ยากกว่า ปัญหาธุรกิจ คือ ‘การบริหารธุรกิจครอบครัว’ จริงแค่ไหน?

Family Business
30/01/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 2819 คน
ยากกว่า ปัญหาธุรกิจ คือ ‘การบริหารธุรกิจครอบครัว’ จริงแค่ไหน?
banner

ในการทำธุรกิจครอบครัวที่มีคนในครอบครัวเป็นสมาชิกทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน หรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยโดยธุรกิจดังกล่าว เจ้าของ หรือบุคคลในครอบครัวเป็นเจ้าของทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ มีอำนาจควบคุมบริหารบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม (กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์. (2554) หนังสือวางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)


ด้วยปัจจัยที่กล่าวมา ทำให้การบริหารธุรกิจครอบครัวให้ราบรื่นและยั่งยืน เพื่อลดความขัดแย้งจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้นำครอบครัว จะต้องให้ความสำคัญรอบด้าน เช่น การแบ่งผลประโยชน์ให้กับสมาชิก มอบหมายตำแหน่ง ความรับผิดชอบ อำนาจการตัดสินใจ รวมถึงมีการวางแผนสืบทอดอย่างรอบคอบ เพื่อให้เป็นธรรม สร้างความพึงพอใจกับทุกฝ่าย




การบริหารธุรกิจ จะว่าด้วยเรื่องของการบริหารคน การบริหารงาน และการบริหารคน ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เพื่อให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จนั้นนับว่ายากแล้ว แต่ถ้าเราต้องทำงานในธุรกิจครอบครัวที่ไม่ใช่การบริหาร คน งาน เงิน แต่ต้องบริหารอะไรที่นอกเหนือจากหลักการบริหารแบบมืออาชีพ ไปสู่การบริหารสายสัมพันธ์ อารมณ์ความรู้สึกของสมาชิกครอบครัว ญาติพี่น้อง ซึ่งถือเป็นการบริหารนอกตำราที่มีความยากที่สุด เป็นสังเวียนการบริหารที่ไม่มีแพ้ชนะ


เพราะความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ใครทำไม่ดี การตำหนิติเตียน หรือแม้แต่ให้ออกจากการทำงาน เป็นเรื่องที่แสนยากเย็น ตำราการบริหารธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะวิธีการบริหารสมาชิกครอบครัวมีบทความเรื่องนี้น้อยมาก ๆ ถ้ามี ก็มักจะเป็นในรูปของกรณีศึกษาของครอบครัวที่มีปัญหาแล้ว




การบริหารธุรกิจทั่วไปที่มีอิสระทางความคิด สามารถแนะนำให้คำปรึกษาเพื่อนร่วมงาน เสนอแนะ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เราสามารถตำหนิพนักงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งหัวหน้าได้โดยไม่มีใครโกรธ แต่ถ้าเราเห็นสมาชิกในครอบครัวละเลยในหน้าที่ เราอาจอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หรือไม่สามารถทำได้




นอกจากนี้ บทบาทหน้าที่ของเราในธุรกิจครอบครัว มีความหลากหลาย อาจเป็นทั้ง กรรมการ เจ้าของ ผู้บริหาร พ่อ แม่ พี่น้อง คู่สมรส ที่จะต้องทำงานร่วมกับสมาชิกท่านอื่น ๆ มีความผูกพันทางสายเลือด ไม่ว่าเราจะทำงานกับใคร สิ่งที่เป็นปัญหากับหลาย ๆ ครอบครัว นั่นคือเรื่องสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น อารมณ์ความรู้สึกที่ไม่มีตำราการบริหารเขียนไว้ว่าต้องจัดการอย่างไร ควรทำอย่างไร เรื่องนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ ถ้าเราบริหารจัดการได้ไม่ดี บางครั้งก่อตัวด้วยปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มีโอกาสจะลุกลามใหญ่โต


เรามาดูตัวอย่างของความเสี่ยงจากการบริหารธุรกิจครอบครัว ว่าจะเกิดได้ในลักษณะแบบไหนได้บ้าง


• การทำงานกับคู่สมรส เป็นปัญหาที่พบประจำของธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะผู้ก่อตั้งที่ร่วมกันสร้างธุรกิจระหว่างสามี ภรรยาคือ ความเกรงใจซึ่งกันและกัน การตัดสินใจโดยไม่มีการบอกกล่าว ความเห็นไม่ค่อยลงรอยกัน ใครตัดสินใจอย่างไรก็จะยอม ๆ กัน บางปัญหาปล่อยวางและปล่อยผ่านไป บางครอบครัวก็ปล่อยให้ฝ่ายสามี หรือ ภรรยา คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ตัดสินใจไปเลย




• การทำงานระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ถือเป็นปัญหาคลาสสิคของธุรกิจครอบครัว เป็นปัญหาของช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) พ่อแม่สอนลูก หรือลูกเอาพ่อแม่เป็นแบบอย่าง บางครอบครัวพ่อแม่อาจเรียนไม่สูงแต่มีประสบการณ์การทำงานอันโชคโชนเทียบกับลูก ๆ ที่จบการศึกษาสูงแต่ยังไม่มีประสบการณ์แต่อยากจะประสบผลสำเร็จด้วยความสามารถของตนเองมากกว่าการเชื่อและทำตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ การอยากมีชีวิตที่อิสระ อยากสร้างธุรกิจของตัวเอง การเข้ามาทำงานในธุรกิจครอบครัวสำนึกความเป็นเจ้าของ การทุ่มเทกับงาน ความชัดเจนในเรื่องการทำงาน การใช้ชีวิตของแต่ละคน Work Life Balance เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกันได้


• การทำงานร่วมกันระหว่างพี่ น้อง จะเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี ความอาวุโส พี่ใหญ่ น้องเล็ก ผู้หญิงผู้ชาย ปัญหาเรื่องความเท่าเทียมของผลประโยชน์ ผลตอบแทนที่อาจได้เท่ากันโดยไม่ได้ดูประสบการณ์ การทุ่มเทการทำงานที่แตกต่างกัน ทำน้อย ทำมาก การใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ความสนิทสนมของพี่น้องแต่ละคนจนเกิดเป็นการเมืองในครอบครัว




• การทำงานกับเครือญาติ ลุงป้า น้าอา เขยสะใภ้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เช่น ตอนเป็นพี่น้องกันรักกันดี แต่พอแต่งงานมีครอบครัว ก็ไปให้ความสำคัญกับครอบครัวตัวเองที่สร้างขึ้น และลดความสำคัญของพ่อแม่ลง มีปัญหาก็เข้าข้างสามี หรือ ภรรยาตัวเอง ทำให้มีปากเสียงกันระหว่างพี่น้อง หรือกับคู่เขยสะใภ้ มีหลายครอบครัวถึงกับฟ้องร้อง หรือแยกทางกันไปเลย พี่น้องไม่รักกันเหมือนเดิมอีกต่อไป แต่ในหลายกรณีก็มีความเกรงใจกัน การตำหนิติเตียนอาจกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง ความมีอภิสิทธิ์ของการทำงานของเครือญาติ พฤติกรรมบางอย่างที่ไม่สามารถตำหนิติเตียนได้


เรื่องความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของความขัดแย้ง ครอบครัวควรมีการสร้างข้อตกลงสำหรับสมาชิกที่ทำงานในธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะการวางนโยบายแผนจ้างงานสมาชิกครอบครัว ผลตอบแทนทุกรูปแบบในการทำงาน และแผนการสืบทอดธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งที่สำคัญในธรรมนูญครอบครัว




ด้วยเหตุนี้ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกให้ชัดเจน การจัดตั้งสภาครอบครัวเพื่อสร้างการประชุมที่เป็นกิจจะลักษณะ และนำปัญหาการทำงานต่าง ๆ มาพูดคุยกันในวงประชุมนี้ เป็นต้น


ขอบคุณข้อมูลโดย GURU รับเชิญ : คุณวิเชฐ ตันติวานิช นายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว (AFBE)



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
4864 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
4361 | 30/03/2024
ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ศึกษาแนวคิด 3 พลังหญิง นำทัพ ‘ธุรกิจครอบครัว’ Transition ธุรกิจทางรอดอย่างยั่งยืนในยุค Disruption

ธุรกิจครอบครัวที่บริหารด้วยค่านิยมแบบดั้งเดิม มักจะมีมุมมองว่าลูกผู้ชาย เหมาะสมที่จะก้าวขึ้นมารับช่วงกิจการในตำแหน่งหัวหน้า ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการหารายได้…
pin
5335 | 08/03/2024
ยากกว่า ปัญหาธุรกิจ คือ ‘การบริหารธุรกิจครอบครัว’ จริงแค่ไหน?