“หวานอย่างมีหวัง” ผนึกกำลังภูมิปัญญาไทย ผลิตน้ำตาลมะพร้าวระดับพรีเมี่ยม

Innovation Room
20/06/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 2388 คน
“หวานอย่างมีหวัง” ผนึกกำลังภูมิปัญญาไทย ผลิตน้ำตาลมะพร้าวระดับพรีเมี่ยม
banner
หนึ่งในผู้นำชุมชนบ้านลมทวนจังหวัดสมุทรสงคราม  และหัวเรี่ยวหัวแรงสานภูมิปัญญาไทยสู่ผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าว อาจารย์ปรีชา เจี๊ยบหยู เล่าว่า “น้ำตาลมะพร้าวเป็นผลผลิตที่เกิดจากการนำภูมิปัญญามาพัฒนา เนื่องจากว่า ช่วงนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม เลยทำให้มะพร้าวลดลง ผู้คนก็เริ่มละทิ้งปัญหานี้ไป ดังนั้น เลยตัดสินใจนำมะพร้าวกลับมาสร้างประโยชน์ พร้อมทั้งรวมกลุ่มภายในชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม ปลูกมะพร้าวแบบยกร่องสวน ส่งผลให้ระบบนิเวศดี” “ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 11 ปี ผมพัฒนาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยมาเรื่อย ๆ รวมทั้งได้ผลผลิตจากมะพร้าวเสมอมา จนกระทั่งเกิดโครงการ ’หวานอย่างมีหวัง’ ที่หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยหน่วยงานเหล่านี้ไม่หวังผลตอบแทน ไม่แสวงหาผลกำไร  หรือสร้างภาพแต่อย่างใด” ฉะนั้น  คุณคงวุฒิ นิรันตสุข ซึ่งเป็นทีมนักวิจัย เล่าต่อว่า “โครงการหวานอย่างมีหวัง ทำด้วยกัน 4 ฝ่ายคือ 1.  ชุมชน ที่ต้องการสื่อสารคุณค่าอันแท้จริงภายในชุมชน นำโดยอาจารย์ปรีชา เจี๊ยบหยู 2.  เอกชน เป็นฝ่ายที่ยอมรับนโยบายทำเพื่อสังคม ภายใต้แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม (CSV – Creating Shared Value) นำโดย บริษัท ลิฟวิ่งไลท์ เดลี่ จำกัด 3.  ทีมนักวิจัย ที่เข้าช่วยส่งเสริมด้วยการนำทฤษฎีบวกกับภูมิปัญญาไทยชาวบ้านมาพัฒนา นำโดย ผศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม และผม  คงวุฒิ นิรันตสุข 4.  ทีมสื่อสารคุณค่า เป็นฝ่ายสื่อสารเบื้องหลังแห่งความสำเร็จ นำโดย บริษัท ยินดีดีไซน์ จำกัด ซึ่งการรวมกลุ่มครั้งนี้ทำเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง โดยในกระบวนการผลิตเราจะแบ่งเป็น 5 ฝ่าย คือ 1. คนกวนน้ำตาลมะพร้าว 2. คนขึ้นตาล 3. คนเคี่ยว 4. คนหาฟืน 5. คนจัดการ ในหน้าที่เหล่านี้เราจะแบ่งตามความต้องการ บริหารตามความโลภแบบพอดี พอเพียงต่อการใช้ชีวิต ถือเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ทำเพื่อสังคมให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้น ถ้าธุรกิจโต ชุมชนก็ต้องโตไปด้วยกัน” “โดยโครงการหวานอย่างมีหวังนี้ ดำเนินงานมาได้ 1 ปี ชุมชนแฮปปี้ เอกชนก็แฮปปี้ ส่วนทาง สวก. (สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)   ให้ทุนส่วนหนึ่งเพื่อสร้างต้นแบบ นับว่าเป็นงานที่ท้าทายพอสมควร เพราะว่ากว่าจะรวมกลุ่มกันได้ต้องใช้เวลา แต่ผลตอบรับที่ได้กลับมาดีเกินคาดเลยทีเดียว เพราะว่าลูกค้าสนใจในผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก ฉะนั้น ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากน้ำตาลมะพร้าวมี 4 แบบ คือ 1. น้ำตาลมะพร้าว แบบ Original 2. น้ำตาลมะพร้าวอัดก้อน (bricks) 3. น้ำหวานเข้มข้นจากช่อดอกมะพร้าว หรือเรียกว่า Nectar และ 4. น้ำตาลมะพร้าวแบบผง ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ไม่มีการใช้สารช่วยเติมแต่งแต้มใด  ๆ ทั้งสิ้น” ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการทานน้ำตาลมะพร้าว 1.  ได้รับน้ำตาลมะพร้าว “ของจริง” แบบเต็ม ๆ 2.  องค์ประกอบในน้ำตาลมะพร้าวของจริงนั้น  ช่วยให้การดูดซึมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นไปอย่างช้า  ๆ ทำให้ลดความเสี่ยงต่อภาวะโรคเบาหวาน หรืออีกมุมหนึ่งคือ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน   ที่ต้องควบคุมอัตราการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด 3.  พัฒนาภูมิปัญญาไทยให้มีคุณค่า และชุมชนเองก็ได้ยกระดับขึ้น น้ำตาลมะพร้าวเป็นนวัตกรรมได้อย่างไร  ? คุณคงวุฒิ เล่าว่า “นวัตกรรมนี้เกิดจากการจัดการความรู้  พร้อมทั้งใช้ภูมิปัญญามาปรับกระบวนการผลิต ถ้าถามว่ายากไหม ก็ค่อนข้างยากและท้าทายสำหรับนักวิจัย  ที่ต้องนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาไทย ดังนั้น คำว่านวัตกรรมไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาสร้างความหรูหรา เพียงแต่ว่านวัตกรรมที่เราทำคือ การจัดการชุมชนภายใต้ความรู้ทั้งหมด” “ปัจจุบันสินค้าน้ำตาลมะพร้าวของจริงภายใต้แบรนด์ ’หวานอย่างมีหวัง’ นี้ ไม่มีจุดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ดังนั้น นักท่องเที่ยวหรือคนที่แวะมาในจังหวัดสมุทรสงคราม สามารถหาซื้อได้ทางเฟซบุ๊ก ‘หวานอย่างมีหวัง’ หรือเข้าไปที่ www.หวานอย่างมีหวัง.com นอกจากนี้สามารถไปเรียนรู้แก่นแท้ของภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าวได้ที่เตาตาลมิตรปรีชา ต.บ้านปรก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ซึ่ง อ.ปรีชา จะเป็นผู้บอกกล่าวเล่าความถึงตำนานที่ยังมีชีวิตของน้ำตาลมะพร้าวให้ฟัง” “นอกจากนี้ การที่เราเข้ามาก่อตั้งโครงการ ’หวานอย่างมีหวัง‘ เป้าหมายหลัก ๆ ก็อย่างที่กล่าวไปข้างต้น คือ ต้องการใช้ภูมิปัญญาไทยให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้เราเติบโตไปเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนชาวอัมพวามาเป็นแนวร่วมของเรา และเราก็ยินดีเข้าไปนำเสนอแนวคิดให้ตลอด” เคยได้รับรางวัลนวัตกรรมไหม ? “เราไม่ต้องการรางวัลเหล่านี้ แม้เราจะต้องสื่อสารกับชุมชนนานแค่ไหน กี่ปีก็ไม่สำคัญ เนื่องด้วยจุดประสงค์หลัก คือต้องการพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อทุก ๆ ฝ่ายเท่านั้น และเราต้องขอขอบคุณธนาคารกรุงเทพที่ให้ความสนใจโครงการ ’หวานอย่างมีหวัง‘ และผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าวเป็นอย่างมากครับ” “สุดท้ายหากมีคนสนใจน้ำตาลมะพร้าวภายใต้โครงการ ’หวานอย่างมีหวัง‘ ตอนนี้เราอยากได้ 2 กลุ่มนี้ คือ 1. ผู้บริโภคทั่วไปทั้งที่สนใจสินค้าทางเฟซบุ๊ก หรือเดินทางไปหา อ.ปรีชา  ด้วยตนเองในฐานะนักท่องเที่ยว เพื่อเรียนรู้ถึงจิตวิญาณการทำก็ได้ และ  2.  กลุ่มคนทำน้ำตาลมะพร้าว เราต้องการคนก๊อปปี้และต้องก็อปให้เหมือนด้วย ส่วนทางเอกชนที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนโครงการนี้ได้ก็ดีเช่นกัน” คุณคงวุฒิ เล่าทิ้งท้าย

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

Upcycle คืออะไร คุณชนากานต์ – “คนจะคุ้นเคยคำว่ารีไซเคิล การนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ Upcycle คือการนำกลับมาใช้ใหม่แต่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้น…
pin
1232 | 27/07/2016
“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

เส้นทางไหมเป็นนวัตกรรมหนึ่งในเครื่องประดับที่มีคุณสมบัติป้องกันน้ำได้ดี โดยไอเดียนี้เกิดจากคุณกิตติมา เอกมหาชัย ซึ่งเล่าว่า “เดิมเราทำเครื่องประดับทั่วไปที่ทำจากวัสดุธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น…
pin
1404 | 25/07/2016
นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

คุณศาศวัต แสงชัยอรุณ (จูเนียร์) นักศึกษาสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านออกแบบสิ่งทอ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่าว่า…
pin
2601 | 11/07/2016
“หวานอย่างมีหวัง” ผนึกกำลังภูมิปัญญาไทย ผลิตน้ำตาลมะพร้าวระดับพรีเมี่ยม