เอสเอ็มอี “ต้องรู้” ถ้าอยากรอดปี 2562

SME Update
02/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1349 คน
เอสเอ็มอี “ต้องรู้” ถ้าอยากรอดปี 2562
banner
เปิดแนวโน้มความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจปี 2562 จับตาสงครามการค้าจีนกับสหรัฐอเมริกา ที่จะส่งผลสะเทือนทั่วทั้งโลก ตอกย้ำด้วยอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น แต่ในข่าวร้ายยังมีข่าวดีหากปรับตัวรับมือทันโอกาสปีหมูก็ยังเปิดกว้าง แนวโน้มเศรษฐกิจธุรกิจ ปี 2562 เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือ และแสวงหาโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ โดยเฉพาะแนวโน้ม 7 ประการดังต่อไปนี้ 1.สงครามการค้ามังกร กับ พญาอินทรีย์ การเจรจาการค้าระหว่าง สีจิ้นผิง ผู้นำจีน กับ โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ พลิกไปพลิกมาตลอดช่วง 2 เดือน สุดท้ายของปี 2561 ประกอบกับท่าทีของทั้ง 2 ฝ่าย ที่เหมือนว่ายังไม่ลงรอยกัน ทำให้มีการประเมินกันว่า ปี 2562 สงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศยังคงดำเนินต่อไป ผลกระทบจากสงครามการค้าของยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ หมายเลข 1 และ 2 ของโลก ย่อมสะเทือนไปทั้งโลก ส่วนประเทศไทยนั้น เชื่อว่าจะกระทบต่อยอดการส่งออกของประเทศไม่น้อย เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในซัพพลายเชน ของทั้ง 2 ประเทศ คือ เมื่อการค้าระหว่าง 2 ประเทศลดลง สินค้าจากไทยที่ส่งไปยังจีนและอเมริกาก็ย่อมลดลงไปด้วย สำนักเศรษฐกิจต่างๆ ของไทย คาดว่า สินค้าส่งออกจากไทยในปีหน้าจะหายไปเนื่องจากสาเหตุนี้ 1- 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืออาจมากขึ้นหากทั้ง 2 ประเทศปรับอัตราภาษีนำเข้าระหว่างกันขึ้นอีก สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมรับมือสำหรับเรื่องนี้ คือ พยายามหาช่องทางการส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจำเป็นต้องพัฒนาตลาดภายในประเทศ ปรับตัวพัฒนาสินค้าใหม่ๆ และปรับลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะ เอสเอ็มอี ที่คาดว่าจะต้องเผชิญกับสินค้าจากจีนและอเมริกา ที่จะทะลักเข้ามาในประเทศอาเซียนรวมทั้งไทยด้วย อีกด้านหนึ่งคาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายฐานผลิตของนักลงทุนทั้งจากจีน และสหรัฐฯ มายังอาเซียน ซึ่งประเทศไทยก็เป็นเป้าหมายหนึ่ง จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยจับมือกับพันธมิตรต่างประเทศ แต่แน่นอนผู้ประกอบการไทยต้องมีความพร้อมในการร่วมทุนพอสมควร 2.วางแผนบัญชี-การเงิน ต้องรัดกุม ปัจจัยต้นทุนการเงิน เป็นอีกประเด็นที่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีไทย พึงต้องเตรียมตัวรับมือไว้ให้ดี หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จาก 1.50 % เป็น 1.75 % นั้น แสดงให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นแล้ว และจะส่งผลต่อต้นทุนการเงินของเอสเอ็มอีอย่างแน่นอน ส่วนจะขึ้นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ ทั้ง เงินเฟ้อและสัดส่วนหนี้สิน ดังนั้น เอสเอ็มอี ควรต้องเตรียมพร้อมในการบริหารการเงินอย่างเหมาะสม และมีเครื่องมือต่างๆ ในการปิดความเสี่ยง ซึ่งคงต้องหารือใกล้ชิดกับธนาคารที่ให้บริการอยู่ ที่สำคัญการใช้เงินจะต้องไม่ใช้เงินผิดประเภท มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง ซึ่งนับเป็นเรื่องดีประการหนึ่ง ที่รัฐได้จัดทำนโยบายบัญชีเดียว ซึ่งมีมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอี มีต้นทุนการเงินที่ต่ำลงด้วย  3.เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว ตามไม่ทันเพลี่ยงพล้ำ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่เข้ามาปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กำลังจากก้าวสู่ยุค 5G ซึ่งจะพลิกโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง เปิดทางเข้าสู่ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและธุรกิจยุคใหม่อีกขึ้นหนึ่ง IOT (Internet of Things)  เครื่องใช้หลากหลายจะถูกเชื่อมต่อด้วยอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะเปลี่ยนวงการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไม่เท่านั้นเทคโนโลยีนี้ยังต่อยอดไปในทุกมิติ Blockchain เทคโนโลยีนี้กำลังพัฒนาการไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะวงการด้านการเงิน ที่ผ่านมาเราเห็นธนาคารต้องปิดสาขาลงอย่างต่อเนื่อง เพราะเทคโนโลยีนี้ ประชาชนมีทางเลือก ไม่ต้องไปสาขาธนาคาร และยังมีนวัตรกรรมธุรกรรมใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆอีกหลายอย่าง ที่จะส่งผลต่อภูมิทัศน์ธุรกิจ เช่น AI หรือปัญญาประดิษฐ์ และ Big Data ที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพงาน เป็นต้น เอสเอ็มอี ย่อมได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่อีกด้านหนึ่งหากไม่สามารถปรับตัวให้สามารถใช้ประโยชน์ หรือตามไม่ทันเทคโนโลยี ก็จะกลายเป็นผลลบต่อธุรกิจทันที ดังนั้นบรรดาเอสเอ็มอีต้องติดตามศึกษาความพร้อมในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีให้เหมาะสม มิฉะนั้นอาจตกอยู่ในสถานะตกขบวนได้ 4.ต้นทุนพลังงานมีแนวโน้มขยับ คณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้คาดการณ์สถานการณ์ต้นทุนไฟฟ้าในปี 2562 ว่า  ต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ Ft ในปี 2562 จะอยู่ที่ 27.4 สตางค์ต่อหน่อย หรือคิดเป็นมูลค่าราว 47,996 ล้านบาท จากปี 2561 ค่า Ft อยู่ที่ 25.17 สตางค์ต่อหน่วย หรือมูลค่ารวม 43,279 ล้านบาท โดยเกิดจากนโยบานรัฐที่สนับสนุนไฟฟ้าจากพลังงานจากทดแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ด้านราคาน้ำมันก็มีการคาดการณ์ว่า ปี 2562 ราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ประมาณ 70-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล แม้จะเป็นการคาดการณ์ที่ไม่มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับสงครามการค้า แต่นั่นก็ไม่ได้บอกว่าราคาน้ำมันจะลดลงจากปี 2661 เอสเอ็มอี จึงควรจะบริหารต้นทุนพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มาตรการการประหยัดไฟฟ้า ประหยัดพลังงานต่างๆ ที่เคยทำมาในอดีต อาจจะต้องกระชับขึ้น และมีมาตรการหรือแนวทางใหม่ๆ มาเสริม 5.ต้นทุนบุคลากรไม่ใช่แค่เงินแต่คือเวลาด้วย ฟันเฟืองสำคัญ ในการต่อสู้รับมือกับภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจ คือการตั้งสติ การวางแผนยุทธศาสตร์ที่แม่นยำ และเหนืออื่นใดคือการบริหารจัดการองค์กรให้มีความพร้อม โดยเฉพาะบุคลากรที่จะร่วมขับเคลื่อนองค์กร 3-4 ปีที่ผ่านมา เอสเอ็มอี ต่างประสบปัญหาด้านบุคลากรที่หายากขึ้น หรืออาจไม่ตรงตามสายงานที่ต้องการ ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะแรงงานไม่มีทักษะ แต่ยังรวมถึงแรงงานที่มีทักษะตามสายงานต่างๆ ด้วย เนื่องจากพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ยุค Gen-Y และ Gen-C ที่หันหลังให้กับงานประจำ นิยมรับงาน Freelance หรือไม่ก็ไปค้าขายออนไลน์ หลายบริษัทเมื่อประสบบัญหาพนักงานรุ่นใหม่ๆ ออกบ่อย ก็หันไปจ้าง Freelance เสียเอง แต่นั่นหมายถึงต้นทุนการบริหารที่สูงขึ้น ซึ่งอาจไม่ได้มาในรูปของค่าจ้างอย่างเดียว แต่เป็นค่าเสียเวลา ดังนั้น เอสเอ็มอีต้องตระหนักถึงบุคลากรในองค์กรให้มากขึ้น มีการอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน 6.ภาพรวมการบริโภคในประเทศผันผวน การบริโภคภายในประเทศ อาจกลายมามีความสำคัญมากขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากการส่งออกที่มีแนวโน้มหดตัวลง ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวก็ต้องยังจับตาดูตลาดจีน ที่แม้จะกลับมา แต่ก็ต้องดูกันในระยะยาว ขณะเดียวกันการบริโภคภายในประเทศไทย ยังต้องพึ่งพาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งรายงานแนวโน้มสินค้าเกษตร แม้จะมีหลายตัวที่อาจจะมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ก็มีหลายตัวที่เป็นผลิตผลหลักๆ ที่ยังต้องเผชิญราคาตกต่ำต่อไป โดยเฉพาะยางพารา ปาล์ม ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรคาดการณ์ล่วงหน้าก็ไม่ได้ขยับตัวสูงนัก ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่แล้ว ก็อาจมีนโยบายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ปีหมู จะเป็นปีหมูทอง หรือ หมูป่า ขึ้นอยู่กับว่าบรรดาเอสเอ็มอี จะเตรียมพร้อมรับมือและปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์องค์กรอย่างเท่าทันหรือไม่ ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า ภูมิทัศน์เศรษฐกิจธุรกิจเปลี่ยนเร็ว เอสเอ็มอีไทยวิ่งไม่ได้แล้ว “ต้องกระโดด”

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1228 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1588 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1874 | 25/01/2024
เอสเอ็มอี “ต้องรู้” ถ้าอยากรอดปี 2562