ถึงเวลา SME ไทย Transforms สู่ระบบออโตเมชัน ฟังคำตอบจาก'RST Robotics’ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอ

SME in Focus
09/11/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 1351 คน
ถึงเวลา SME ไทย Transforms สู่ระบบออโตเมชัน ฟังคำตอบจาก'RST Robotics’ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอ
banner

ประเทศไทย ตื่นตัวกับเรื่อง Digital Transformation และถูกพูดถึงในวงกว้าง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มีแนวโน้มการเปลี่ยนมาใช้งานหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เมื่อ AI ยุคใหม่ พัฒนารวดเร็วแบบก้าวกระโดดและมีการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จึงกลายเป็นเครื่องมือที่มีส่วนเพิ่มความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้นด้วย


Bangkok Bank SME ชวนไปพูดคุยกับ คุณอินทัช อนุพรรณสว่าง ผู้บริหารแห่งบริษัท อาร์เอสที โรโบติกส์ จำกัด (RST Robotics) ผู้ให้บริการโซลูชั่นครบวงจรสำหรับระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม ถึงแนวโน้มการใช้งานระบบออโตเมชันในประเทศไทย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจก้าวสู่การแข่งขันได้ในระดับ Global ควรทำอย่างไร? และรูปแบบการบริการด้านเทคโนโลยี มีอะไรบ้างที่ SME ต้องรู้ ติดตามได้ในบทความนี้


คุณอินทัช อนุพรรณสว่าง ผู้บริหารแห่งบริษัท อาร์เอสที โรโบติกส์ จำกัด


เริ่มต้น โดยบริษัทในกลุ่มรวมสินไทย ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร ยี่ห้อ YANMAR และได้ต่อยอดธุรกิจ ก่อตั้งโรงงานอุปกรณ์และเครื่องจักรการเกษตรภายใต้แบรนด์ RST และรับจ้างผลิต (OEM) ให้กับแบรนด์ชั้นนำ จากนั้นจึงก่อตั้งบริษัท อาร์เอสที โรโบติกส์ จำกัด ขึ้นในปี 2560 ในฐานะที่ปรึกษา และให้บริการด้านเทคโนโลยี AUTOMATION และ AI อย่างครบวงจร


คุณอินทัช เผยว่า เรามีทีมงานเดิมเป็นวิศวกรของบริษัทภายในเครือของเราอยู่แล้ว จึง Spin-off แยกธุรกิจบางส่วนของตัวเอง ออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ขึ้นมาทำด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม


สินค้าและบริการ เราวางตำแหน่งตัวเองเป็น Total Solution Provider ในรูปแบบวันสต็อปเซอร์วิส คือ ให้บริการลูกค้าตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินโรงงาน ด้วยการเดินตรวจสอบภาพรวมทั้งโรงงานของลูกค้าว่ามีส่วนไหนต้องปรับปรุง วิเคราะห์ความเป็นไปได้ คำนวณความคุ้มค่าในการลงทุน วิจัยและพัฒนา จากนั้นทีมวิศวกรจะทำ Conceptual design ว่าจุดไหนที่สามารถนำระบบออโตเมชันเข้ามาช่วยปรับปรุง และใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง รวมถึงเรื่องการเป็นที่ปรึกษาด้านบีโอไอให้กับทางลูกค้า




ยกตัวอย่างเคสที่ผ่านมา ลูกค้าต้องการสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ผมมีทีมให้คำปรึกษาด้านบีโอไอ ลูกค้าก็จะสะดวกขึ้น เพราะได้ทั้งสิทธิประโยชน์ และได้ปรับปรุงระบบด้วย

หลังจากนั้นจะเป็นช่วงการทำ R&D ทั้งส่วนออกแบบทางด้านวิศวกรรม การผลิต การติดตั้ง ไปจนถึง After sales service


ตอนนี้ ‘RST Robotics’ ผลิตได้ถึงระดับไหน?


เรามีความพร้อมด้านทีมงานวิศวกรที่มีประสบการณ์สูง เครื่องจักรทันสมัย และระบบการทำงานที่ได้มาตรฐาน ทำให้เราเป็น SI (System Integration) หรือผู้ให้บริการวางระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโรงงานอย่างเต็มตัว ส่วนแบรนด์โรบอทเราใช้พาร์ตเนอร์กับแบรนด์ระดับสากล ขึ้นอยู่กับ Requirement ของลูกค้า หน้าที่ของเรา คือ 1. นำโรบอทมา Integrate 2. สร้างเครื่องจักรเอง โดยการ Customize 3. ทำระบบสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) รวมถึงระบบไฟฟ้า โปรแกรม และระบบคอนโทรลทั้งหมด





ในส่วนของซอฟต์แวร์ ที่มีความพร้อม จะเป็นกลุ่ม Robotic Process Automation (RPA) และส่วนอื่น ๆ เช่น การบริหารจัดการซอฟต์แวร์ AI หรือ Machine learning 2 ส่วนนี้ เราเป็นแบบพาร์ตเนอร์กับบริษัทชั้นนำ แต่การรับงานโปรเจคต์ เราเป็นผู้บริหารโครงการ ที่ดึงพาร์ตเนอร์หลายๆส่วนเข้ามาช่วยงาน เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามที่ลูกค้าต้องการ




ในมุมผม System Integration อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เราเป็นเสมือน สถาปนิกบวกกับผู้รับเหมา ที่มีความรู้เฉพาะทางด้าน Factory Automation สำหรับ Business Model ของทางเรา คือพยายามมองหาคนที่เก่งเฉพาะทางในด้านนั้นๆ เป็นรูปแบบการทำงานเหมือน Strategic Partner เป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ที่เติบโตไปด้วยกัน




ปี 2562 เราเป็น Strategic Partner กับ บริษัทโรบอทยักษ์ใหญ่ของจีน นอกจากนี้ตัวผมเอง เป็นกรรมการในสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และ เป็นกรรมการสภาอุตสาหกรรม ในปี 2563 เรามีโอกาสทำงานร่วมกับ PTTES (พีทีที เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น) ด้วยการเป็น Service Provider ในแพลตฟอร์ม รวมถึงในปีเดียวกันเราได้รับรองจากหน่วยงาน CORE (Center of Robotic Excellence) หน่วยงานเดียวในประเทศไทยที่ให้การรับรอง ด้าน System Integrator ขณะที่ ปีถัดมา ‘RST Robotics’ ยังได้รับการส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ ภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นระยะเวลา 8 ปี ส่วนปีล่าสุด เราได้การรับรอง ISO 9001:2015 และยังมี Strategic Sale partner และ Strategic technology partner ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ส่วนใหญ่ ลูกค้าอยู่ในอุตสาหกรรมไหน?


เรามีลูกค้าหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรม Food and Beverage เป็นต้น บุคลากรจะเน้นที่ทีมวิศวกรเป็นส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 4 ทีมประกอบด้วย Project engineer, Mechanical design engineer, Production engineer และ Automation engineer


ลูกค้าเรามีทั้งโกลบอลแบรนด์ เจ้าของโรงงานผลิตในประเทศไทย รวมถึง SME สเกลของโปรเจคมีหลากหลายขนาดตั้งแต่ การลงทุนระดับ 1-2 ล้านบาท สำหรับเอสเอ็มอี ไปจนถึงสเกลระดับ 30-40 ล้านบาท




สำหรับพาร์ตเนอร์ เรามีตั้งแต่ฝั่งยุโรป ญี่ปุ่น จีน ไม่ใช่แค่หุ่นยนต์แต่รวมถึงอุปกรณ์ทางด้านวิศวกรรมต่างๆด้วย และล่าสุดทางบริษัทฯได้นำเอาระบบ AI เข้ามานำเสนอให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้พาร์ตเนอร์กับ บริษัทเอไอจากประเทศญี่ปุ่น มาทำงานร่วมกับเรา


‘ทุกคนเป็นพาร์ตเนอร์’ ในมุมมองของ คุณอินทัช มีความหมายอย่างไร


เป็นสโลแกนของเรา ความหมายคือเรามองทุกคนเป็นพาร์ตเนอร์ ทางลูกค้า ซัพพลายเออร์ และทีมงาน ต้องเติบโตไปด้วยกัน เนื่องจากในฐานะ System Integrator เราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ จำเป็นจะต้องอาศัยเครือข่ายและพาร์ทเนอร์ที่เก่งเฉพาะทางเพื่อให้ผลลัพธ์งานออกมาดี มีคุณภาพ และใช้งานได้ดีในระยะยาว




เราให้ความสำคัญเรื่อง ‘เวลา’ มาก เพราะหากต้องข้ามขั้นตอน หรือเสียเวลาไปเพียงนิดเดียว อาจสร้างความเสียหายให้ลูกค้าหลักล้านบาท



เครื่องจักร คืออุปกรณ์สำหรับสร้างรายได้ให้เจ้าของโรงงาน เพราะฉะนั้น ระบบที่เราออกแบบและผลิต ต้องส่งมอบให้ลูกค้าทันเวลา และสิ่งสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กันในการทำธุรกิจ คือคุณต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ ตามต้นทุนที่กำหนดไว้


SME ไทย มาช้าไปหรือไม่ ในการจะลุกขึ้นมาทรานฟอร์มสู่ระบบออโตเมชั่น


รู้มั้ยครับ? ทำไม SME หลาย ๆ โรงงานถึงไม่สามารถนำระบบออโตเมชันมาปรับใช้ได้..

เพราะต้องอาศัยความพร้อมหลายมิติ ไม่ใช่แค่มีเงิน ดีดนิ้ว แล้วจะทำได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ 1. Mindset ของผู้บริหาร ว่าพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนหรือยัง 2. ความพร้อมด้านทีมงาน ต้องดูว่า คุณมีทีมงานในระดับไหน 3. ความพร้อมด้านระบบการผลิตเดิม ที่ผ่านมามีการปรับปรุงพัฒนาบ้างหรือเปล่า เช่นมีการนำระบบลีน (Lean) หรือไคเซ็น (Kaizen) มาใช้ไหม หรือตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่เคยทำมาแบบไหน 10-20 ปีต่อมา ก็ยังเป็นแบบนั้น


ระบบ Lean ไคเซ็น และ นวัตกรรมระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ (Low Cost Automation) ถ้า SME เอาเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ก่อน จะเป็นการทำให้โรงงานมีพื้นฐานที่ดี หากระบบในโรงงานเดิมมีความเสถียร และมั่นคงในระดับหนึ่งแล้ว ออโตเมชันจะไม่ใช่เรื่องยากในการประยุกต์ใช้




ธุรกิจเน้นไปที่ภาคการเกษตรอย่างเดียวหรือไม่ ?


ยอดขายในกลุ่มเกษตรแปรรูปถือได้ว่าเป็นสัดส่วนสูงสุด โดยเฉพาะ โรงงานยาง รถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ ส่วนอุตสาหกรรมที่เราอยากเข้าไปมากที่สุดตอนนี้ คืออาหาร เพราะตอนนี้เทคโนโลยีพัฒนาไปไกลมาก ส่วนใหญ่จะรองรับสำหรับฟู๊ดเกรดได้หมดแล้ว ค่อนข้างมีความพร้อม


คำแนะนำจาก SI สำหรับ SME ที่สนใจจะ Transforms ไปสู่ออโตเมชั่น


สิ่งที่ต้อง Concern คือเรื่องแรงงานวัยทำงานจะมีจำนวนน้อยลง แต่ค่าแรงสูงขึ้นทุกๆปี อีกเรื่องหนึ่ง คือเทคโนโลยีถูกลง ราคาเอื้อมถึงง่าย ผมมองว่าการที่เราใช้ออโตเมชัน จะทำให้ธุรกิจไปไกลถึงในระดับ Global Scale


ยกตัวอย่าง SME ที่ใช้ออโตเมชัน เวลาลูกค้ามาดูงานที่โรงงาน จะมีความน่าเชื่อถือ สร้างความเชื่อมั่นให้สถานประกอบการ นอกจากนี้ยังมีผลถึงเรื่องการลดต้นทุนการผลิต Cashflow หรือ สภาพคล่องของบริษัทในระยะยาว จะดีขึ้น



ถ้าโฟกัสที่ราย Sector เรามีความเชี่ยวชาญอย่างมากในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป มี Knowhow รองรับได้ทุกขนาดธุรกิจ เพราะ Process การผลิตของทุกโรงงานเหมือน ๆ กัน ระบบการผลิตไม่แตกต่างกันมาก โรงงานส่งออกข้าวก็มีความน่าสนใจ เริ่มต้นง่าย ลงทุนต่ำ โดยเฉพาะส่วนจัดเรียงท้ายไลน์ ที่เหลือน่าจะ ยางพาราแป้งมัน และ น้ำตาล ถ้าเป็นโซนภาคอีสาน



ทิ้งท้าย ถึง SME กับการใช้เทคโนโลยี

ผมมองว่า อันดับแรก คือเรื่องแรงงานคน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในทุกๆโรงงาน เพราะค่าแรงยังไงก็ต้องขึ้นทุกปี ผมเชื่อว่าผู้บริหารรุ่นใหม่ อยากทำงานที่ง่าย สะดวก และทันสมัย เทคโนโลยีพัฒนาไปไกลมากในราคาที่ถูกลงเรื่อย ๆ น่าจะถึงเวลาแล้วที่ SME จะลุกขึ้นมาอัพเกรดโรงงานของคุณ เพื่อลดต้นทุนในกระบวนการผลิตและทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น วันนี้ เทคโนโลยี พร้อมให้คุณใช้แล้ว อยู่ที่การเลือก System Integrator ที่มีความสามารถ ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่:

https://rstrobotics.com

Facebook.com/rstrobotics




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
263 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
427 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
335 | 20/03/2024
ถึงเวลา SME ไทย Transforms สู่ระบบออโตเมชัน ฟังคำตอบจาก'RST Robotics’ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอ