค่าแรงงาน ต้นทุนค่าขนส่ง และอัตราเปลี่ยนของเวียดนามที่อ่อนลงไป -2% ขณะที่ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น 11% ถือเป็นปัจจัยหนุนที่ทำให้การส่งออกของเวียดนามดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนจีดีพีของเวียดนาม  


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6055 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1935 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4913 | 23/10/2022
เศรษฐกิจเวียดนามหลังโควิด ‘รุ่ง’ หรือ ‘ร่วง’