สงครามการค้าจีน-สหรัฐ รับมืออย่างไร

SME Update
04/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1866 คน
สงครามการค้าจีน-สหรัฐ รับมืออย่างไร
banner
ช่วงปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยต่างได้รับข้อมูลข่าวสารการต่อสู้กันในเวทีการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก จีนกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลพวงมาจากสหรัฐฯมองว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ภายหลังสหรัฐฯพบว่ามียอดขาดดุลการค้ากับจีนมูลค่าสูงถึง 3.75 แสนล้านดอลลาร์

ชนวนสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2561 โดย สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบเครื่องซักผ้าเป็นเวลา 3 ปี ในอัตรา 16-50%  ขึ้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์เป็นเวลา 4 ปี ในอัตรา 15-30%  ขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอะลูมิเนียมในอัตรา 10%

จากนั้นช่วงพฤษภาคมปีเดียวกัน สหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนที่มีมูลค่ารวมสูงถึง 50,000 ล้านเหรียญ ในอัตรา 25% โดยสินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่ ประกอบด้วย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล อุปกรณ์การขนส่ง ยานพาหนะ

ด้านจีน ตอบโต้สหรัฐฯ โดยเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่ารวมประมาณ 3,000 ล้านเหรียญ ในอัตรา 15-25% รวมถึงสินค้าประเภทอาหาร สินค้าทางการเกษตร และรถยนต์

เดือนกรกฎาคม สหรัฐฯ ประกาศรายการสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ารวม 200,000 ล้านเหรียญที่จะโดนเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตรา 10% ผลคือในช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาสสุดท้าย ของปี 2561 เศรษฐกิจโลกซบเซาลงต่อเนื่อง

ล่าสุดช่วงต้นเดือนธันวาคม ในการประชุม จี20 ‘ทรัมป์’  และ ‘สี จิ้นผิง’ ตกลงพักรบชั่วคราว โดยจะเลื่อนการใช้มาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกัน ออกไปอีก 90 วัน จากเดิมที่กำหนดไว้ว่า จะเริ่มใช้อัตราภาษีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

เริ่มสงคราม ฝั่งจีนเหนือกว่าสหรัฐ

นายพรศิลป์ พัชรินตนกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ และอดีตรองประธานหอการค้าไทย ระบุว่า ภาวะสงครามการค้า จีนกับสหรัฐฯที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ทั้งการที่สหรัฐฯจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก และอะลูมิเนียม และการเดินเกมขึ้นภาษีสินค้าต่างๆจากจีน ทำให้เศรษฐกิจโลกผันผวนอย่างหนัก ทั้งยังไม่ดีต่อเศรษฐกิจในสหรัฐฯเองด้วย

เห็นได้ชัดว่า ช่วงที่ผ่านมาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเหล็กและอลูมิเนียมในสหรัฐฯสูงขึ้น ไม่เพียงแค่ในสหรัฐฯแต่กระทบไปทั่วโลก ทั้งยังเกิดภาวะทางจิตวิทยา ทำให้ประชาชนทั่วโลกชะลอการใช้จ่าย กำลังซื้อหดตัว ภาคการลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ  และเชื่อว่าสภาวะนี้ยังคงยืดเยื้อไปอีกหลายปี หรือตลอดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ “ทรัมป์”

อย่างไรก็ตามเห็นได้ชัดว่า ที่ผ่านมาจีนยังคงความได้เปรียบ จากการได้ดุลการค้าสหรัฐฯอีกมากและต่อเนื่องมายาวนาน แม้ในช่วงสั้นๆนี้ การส่งออกจากจีนไปสหรัฐก็ยังเพิ่มขึ้น เพราะผู้นำเข้าในสหรัฐฯ พากันสต๊อกวัตถุดิบจากจีนกันล่วงหน้า เนื่องจากมีความกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการขึ้นภาษีรอบ 2 ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายหลังการประกาศเลื่อนการใช้มาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันออกไปอีก 90 วัน เกมนี้จึงมองว่าสหรัฐฯไม่ได้เปรียบแม้แต่น้อย ทั้งยังเป็นการทำร้ายประเทศตัวเอง

วิกฤติ-โอกาส ของผู้ประกอบการไทย

สำหรับประเทศไทย ภาพรวมของการส่งออกปี 2561 ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าพอสมควร โดยตัวเลขการส่งออก 3 ไตรมาส โตขึ้นเล็กน้อยเพียง 1-2 %  และเห็นได้ชัดว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  แผงวงจรไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์  ซึ่งไทยมีตลาดใหญ่ในสหรัฐฯ และจีน  รวมถึงอุตสาหกรรมไม้แปรรูปที่ส่งออกไปจีน

ขณะที่ในภาคเกษตร แม้ไทยมีการส่งออกกุ้งแช่แข็งไปสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ได้มีปริมาณที่มากนักเนื่องจากเดิมสหรัฐฯกำหนดโควตาไว้อยู่แล้ว ทั้งผลผลิตในประเทศไทยปริมาณก็ไม่เพิ่มขึ้น ด้านไก่แช่แข็งที่ไทยส่งออกไปจีนกลับมีทิศทางทีดี จากการที่จีนจำกัดสินค้าอุปโภคนำเข้าจากสหรัฐฯ ตรงนี้อาจเป็นโอกาสของไก่สดแช่แข็งของไทย ทั้งยังสามารถทำตลาดประเทศอื่นๆได้อีก เพราะคู่แข่งสินค้าไก่แช่แข็งอย่าง ประเทศบราซิล ที่เกิดภาวะไก่เป็นโรคระบาด ยิ่งทำให้เป็นโอกาสของไก่แช่แข็งของไทย

ส่วนการส่งออกผลไม้และอาหารในรูปแบบจาก ข้าว และ ธัญพืช ที่เป็นอาหาร ในปี 2562 อาจได้รับอานิสงค์จากสงครามการค้า เนื่องจากความต้องการในจีนและสหรัฐที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากทั้งสองประเทศสกัดกั้นภาษีระหว่างกันนั่นเอง

ด้านนางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ระบุในที่ประชุมสรท. เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ว่า ข้อมูลผลกระทบจากสงครามการค้า ทำให้ตัวเลขการส่งออกไทยปี 2561 หดเหลือ 8 % จากเดิมที่ประเมินไว้จะเติบโตที่ 9 %  และคาดการณ์ตัวเลขส่งออกปี 2562 จะโตได้แค่ 5 %

ผู้ส่งออกเกิดความกังวลต่อสถานการณ์สงครามการค้า เพราะไม่เพียงอุตสาหกรรมที่ได้รับผลโดยตรง อย่างอุตสาหกรรมไอที และยานยนต์ แต่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องก็ได้รับผลกระทบอีกไม่น้อย อย่างเช่น กลุ่มยางแปรรูป อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ที่ส่งออกไปสหรัฐฯ

เปิดโผสินค้าไทยโอกาสในวิกฤติ

นายวิทยากร มณีเนตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมส่งเสริมฯ มีการติดตามสถานการณ์สงครามการค้าอย่างใกล้ชิด โดยเชื่อว่าสถานการณ์ครั้งนี้เปิดโอกาสหลายอย่างให้กับผู้ประกอบการไทย คือหากมองในมุมส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ สินค้าไทยจะเข้าไปทดแทนสินค้าจีน อาทิ สินค้าเกษตร อาหาร ข้าวและผลไม้ต่างๆ อาหารทะเลแปรรูป มันสำปะหลัง พลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟรอย และท่อพลาสติก เป็นต้น

อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์ เตรียมวางแผนรับมือไว้ โดยสั่งการให้ทูตพาณิชย์ทั้งฝั่งจีนและฝั่งสหรัฐฯ วิเคราะห์รายกลุ่มสินค้าเพื่อพิจารณาว่าสินค้ากลุ่มใดที่ไทยจะมีโอกาส โดยในสหรัฐเลือกมา 15 กลุ่มสินค้า อาทิ เครื่องหนัง เครื่องเงิน เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรต่างๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่จีนถูกสหรัฐฯเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 30-60%

จากนั้นได้ประสานให้ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ เจาะข้อมูลผ่านผู้นำเข้าสหรัฐ โดยทำกิจกรรมนัดหมายจับคู่การค้า หรือจัดโรดโชว์ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าไทยแก่ผู้นำเข้าของสหรัฐฯ โดยทำงานร่วมกับทางสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม เชื่อว่าแผนการนี้จะทำให้ประเทศไทยขายสินค้าเข้าไปยังตลาดสหรัฐได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยก็ควรปรับตัวรับผลกระทบต่อสงครามการค้า พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตลาดสหรัฐ ซึ่งกรมส่งเสริมฯ จะเร่งหาตลาดใหม่ในประเทศที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ทั้งในอาเซียน ลาตินอเมริกาและแอฟริกา รองรับให้ผู้ประกอบการส่งออกทดแทนตลาดสหรัฐฯ

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1292 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1661 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1915 | 25/01/2024
สงครามการค้าจีน-สหรัฐ รับมืออย่างไร