Bnomics | สหรัฐฯ เผชิญวิกฤติแบงก์ล้ม! ส่วนไทยยังได้อานิสงค์จากการท่องเที่ยว

Bnomics
05/05/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 633 คน
Bnomics | สหรัฐฯ เผชิญวิกฤติแบงก์ล้ม! ส่วนไทยยังได้อานิสงค์จากการท่องเที่ยว
banner
สถานการณ์วิกฤติในภาคธนาคารของประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกจับตามองอีกครั้งหลังจากที่ First Republic Bank เกิดปัญหาความเชื่อมั่น คนแห่ไปถอนเงิน และมูลค่าหุ้นตกลงอย่างมาก จนท้ายที่สุด ธนาคารก็ถูกเข้ายึดจากหน่วยงานกำกับดูแล และถูกขายต่อให้ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในอเมริกาอย่าง J.P. Morgan

โดยการล้มของ First Republic Bank เกิดขึ้นในช่วงประมาณหนึ่งเดือนเท่านั้น หลังจากการล้มของ Silicon Valley Bank และ Signature Bank และอีกประเด็นที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าความถี่ของธนาคารล้มที่เกิดขึ้น ก็คือ ขนาดทรัพย์สินของธนาคารที่ล้ม

โดยทั้ง 3 ธนาคารที่ล้มละลายลงไปถือเป็นการล้มละลายของธนาคารสหรัฐฯ ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 3 และ 4 (อ้างอิงข้อมูลจาก FDIC และ Bloomberg) มีเพียงการล้มของ Washington Mutual Bank ที่เกิดขึ้นตอนวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 เท่านั้นที่เป็นการล้มของธนาคารที่ใหญ่กว่า (แผนภูมิที่ 1)


  
เหตุการณ์การล้มของธนาคารทั้ง 3 ที่เกิดขึ้นยังสร้างบรรยากาศของความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในภาคธนาคารของสหรัฐฯ เพิ่มเติม ซึ่งต้องจับตามองกันต่อไปว่า ปัญหาจะลุกลามออกไปอีกหรือไม่? และทางหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐที่ในปัจจุบันก็ลงมือเข้าไปแทรกแซงแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วแล้ว ยังจะต้องนำเครื่องมืออะไรอีกมาจัดการอีกหรือไม่?

แต่พิจารณาแค่สถานการณ์ในตอนนี้ อย่างน้อยที่สุด ปัจจัยด้านวิกฤติธนาคารสหรัฐฯ ก็ส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินเป็นที่เรียบร้อย ผ่านการคาดการณ์แนวทางดอกเบี้ยนโยบายและการจัดการปัญหาที่ตลาดปรับความคิดไปมาอย่างรวดเร็ว 

ที่ส่งต่อมาที่ไทยอย่างชัดเจน ก็เช่นอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ที่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมยังส่งทิศทางอ่อนค่า แต่ในเดือนล่าสุดเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐก็กลับมาแข็งค่าขึ้นมาแทน 
ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องจัดการบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม

ภาคการท่องเที่ยวไทยยังเป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยในขณะที่หลายภาคส่วนเริ่มชะลอตัว
ในส่วนของภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นของไทยนั้น ข้อมูลเศรษฐกิจที่รายงานออกมาในเดือนล่าสุดชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมเริ่มชะลอตัว โดยเฉพาะภาคการผลิตและภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ค่อยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยรับนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 6.5 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยวสัญชาติที่เข้ามาเที่ยวไทยมากที่สุด 5 อันดับแรกในไตรมาสแรกของปี คือ มาเลเซีย (9.2 แสนคน)  รัสเซีย (5.7 แสนคน) จีน (5.2 แสนคน) เกาหลีใต้ (4.4 แสนคน) และ อินเดีย (3.2 แสนคน)

เมื่อมองลึกลงไปในรายละเอียด ประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวสัญชาติจีน ซึ่งในเดือนมกราคมนักท่องเที่ยวจีนยังอยู่ที่ราว 90,000 คน แต่ในเดือนมีนาคมมีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเติบโตขึ้นมาอยู่ที่ราว 270,000 คน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในเวลา 2 เดือน (แผนภูมิ 2)
 
การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเกิดมาจากนโยบายการเปิดพรมแดนของทางการจีน และความอัดอั้นต้องการท่องเที่ยวของชาวจีนที่ไม่สามารถเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศได้เป็นเวลานาน ซึ่งหากเทรนด์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป รายได้จากนักท่องเที่ยวจีนก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้

ในส่วนข้อมูลภาคอุปสงค์ภายในประเทศในเดือนมีนาคมปรับลดลงเล็กน้อย ทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน แต่การบริโภคภาคบริการยังปรับตัวขึ้นอยู่สอดคล้องไปกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

โดยส่วนที่น่าสนใจของข้อมูลการบริโภคภาคเอกชน คือ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) แบบปรับผลของฤดูกาลที่ปรับลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นการส่งสัญญาณว่า ภาคการบริโภคเอกชนที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงก่อนหน้าเริ่มหมดแรงขับเคลื่อนแล้ว 

อย่างไรก็ดี ภาพรวมทั้งไตรมาส ดัชนี PCI ในไตรมาสแรกปี 2566 ยังปรับสูงขึ้นมาร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2565 อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คนที่กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปีก่อน ที่ปัญหาการระบาดของโควิดยังไม่คลี่คลายเต็มตัว (แผนภูมิ 3)



ในส่วนของข้อมูลดัชนีเครื่องชี้ภาคอุปทานอย่าง ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ที่ปรับผลของฤดูกาล ปรับตัวลดลงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สอดคล้องไปกับการชะลอตัวลงของภาคการส่งออกของไทย ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันปีก่อนหน้า (YoY) หดตัวลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันแล้ว (ในเดือนมีนาคมการส่งออกหดตัว 5.8 %YoY)  โดยเฉพาะหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า

ในขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคบริการ (SPI) ที่ปรับผลของฤดูกาล ที่แม้จะปรับลดลงในเดือนที่ผ่านมา ก็เป็นผลมาจากส่วนย่อยของผลผลิตภาคบริการจากภาครัฐเป็นสำคัญ การผลิตของภาคบริการอื่น ๆ ยังอยู่ในระดับค่อนข้างทรงตัว และส่วนการผลิตภาคท่องเที่ยวและโรงแรมก็ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง (แผนภูมิ 4)



แม้จะมีภาคส่วนที่เริ่มชะลอตัวหรือหมดแรงส่งตามที่กล่าวต้น แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังมีปัจจัยบวกที่สำคัญในด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะการปรับตัวลดลงของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่กลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายนโยบายการเงินเป็นที่เรียบร้อย (เดือนมีนาคมอยู่ที่ 2.83%) และระดับการจ้างงานฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนหน้าการระบาดของโควิดอย่างสมบูรณ์ (อ้างอิงจากตัวเลขผู้ขอประกันสังคมตามมาตรา 33)  และปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือภาคการเงินของไทยที่ยังถือว่าแข็งแกร่งและมีความพร้อมรับมือกับความผันผวนเศรษฐกิจโลกได้

สำหรับคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในช่วงถัดไป คาดว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทยจะยังฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยในช่วงถัดไป ซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องถึงการจ้างงานและอุปสงค์ภายในประเทศ แต่อาจจะได้รับผลกระทบจากผลของฤดูกาลในช่วง low season ของไทยในช่วงกลางปีถึงช่วงไตรมาสที่ 3 บ้าง และต้องจับตามองความผันผวนและวิกฤติที่ยังเกิดขึ้นในเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากลุกลามก็อาจจะส่งผลต่อภาคการส่งออกและการผลิตของไทยให้ฟื้นตัวช้ากว่าที่ควรได้  
════════════════
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website : https://www.bnomics.co
Facebook : https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit : https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube : https://www.youtube.com/bnomics
Twitter : https://twitter.com/bnomics_co
════════════════
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
Reference :
https://www.bot.or.th/English/MonetaryPolicy/EconomicConditions/PressRelease/DocPressRelease/Macro_Slide_EN_032023_rjcohr1o.pdf
https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-05-01/first-republic-ranks-as-second-largest-ever-us-bank-failure?fbclid=IwAR3_3u7TT2P05t03pplDWup42L7xhD0nkfnJVnVrJluimBV7T_iy9hFaD2U&leadSource=uverify%20wall
https://edition.cnn.com/2023/04/11/business/imf-world-economic-outlook/index.html
https://www.mots.go.th/news/category/706

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Bnomics | สภาพัฒน์ประกาศ GDP โตดีกว่าคาด แต่ยังกังวลปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง

Bnomics | สภาพัฒน์ประกาศ GDP โตดีกว่าคาด แต่ยังกังวลปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง

GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ของไทยประกาศออกมาสูงกว่าที่คาดกันไว้ โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) ปรับตัวดีขึ้น 2.7% โดยได้ปัจจัยสนับสนุนมากจากการบริโภคเอกชนที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง…
pin
371 | 09/06/2023
Bnomics | สหรัฐฯ เผชิญวิกฤติแบงก์ล้ม! ส่วนไทยยังได้อานิสงค์จากการท่องเที่ยว

Bnomics | สหรัฐฯ เผชิญวิกฤติแบงก์ล้ม! ส่วนไทยยังได้อานิสงค์จากการท่องเที่ยว

สถานการณ์วิกฤติในภาคธนาคารของประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกจับตามองอีกครั้งหลังจากที่ First Republic Bank เกิดปัญหาความเชื่อมั่น…
pin
634 | 05/05/2023
Bnomics | เศรษฐกิจโลกผันผวน แต่เศรษฐกิจไทยยังไปต่อได้

Bnomics | เศรษฐกิจโลกผันผวน แต่เศรษฐกิจไทยยังไปต่อได้

สถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอกย้ำได้เป็นอย่างดีว่า ปีนี้จะเป็นที่ท้าทายทางเศรษฐกิจกับทุกคน อย่างไรก็ดีข้อมูลล่าสุดของเศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณว่า…
pin
653 | 07/04/2023
Bnomics | สหรัฐฯ เผชิญวิกฤติแบงก์ล้ม! ส่วนไทยยังได้อานิสงค์จากการท่องเที่ยว