เร่งปรับมาตรฐานการสอบบัญชี

SME Update
29/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 7252 คน
เร่งปรับมาตรฐานการสอบบัญชี
banner

ก่อนเข้าประเด็น เรามาทำความรู้จักประเภทของผู้สอบบัญชีที่สามารถให้บริการได้กันก่อน โดยผู้ตรวจสอบบัญชี มีแบ่งลักษณะดังนี้

1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั่วไป (CPA : Certified Public Accountant) ซึ่งเป็นบุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ พ.ศ.2547

2. ผู้สอบบัญชีตลาดทุน คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เราคุ้นหูกันคือ ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. (List of Auditors Approved by the office of SEC)

3. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax auditor) ซึ่งเป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


โดยข้อจำกัดของผู้สอบบัญชีแบบ TA นั้นจะสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กที่มีทุนจดทะเบียนหรือทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม และรายได้รวมในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท

ส่วน CPA และผู้สอบบัญชีตลาดทุน นั้นจะสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร หรือเข้าใจง่ายๆ คือ สามารถรับรองได้ทุกประเภทนิติบุคคล ยกเว้นงบการเงินดังต่อไปนี้ที่ต้องใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. รับรองงบการเงินเท่านั้น

ทั้งนี้จากข้อมูลของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบอาชีพบัญชี(กกบ.) ที่ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้สอบบัญชีที่รับอนุญาต จำนวน 9,988 ราย แต่มีผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (สำนักงาน ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบ) จำนวน 240 รายเท่านั้น คิดเป็น 2.40% ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั้งหมด ในขณะที่มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 712 บริษัท เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุนจะอยู่ในอัตราส่วน 3 บริษัท ต่อ 1 ผู้สอบบัญชี ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่ไม่สมดุลกัน และในอนาคตอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนได้ หากไม่สามารถเพิ่มจำนวนผู้สอบบัญชีในตลาดทุน

โดยประเด็นนี้ภายใต้การหารือระหว่าง นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) ร่วมกับนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล นายกสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ และน.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเตรียมปรับโครงสร้างการกำกับดูแลคุณภาพงานสอบบัญชีของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันจะเน้นด้านการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีเป็นหลัก หากผู้สอบบัญชีมีการปฏิบัติงานบกพร่องหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแล้ว ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กำหนดให้ผู้สอบบัญชีเท่านั้นที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย

ทั้งนี้ ความเห็นของทุกฝ่ายเห็นว่าควรพิจารณาแก้ไขการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงสำนักงานสอบบัญชีด้วย เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


ปัจจุบันหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศสมาชิก International Forum of Independent Audit Regulator (IFIAR) จำนวน 55 ประเทศ รวมถึงไทย มีการกำกับทั้งผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี จำนวน 52 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

นายบุณยฤทธิ์ ได้ระบุว่า ผลการหารือเบื้องต้นสำนักงาน ก.ล.ต. ได้จ้างผู้วิจัยมาทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีในต่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการแก้ไข พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ในขณะที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อยู่ระหว่างการพิจารณาเสนอปรับปรุง พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 เพื่อให้รองรับและสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างการกำกับดูแลคุณภาพงานสอบบัญชีด้วยเช่นกัน

รวมทั้งยังได้มีการหารือถึงประเด็นที่จะเอื้อต่อการเพิ่มจำนวนผู้สอบบัญชีในตลาดทุนให้มีความสัมพันธ์กับจำนวนบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดทุนไทยในอนาคต โดยการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้สอบบัญชีเข้ามาเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดหาเครื่องมือในการตรวจสอบ การพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น การจัดหาที่ปรึกษาเมื่อมีข้อโต้แย้งกับผู้ประกอบการ

น่าจับตาว่าภายใต้การหารือนี้ จะมีการปรับเพิ่มบทลงโทษของผู้ตรวจบัญชีและสำนักงานบัญชีที่ปฏิบัติไม่เหมาะสมและสร้างความเสียหายอย่างไรบ้าง ซึ่งคาดว่าจะเป็นมาตรฐานกำกับดูแลสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีที่เข้มข้นมากขึ้น 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1236 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1595 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1879 | 25/01/2024
เร่งปรับมาตรฐานการสอบบัญชี