ย้อนรอยโครงการด้านเกษตรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

SME in Focus
04/12/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 1418 คน
ย้อนรอยโครงการด้านเกษตรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
banner
ในวันที่ 5 ธันวาคม ปีนี้ ทางธนาคารกรุงเทพ อยากชวนทุกคนมาย้อนรอยถึงโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้มีโครงการในพระราชดำริทั้งหมดถึง 4,447 โครงการ โดยในวันนี้ได้มีการหยิบยกโครงการที่คุ้นหู และเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นมาช่วยเหลือด้านเกษตรกรรมของคนไทยทั้งหมด 9 โครงการ ให้ได้ระลึกถึงพระองค์ท่านกัน

1. เกษตรทฤษฎีใหม่ ด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหา ได้พระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” เป็นการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก โดยใช้วิธีการจัดการทรัพยากรในไร่นาอย่างเหมาะสม โดยการสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ มีรายได้เพื่อการใช้จ่ายและเพื่อการบริโภคตลอดทั้งปี เป็นการทำเกษตรที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย

2. โครงการฝนหลวง เนื่องมาจากภาวะฝนทิ้งช่วง ไม่ตกต้องตามฤดูกาลในช่วงเวลาการเพาะปลูก ทำให้เกิดเป็นโครงการสร้างฝนเทียมขึ้นมา เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำของเกษตรกร ซึ่งได้มีการศึกษา ค้นคว้า และทดลองเป็นเวลายาวนานกว่า 14 ปี จนสามารถเกิดเป็นโครงการที่สมบูรณ์ สามารถสร้างฝนเทียมขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่แห้งแล้งได้สำเร็จ

3. โครงการโรงโคนมสวนจิตรลดา หลังจากปี 2503 ที่ได้พระราชดำเนินไปยังประเทศเดนมาร์ก ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม เพื่อเป็นอาชีพใหม่ให้เกษตรกรไทย หลังจากนั้นได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับสร้างโรงโคนม เพื่อเลี้ยงโคนม ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโคนม โดยถือได้ว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพพระราชทาน จากในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกด้วย

4. โครงการธนาคารข้าวเพื่อแก้ไขข้าวขาดแคลน เมื่อข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย แต่บางครั้งภัยธรรมชาติทำให้ต้นข้าวเสียหาย จึงทำให้โครงการธนาคารข้าวเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาข้าวขาดแคลน โครงการนี้จะช่วยกักเก็บข้าว รวมถึงบรรเทาความขาดแคลนที่อาจจะเกิดขึ้นสำหรับผู้ประสบภัยธรรมชาติ ให้มีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค

5. โครงการแกล้งดิน เป็นโครงการเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินที่มีความเป็นกรดสูง โดยจะมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด หลังจากนั้นจึงระบายน้ำออก และฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนดินอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ เป็นวิธีการแกล้งดินเพื่อให้กระบวนการธรรมชาติของดินทำงาน และเกษตรกรเพียงรอเวลาเพื่อใช้ประโยชน์จากกระบวนการเหล่านั้น

6. โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย เป็นการใช้น้ำคุณภาพทำให้น้ำเสียเจือจาง ด้วยการใช้วิธีการตามธรรมชาติตามแรงโน้มถ่วงของโลก เช่น ใช้แม่น้ำเจ้าพระยามาผลักดันและเจือจางน้ำเสียตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ วิธีนี้สามารถทำได้ด้วยการเปิด-ปิด ควบคุมน้ำโดยการรับน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงน้ำขึ้น และระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงน้ำลง เป็นวิธีง่ายๆ ทางธรรมชาติที่ในเวลานั้นไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เพียงแค่ใช้ระบบการเคลื่อนไหวของน้ำตามธรรมชาติและมีการจัดระเบียบแผนเท่านั้น

7. โครงการแก้มลิง แก้มลิงมี 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง และเล็ก เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งใช้หลักของการกักเก็บน้ำฝนเอาไว้เพื่อรอระบายออก ชื่อโครงการนี้ทรงใช้หลักการจากการที่พระองค์ทรงสังเกตการณ์กินของลิง เมื่อเราส่งกล้วยให้กินจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากแล้วเคี้ยว แต่จะนำไปเก็บที่แก้มก่อน และจะทำอย่างนี้จนกว่ากล้วยจะหมดหวี แล้วค่อยนำมาเคี้ยวหรือกลืนภายหลัง ทรงนำมาประยุกต์ดัดแปลงด้วยพระอัจฉริยภาพมีแนวคิดมาจากแก้มของลิง เหมือนกับโครงการแก้มลิงที่มีพระราชดำริให้สร้างพื้นที่เก็บน้ำไว้เพื่อรอการระบายหรือใช้ประโยชน์ภายหลัง

8. โครงการหญ้าแฝก การชะล้างการพังทลายของดินเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรในไทย ซึ่งหญ้าแฝก เป็นหญ้าที่มีประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึกสามารถระเบิดดินดาน ยึดหน้าดินได้ดีด้วยรากที่ยึดดินได้ลึกกว่าหญ้าทั่วไปที่มีระบบรากแผ่ขยายรอบต้นแต่ลงไม่ลึก หญ้าแฝกจึงมีลักษณะพิเศษกว่า ทั้งนี้ความยาวของรากมีความแตกต่างกันตามพันธุ์ ด้วยระบบรากที่พิเศษนี้ ทำให้สามารถอุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินให้มั่นคง ช่วยให้ลำต้นชิดติดกันแน่นหนามากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ดักตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี

9. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักที่เกิดเป็นประจำทุกปี ทำให้มีการสร้างเขื่อนขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค อีกทั้งยังสามารถใช้น้ำที่กักเก็บไว้ไปพัฒนาในด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย และปัจจุบัน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ยังสามารถแวะเวียนไปท่องเที่ยวได้อีกด้วย

จาก 9 โครงการข้างต้น ล้วนแสดงถึงพระอัจฉริยภาพในการทรงงานเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ด้วยพระราชดำริที่คิดอย่างรอบด้าน บางโครงการเป็นวิธีการที่ง่าย แต่กลับไม่มีใครคาดคิดหรือนึกถึงมาก่อน แต่พระองค์ท่านกลับนำวิธีการเหล่านี้มาทำให้วิถีชีวิตของภาคเกษตรกรไทยดีขึ้น เกิดเป็นเกษตรที่ยั่งยืนจนมาถึงทุกวันนี้

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
149 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
747 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
553 | 10/04/2024
ย้อนรอยโครงการด้านเกษตรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร