พัฒนา “เครื่องปรุงรส” จากไทย สู่ AEC

Trend Focus
01/04/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 3898 คน
พัฒนา “เครื่องปรุงรส” จากไทย สู่ AEC
banner
เช็กระดับ วัดตลาด “เครื่องปรุงรส” สำรวจพบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดเครื่องปรุงรสมีอัตราขยายตัวต่อเนื่อง อย่างในปี 2557 มีมูลค่า 31,290 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 3.0 จากปี 2556  ต่อมาเมื่อถึงสิ้นปี 2558 มีมูลค่าประมาณ 33,400 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 4.6 จากปี 2557  เนื่องจากผู้ประกอบการได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปรับเปลี่ยนรสชาติให้ถูกปากถูกคอ สอดคล้องกับอาหารไทยที่มีการพัฒนาเมนูใหม่ๆ หรือดัดแปลงเมนูให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่ปัจจุบันเริ่มหันมานิยมบริโภคอาหารไทยกันมากกว่าอดีต ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ AEC อย่างเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว รวมทั้งการออกนโยบายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่กระหน่ำจัดกิจกรรมกันทุกไตรมาส หรือเกือบจะทุกเดือนกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกหันมาท่องเที่ยวเมืองไทยกันได้ตลอดทั้งปี  โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ทะลักเข้าไทยกันอย่างคึกคัก แน่นอนว่า นอกจากจะได้มาเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ แล้ว อาหารก็เป็นสิ่งสำคัญที่นักท่องเที่ยวจะต้องบริโภคทุกวัน และสิ่งที่ช่วยชูรสให้อาหารถูกปากนักท่องเที่ยวทุกเชื้อชาติ นั่นคือพระเอกที่ชื่อว่า “เครื่องปรุงรส” เอ็กซเรย์เครื่องปรุงรส...ทีละชนิด เครื่องปรุงรสอาหารไทยนั้นมีหลากหลาย เช่น น้ำปลา  เครื่องแกงสำเร็จรูป ผงปรุงรส ซอส (มีทั้งซอสพริกและซอสมะเขือเทศ) เป็นต้น พบว่าบรรดาซอสต่างๆ นี้มีส่วนแบ่งการตลาดที่ไม่มากนัก เช่น ซอสพริก มีเพียงร้อยละ 3 และซอสมะเขือเทศ มีร้อยละ 2 เท่านั้น ภาพรวมมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3-4 ต่อปี ขณะที่ผงปรุงรสนั้น ในช่วงปี 2558 ที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวประมาณ 7,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.5 ของมูลค่าตลาดเครื่องปรุงรสทั้งหมด ยกตัวอย่างแบรนด์ดังให้เห็นชัดๆ เช่น ซอสภูเขาทอง เจ้าของแบรนด์คือ บริษัท ไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่ครองส่วนแบ่งตลาดซอสถั่วเหลืองร้อยละ 49 ซึ่งถือว่ามากที่สุดแล้ว รองลงมาคือ ซอสปรุงรสตราเด็กสมบูรณ์ ผู้ผลิตคือ บริษัท หยั่นหว่อหยุ่น จำกัด ครองส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 25 ส่วนลำดับที่ 3 คือ ซอสปรุงรสตราแม็กกี้ มีบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ครองส่วนแบ่งน้อยลงมาคือ ร้อยละ 15 ส่งออก “เครื่องปรุงรส” จากครัวไทยสู่ครัวโลก มาดูถึงภาพรวมการส่งออกสินค้าอาหารไทยในปี 2559 ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องอาศัยเครื่องปรุงรส โดยนายยงวุฒิ  เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม คาดว่าทั้งปีนี้ยอดส่งออกจะสูงขึ้นเป็น 1 ล้านล้านบาท มีปัจจัยเด่นคือ ต้นทุนการผลิตลดลงตามราคาน้ำมัน เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง) มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 5.6 ที่คาดว่าการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้จะมีมูลค่า 900,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.7 แต่อย่าลืมว่า ปัญหาที่ไทยเรามักประสบทุกปี เป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่าวิตก นั่นคือ ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ส่งผลให้สินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง รายได้ของพี่น้องเกษตรกรก็ลดลงตามเช่นกัน และนั่นจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยของเขาเหล่านั้นลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่มีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมัน แผนงานและโครงสร้างพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของภาครัฐ เงินบาทอ่อนค่าเทียบกับเงินสกุลหลัก ปัญหาในอุตสาหกรรมประมงไทย จากกรณีที่ถูกสหรัฐฯ กล่าวหาว่าใช้แรงงานผิดกฎหมาย ปรับไทยให้ไปอยู่ใน Tier 3 และผลจากการที่อียูมีการประเมินความก้าวหน้าของไทยในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หลังจากปัจจุบันไทยถูกอียูให้ใบเหลืองเพื่อเป็นการตักเตือน ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการส่งออกอาหารไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงตลาดเครื่องปรุงรสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน เดินเครื่องยกระดับ สู่ตลาด AEC และ Global ฝ่ายวิจัยและข้อมูล สถาบันอาหาร ระบุว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2558 เครื่องปรุงรสเป็นสินค้าส่งออกอยู่ในลำดับที่ 5 มีมูลค่า 21,553 ล้านบาท ปัจจัยเด่นของเครื่องปรุงรสที่มีแนวโน้มส่งออกสูงในปี 2559 คือ เป็นสินค้าคุณภาพดี มีเอกลักษณ์ มีภูมิคุ้มกันที่ดี เพราะมีตลาดกระจายตัวอยู่ทั่วโลก โดยไม่ได้พึ่งพิงตลาดหนึ่งตลาดใดในสัดส่วนที่มากเกินไป ปี 2559 ที่ไทยเราเข้าสู่ AEC อย่างเป็นทางการแล้วนี้ สถาบันอาหารตั้งเป้าไว้ว่าจะยกระดับมาตรฐานการตรวจรับรองสินค้าอาหารไทยให้ดียิ่งขึ้น จากนั้นจะยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบสินค้าอีกครั้งเพื่อให้ตลาดโลกยอมรับ โดยจะใช้เวลาใน 4 ปี และเมื่อถึงเวลานั้น คำว่า “ครัวไทย” สู่ “ครัวโลก” อาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมก็เป็นได้   BBL_Trend-Focus3_มีนาคม-2559_1

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เปิดคัมภีร์..ตีโจทย์การตลาด : ธุรกิจร้านอาหาร

เปิดคัมภีร์..ตีโจทย์การตลาด : ธุรกิจร้านอาหาร

ดังนั้นเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารบรรลุตามเป้าหมาย จึงต้องงัดกลยุทธ์มาช่วงชิงลูกค้ากันหลากหลายวิธี โดยในปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่อง “แบรนด์”…
pin
1928 | 07/07/2016
เส้นทางสู่โมเดลประเทศไทย 4.0

เส้นทางสู่โมเดลประเทศไทย 4.0

โดยมีเป้าหมายเพื่อนำประเทศมุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโมเดลนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาประเทศไทย 4.0 นั้น…
pin
2798 | 30/06/2016
ตะลุยส่งออกเครื่องสำอางสู่ตะวันออกกลาง

ตะลุยส่งออกเครื่องสำอางสู่ตะวันออกกลาง

นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า แม้ว่าการส่งออกจะปรับตัวลดลง แต่สถานการณ์ตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี)…
pin
3162 | 12/06/2016
พัฒนา “เครื่องปรุงรส” จากไทย สู่ AEC