ลดเวลาทำงานลง เติมการใช้ชีวิตให้มีความสุขมากขึ้น

Edutainment
15/03/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3136 คน
ลดเวลาทำงานลง เติมการใช้ชีวิตให้มีความสุขมากขึ้น
banner
หลายคนสั่งสมความเครียดและสุขภาพจิตแย่ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องาน ขณะที่เทรนด์ลดเวลาทำงานลงเป็นสัปดาห์ละ 4 วัน มีการนำมาใช้ในยุโรปหลายประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่น ทั้งจากเหตุผลการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ประสิทธิภาพการทำงานของ พนักงาน ดีกว่าทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์  และการจูงใจแรงงานที่หายากขึ้นในประเทศที่เจริญแล้ว  สำหรับในประเทศไทยจะเป็นไปได้มั้ยนะว่าจะลดเวลาทำงานลงและได้ออกไปใช้ชีวิตบ้าง
ลดวันทำงาน productivity เพิ่มขึ้น

รู้หรือไม่ว่า ประเทศที่ประชาชนมีชั่วโมงในการทำงานสั้น เป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดแถมเศรษฐกิจในประเทศก็อยู่ในเกณฑ์ดีเสียด้วย ไม่ว่าจะเป็นเดนมาร์ก นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลน์ เนเธอร์แลนด์ หรือสวีเดน ต่างก็เคยถูกจัดอันดับโดย World Happiness Report ให้เป็น 5 ประเทศที่มีระดับความสุขสูงที่สุดในโลก เพราะการใช้ได้ใช้ชีวิตมากขึ้นแทนที่จะมุ่งแต่ทำงานอย่างเดี่ยว

ทฤษฎีนี้ คนบ้างานอาจไม่ปลื้ม ...แต่เชื่อเถอะว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วยแน่นอน โดยงานวิจัยของ Perpetual Guardian บริษัทที่ปรึกษาด้านสินทรัพย์จากนิวซีแลนด์ทดลองปรับการทำงานเป็น 4 วันต่อสัปดาห์เพื่อค้นหาคำตอบ ว่าที่ผ่านมาเราทำงานสัปดาห์ละ 5-6  วันกับเปลี่ยนมาทำงานสัปดาห์ละ 4 วันแทน ซึ่งเป็นที่น่าสนใจเพราะว่าการลดวันในการทำงานดังกล่าวทำให้ ค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการผลิต หรือ productivity ของพนักงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24

พนักงาน

Andrew Barnes ผู้ก่อตั้ง Perpetual Guardian เกิดไอเดียการปรับเวลางานเป็น 4 วันนี้ขึ้นหลังจากที่เขาได้อ่านบทความในเว็บไซต์ Business Insider ที่กล่าวถึงงานวิจัยเรื่องการตั้งสมาธิในการทำงานและการทดลองเปลี่ยนระบบงานจาก 5 วันต่อสัปดาห์มาเป็น 4 วัน และอีกบทความหนึ่งจาก The Economist เกี่ยวกับผลกระทบของสิ่งรบกวนที่มีต่อผลิตผลในทำงาน Barnes จึงทำการทดลองปรับเวลางานเป็น 4 วันต่อสัปดาห์ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พร้อมทั้งได้ว่าจ้างนักวิจัย 2 รายเพื่อศึกษาผลการทดลองในครั้ง

หลัง 8 สัปดาห์ผ่านไป Perpetual Guardian พบว่าการลดวันทำงานเป็น 4 วันต่อสัปดาห์นั้นช่วยให้พนักงานในบริษัทมี productivity เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 มีสมดุลระหว่างงานและการใช้ชีวิต (work-life balance) ที่ดีขึ้น

ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีเวลาทำงานเพียง 4 วันต่อสัปดาห์ พนักงาน ในบริษัทสามารถใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น โดยพบว่าพนักงานมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น มาทำงานโดยหยุดหรือออกจากงานเร็วน้อยลง มีความตรงต่อเวลามากขึ้น

ในขณะที่มีผลงานได้เท่ากับการทำงาน 5 วันแบบเดิม อีกทั้งยังมีการลดเวลาในการประชุมที่นับว่าเป็นกิจกรรมที่ทำลาย productivity ลงจากเดิมเฉลี่ย 2 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยเหลือเพียงครั้งละ 1 ชั่วโมงเท่านั้น

บริษัทญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดเวลาทำงานเพิ่มขึ้น

ขณะที่บริษัทเอกชนในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีปัญหาด้านแรงงาน เลยได้มีนโยบายให้มีวัยหยุด 3 วันต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น เพราะจะช่วยดึงดูดแรงงานที่หายากขึ้นเรื่อยๆ โดยสถิติของกระทรวงแรงงานญี่ปุ่น พบว่าบริษัทจำนวน 8% ของบริษัทในญี่ปุ่นอนุญาตให้หยุดงานสัปดาห์ละ 3 วันหรือมากกว่านั้นได้  ทั้งแนวโน้มบริษัทที่มีนโยบายแบบนี้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ตัวอย่างบริษัทที่ใช้นโยบายนี้คือ KFC Japan ลดจำนวนชั่วโมงทำงานลงเหลือ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และอนุญาตให้พนักงานเลือกวันหยุดเองตามต้องการได้ 3 วันต่อสัปดาห์, ร้านเสื้อผ้า Uniqlo ก็อนุญาตให้หยุดได้ 3 วันเช่นกัน

บริษัทบางแห่ง เช่น Uchiyama Holdings ที่ให้บริการดูแลสุขภาพ (nursing care) ยังมีข้อกำหนดทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่อนุญาตให้พนักงานทำงาน 4 วัน วันละ 10 ชั่วโมง แทนการทำงาน 5 วัน 8 ชั่วโมงได้ ส่วนเหตุผลก็เป็นเรื่องการดึงดูดแรงงานที่หายาก และป้องกันไม่ให้พนักงานที่มีอยู่แล้วต้องลาออก

นอกจากเหตุผลด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและจูงใจแรงงาน อีกเหตุผลหนึ่งคือ คนเริ่มตระหนักว่าจำเป็นต้องลดชีวิตการทำงานหนักลง โดยไม่จำเป็นต้องทำงานตลอดเวลาเพราะสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญกว่า และอยากใช้ชีวิต ที่เป็นชีวิตจริงๆ ไม่ใช่วิถีกรรมกรมากยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่ ต้นศตวรรษที่ 20 นั้นมนุษย์มีการทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ก่อนจะค่อยๆลดหลั่นลงมาสวนทางกับรายได้ต่อหัว (PCI) ที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 1926 Henry Ford ผู้ก่อตั้ง Ford Motor Company ได้เริ่มตั้งมาตรฐานการทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้น และมาตรฐานนี้ก็ได้กลายมาเป็นกฎหมายในพระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงานที่ยุติธรรม ค.ศ.1938 สำหรับหลายๆอาชีพในเวลาถัดมา


ปัจจุบันบริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปและงานวิจัยหลายฉบับได้เริ่มเข้ามาตั้งคำถามกับธรรมเนียมการทำงาน 5 วันมากขึ้นเรื่อยๆ และเราคงจะได้เห็นการทดลองวิจัยในประเด็นดังกล่าวอีกมากในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน ขณะที่ในประเทศไทยประเด็นนี้ก็ถูกหยิบยกมาพูดถึงหลายครั้ง แต่ยังไม่มีบริษัทไหนนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง  ที่สำคัญคนส่วนใหญ่มีปัญหาหนี้สินและความยากจน และยังเชื่อว่าทำงานหนักๆ เพื่อได้ค่าตอบแทนที่ดี...น่าเสียดายจริงๆ

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะยิ่งนับวัน การคืบคลานเข้ามาของสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลายภาคส่วน…
pin
682 | 07/02/2024
‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

จากข้อมูลโดย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sdgmove)  ระบุว่า เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติ…
pin
9353 | 26/10/2023
#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

ช่วงเวลาของสายบุญ ที่จะเวียนมาปีละครั้ง สำหรับเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ตามประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน โดยกำหนดวันตามจันทรคติ…
pin
12058 | 03/10/2023
ลดเวลาทำงานลง เติมการใช้ชีวิตให้มีความสุขมากขึ้น