Go inter! ทำสตาร์ทอัพต้องมองให้ไกลกว่าเมืองไทย

SME Startup
14/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2962 คน
Go inter! ทำสตาร์ทอัพต้องมองให้ไกลกว่าเมืองไทย
banner

ท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำซ้ำเติมด้วยโรคโควิดที่ยังคงแพร่ระบาดทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสตาร์ทอัพไทยอย่างหนัก ซึ่งจากปกติต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดยากยิ่งขึ้นอยู่แล้ว แต่การเผชิญกับวิกฤติไวรัสมรณะแพร่กระจายทุกพื้นที่ของโลก ยิ่งกลายเป็นโจทย์ขนานใหญ่ของผู้ประกอบการไทย ในการนำพาบริษัทอยู่รอดแสนยากลำบากมากยิ่งขึ้น

กระนั้นวิกฤตมากับโอกาสเช่นกัน ในช่วงปี 2020 ถือเป็นปีที่บริษัทสตาร์ทอัพไทยมีทั้งผู้ชนะและผู้พ่ายแพ้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น บริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้าต่างเติบโตก้าวกระโดด ส่วนผู้พ่ายแพ้ ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพด้านท่องเที่ยว (Travel) และธุรกิจการบริการ (Hospitality) ต่างก็ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโควิดต้องปิดฉากธุรกิจชั่วคราว เพราะแบกรับภาระต้นทุนไม่ไหว เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมายังประเทศไทยได้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

อย่างไรก็ตามปี 2021 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจของสตาร์ทอัพต่อจากนี้ไป คือบริษัทสายป่านสั้นคงต้องรอคอยการเข้ามาเทคโอเวอร์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยหรือต่างประเทศ ที่มีเป้าหมายไม่ได้มาซื้อกิจการเพื่อหวังสร้างผลกำไรมหาศาลจากบริษัทสตาร์ทอัพเหล่านั้น แต่หวังที่จะนำเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาเสริม (Plug-in) เติมเต็มในสิ่งที่สตาร็ทอัพยังขาดหาย

ตลอดทั้งยังจะเป็นการเข้าไปช่วยเหลือและแก้จุดบอดจุดบกพร่องของสตาร์ทอัพที่ยังขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีทำให้เสียเปรียบคู่แข่ง ที่ผ่านมาสตาร์ทอัพไทยส่วนใหญ่ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชียวชาญทางด้านเทคโนโลยี เนื่องจากคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาเข้าไปทำงานกับธุรกิจสตาร์ทอัพน้อยมาก ส่วนบุคลากรที่มีฝีมือระดับเชี่ยวชาญก็ยังถือว่าน้อยมาก ดังนั้นเมื่อมีปริมาณน้อยย่อมเกิดการแย่งตัวบุคลากรรุนแรงตามมา

โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นเทรนด์การทำตลาดยุคใหม่ที่สามารถทะลุทะลวงเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและกลุ่มผู้บริโภคได้โดยตรง ถือว่าเป็นหัวหอกใหม่ทำให้สตาร์ทอัพสามารถพยุงตัวให้อยู่รอดได้ในยุคนี้

สอดคล้องกับความคิดเห็นของ คุณอารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ New Economy Academy (NEA) หน่วยงานในสังกัดของกรมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ สะท้อนมุมมองให้เห็นว่า แนวโน้มการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในปี 2021 ธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มซื้อมาขายไปอย่างอีคอมเมิร์ซ ยังคงได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้จากภาวะโรคโควิดแพร่ระบาด ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจตกต่ำ เช่นเดียวกับการลงทุนในกลุ่ม Fintech หรือธุรกิจที่ใช้ข้อมูล (Data) ในการต่อยอดธุรกิจก็ยังไปได้สวย ส่วนสตาร์ทอัพในกลุ่ม Deep Tech ยังคงเป็นไปได้ยากเพราะมีความสลับซับซ้อน การพัฒนาทำไม่ง่าย และยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิบัตรอีกด้วย

 

สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ต้องมีพี่เลี้ยงช่วยแนะเคล็ดลับเจาะตลาดโลก

ดังนั้นในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพยุคปี 2021 คุณอารดาให้ความเห็นว่า สิ่งที่สำคัญอย่างมากที่ผู้ประกอบละเลยไม่ได้เลยนั้นก็ คือต้องมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำหรือปรึกษาลู่ทางดำเนินธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ตลอดทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านการลงทุน ถ้าบริษัทสตาร์ทอัพรายใหม่ไม่มีสิ่งเหล่านี้ การดำเนินการจะทำได้ยาก

โดยปัจจุบันสตาร์ทอัพระดับโลกได้เคลื่อนย้าย (Shift) ไปตามกระแสโลกอย่างรวดเร็ว โดยเน้นไปที่สตาร์ทอัพประเภท Deep Tech แล้ว เมื่อหันมามองถึงสตาร์ทอัพไทยถือว่าเป็นไปได้ยาก แต่กระนั้นก็เชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างคนไทยทำได้ขึ้นอยู่กับว่าจะมีทุนสนับสนุนแค่ไหนและมุ่งมั่นมากน้อยอย่างไร ดังนั้นการทำธุรกิจสตาร์ทอัพอย่ามองแค่ทำตลาดในประเทศไทยอย่างเดียว ต้องมองไปให้ไกลและมองให้กว้างของตลาดโลกที่ไร้พรมแดน ทุกคนสามารถเข้าไปถึง ทุกคนสามารถเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดโลกได้เท่าเทียมกัน เพราะยุคนี้บริษัทเล็กสามารถเข้าไปครองส่วนแบ่งตลาดโลก แถมยังสามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้ไม่ยาก ด้วยเครื่องมือการทำตลาดผ่านอีคอมเมิร์ซ

สาเหตุที่สตาร์ทอัพไทยจะไปไม่ถึงจุดนั้นมีหลายประเด็น เรื่องสมองไหลเป็นปัญหาใหญ่อยู่เหมือนกัน ส่วนเรื่องของตลาดประเทศไทยมีขนาดที่เล็กมากๆ มันไม่ใหญ่พอที่จะเกิดบริษัทสตาร์ทอัพแบบ Deep Tech หรือแม้แต่ True AI ถ้าหากจะ Shift ไปทำสตาร์ทอัพประเภทนั้น สตาร์ทอัพต้องมีเงินที่เยอะพอสมควรที่จะใช้เป็นต้นทุนจ้างแรงงานที่มีฝีมือสูง แต่หากมีการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถผลักดันสตาร์ทอัพไทยก้าวสู่ตลาดโลกได้ไม่ยาก

ทุกวันนี้การลงทุนในสตาร์ทอัพประเภทที่มีบริการสำหรับกลุ่มธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B2B) ที่มีโมเดลการทำกำไรชัดเจน จะเป็นการลงทุนที่นักลงทุนชอบมากเป็นพิเศษ เพราะที่ผ่านมานักลงทุนเริ่มเบื่อกับสตาร์ทอัพประเภทที่สร้างบริการให้ผู้บริโภคโดยตรง (Business to Consumer หรือ B2C) เพราะเป็นธุรกิจที่เผาเงิน (Burn Cash) ไปเรื่อยๆ จนไม่รู้จะหาจุดทำกำไรตอนไหน

ด้วยเหตุนี้ การทำธุรกิจสตาร์ทยุคใหม่ต้องอิงกับกระแสโลก อย่ามองแต่ตลาดภายในประเทศอย่างเดียว ต้องมองข้ามช็อต ต้องมองให้กว้างและไกลกว่าที่เป็นอยู่ คือหนทางอยู่รอดของธุรกิจสตาร์ทไทยปี 2021 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

 

 

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2132 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4337 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2141 | 22/12/2022
Go inter! ทำสตาร์ทอัพต้องมองให้ไกลกว่าเมืองไทย