ส่องพื้นที่ตลาดอาหารและเครื่องดื่มไทยในจีน

โอกาสในต่างแดน
26/04/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 956 คน
ส่องพื้นที่ตลาดอาหารและเครื่องดื่มไทยในจีน
banner
สำหรับช่องทางการจำหน่ายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในจีน 1.   โรงแรมและภัตตาคารอาหารระดับไฮเอนด์ เป็นหนึ่งในช่องทางที่สำคัญที่ใช้อาหารเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ซึ่งชาวจีนมีความนิยมบริโภคอาหารสังสรรค์นอกบ้านกับครอบครัว เพื่อนฝูง ในโอกาสต่าง ๆ และมักเลือกเข้าร้านอาหารต่างชาติ หรืออาหารฟิวชั่นระดับพรีเมี่ยมราคาแพง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเป็นการส่งเสริมหน้าตาทางสังคม และมีการคาดการณ์ว่าปี 2561 มูลค่าการค้าปลีกร้านอาหารครบวงจรในจีนจะมีมูลค่ามากขึ้น 2.7 ล้านหยวน 2.   Hypersupermarket และ Supermarket เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้านำเข้าและมีประสบการณ์ในการนำเข้าสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ต่างให้ความสำคัญอย่างมากสำหรับแบรนด์ของสินค้าและคุณภาพสินค้า ด้าน Supermarket ในจีนส่วนใหญ่จะเป็นสัญชาติจีน และด้วยขนาดพื้นที่ใหญ่ของจีน ทำให้มีการกระจายตัวของ Supermarket อย่างแพร่หลาย ซึ่ง Supermarket ชื่อดังในจีนนั้น เช่น Beijing Hualian Group, Lianhua (BHG), China Resources Vanguard, Park’n Shop และ Yoghui เป็นต้น 3.   การช็อปปิ้งออนไลน์ หรือ E-Commerce ปัจจุบันการช็อปปิ้งออนไลน์ถือเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งของชาวจีน ในแต่ละวันจะมีผู้บริโภคประมาณร้อยละ 65 ของผู้บริโภคทั้งหมดเข้าเว็บไซต์เพื่อเลือกซื้อสินค้า เว็บไซต์ที่ถือเป็นผู้นำเข้าสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจากต่างประเทศรายใหญ่ของจีน ได้แก่ Taobao,    Tmall,  JD  และ  Yihaodian การช็อปปิ้งออนไลน์ในจีนนี้ไม่เพียงแต่เป็นช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางในการแบ่งปันข้อมูลสินค้า การสื่อสารระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย หรือแม้แต่การติดตามแนวโน้มสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยม นอกจากนี้การช็อปปิ้งออนไลน์ก็สามารถเกิดได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินได้เพียงแค่คลิกผ่านโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นช่องทางการจำหน่ายดังกล่าวถือเป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการควรศึกษาและให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นช่องทางที่ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง และมีแนวโน้มเติบโตอย่างมากในอนาคต สำหรับการเติบโตของการค้าบน E-Commerce จะนำมาซึ่งการแข่งขันที่มากขึ้นทางธุรกิจ หากผู้ประกอบการชาวไทยต้องการขายสินค้าบน E-Commerce จำเป็นต้องสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับสินค้า และการให้บริการเพื่อขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลจีนมีแผนที่จะปรับเปลี่ยนอัตราภาษีสำหรับการซื้อสินค้าผ่านรูปแบบ Cross – Border E-Commerce โดยจะมีการจำกัดมูลค่าของสินค้าที่ซื้อขายแต่ละครั้งไว้ที่ 2,000 หยวน/คน/ครั้ง และไม่เกิน 20,000 หยวน/คน/ปี โดยอัตราภาษีที่เรียกเก็บจะเก็บร้อยละ 70  ของผลรวมภาษีทุกประเภท ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีผู้บริโภค (เก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย) และภาษีศุลกากร Bangkok Bank SME มีบริการสินเชื่อเพื่อการส่งออกในหลายผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองทั้งวงจร ท่านสามารถส่งสินค้าขายถึงปลายทางด้วยบริการแบบเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้านทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สายด่วน 1333 BBL_SME-Go-Inter3_เมษายน-2559_V1 sme

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ทางสะดวก สินค้าไทยฉลุยแน่ในลาว

ทางสะดวก สินค้าไทยฉลุยแน่ในลาว

โอกาสครั้งใหญ่ของผู้ส่งออกไทย เมื่อโรงงานผลิตสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าอุตสาหกรรมและเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวันใน สปป.ลาว มีน้อยมาก ส่วนใหญ่อาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก…
pin
1216 | 28/07/2016
เจาะขั้นตอนนำเข้าและทำการตลาดสินค้าออนไลน์อินเตอร์

เจาะขั้นตอนนำเข้าและทำการตลาดสินค้าออนไลน์อินเตอร์

เริ่มต้นสำหรับผู้ประกอบที่สนใจทำ E-Commerce ต้องรู้แหล่งที่จะคัดเลือกสินค้าเข้ามาขาย โดยแหล่งหาสินค้านำเข้ายอดนิยมนั้นสามารถแบ่งออกได้ตามนี้…
pin
949 | 10/07/2016
ผจก.แบงก์กรุงเทพ มะนิลา ฟันธง! ฟิลิปปินส์เลือกตั้งใหญ่ไม่กระทบนักลงทุน

ผจก.แบงก์กรุงเทพ มะนิลา ฟันธง! ฟิลิปปินส์เลือกตั้งใหญ่ไม่กระทบนักลงทุน

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จัดห้องให้ความรู้แบบเอ็กซ์คลูซีฟสุดพิเศษกับเหล่าผู้ประกอบการที่ต้องการไปลงทุนในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง…
pin
1229 | 09/07/2016
ส่องพื้นที่ตลาดอาหารและเครื่องดื่มไทยในจีน