อนาคต “วัตถุดิบอาหารไทย” ในตลาดผู้สูงอายุญี่ปุ่น

SME in Focus
18/04/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2467 คน
อนาคต “วัตถุดิบอาหารไทย” ในตลาดผู้สูงอายุญี่ปุ่น
banner
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ถือได้ว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวและมีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 พบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายอาหารสำหรับผู้สูงอายุภายในประเทศรวม 5,450.2 พันล้านเยน มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.2 ต่อปีส่งผลให้กลุ่มผู้สูงอายุกลายเป็นผู้บริโภคที่ทรงอิทธิพลและเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อทิศทาง ธุรกิจผู้สูงอายุ มากขึ้นเรื่อยๆ

แนวโน้มดังกล่าวได้กลายเป็นทั้ง “โอกาส” และ “ความท้าทาย” สำหรับผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการในธุรกิจอาหาร ในการปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อช่วงชิงพื้นที่และตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะเจาะจงของผู้บริโภคกลุ่มนี้

การมีอายุที่ยืนยาวขึ้นทำให้มีความต้องการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ขนาดบรรจุภัณฑ์ที่เล็กลง รับประทานหมดในครั้งเดียว อาหารที่เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของกลุ่มผู้สูงอายุถือเป็นโอกาสที่จะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจนเพิ่มขึ้นอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งอาหารที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจําวัน และอาหารที่สอดคล้องกับความต้องการตามวัย

อย่างไรก็ตามสินค้าอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพนั่นเอง เพราะคุณสมบัติของสินค้ามีเป้าประโยชน์เดียวกัน คือ การบริโภคเพื่อสุขภาพ ตลาดอาหารเพื่อผู้สูงอายุจึงยังคงแฝงตัว หรือแทบจะกลายเป็นเนื้อเดียวกันกับตลาดอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเลี่ยงไม่ได้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

ธุรกิจผู้สูงอายุ

ไปดูข้อมูลของประเทศญี่ปุ่นกัน คาดกันว่าในปี 2563 จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 31.6 นอกเหนือจากธุรกิจใหม่ ๆ ที่เรียกว่า “ธุรกิจผู้สูงอายุ” เกิดขึ้นแล้ว ธุรกิจอาหารสำหรับผู้สูงอายุก็กำลังเติบโตเช่นกัน โดยได้พัฒนาอาหารให้รับประทานง่าย ช่วยบำรุงร่างกาย และมีรสชาติหลากหลายมากขึ้น

สำหรับสินค้าอาหารที่ไทยมีศักยภาพและโอกาสขยายสู่ตลาดญี่ปุ่น เช่น การแปรรูปวัตถุดิบพืชผักท้องถิ่นของไทยที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักชี ตะไคร้ โหระพา กระชาย หรือวัตถุดิบอาหารที่ชาวญี่ปุ่นคุ้นเคยและชื่นชอบอยู่แล้ว เช่น เห็ดหอม สาหร่าย เต้าหู้ พัฒนาสินค้าอาหารที่ช่วยบำรุงด้านสายตา เช่น มีส่วนผสมสารสกัดจากผักบุ้ง แครอท ตำลึง คะน้า ฟักทอง และกลุ่มที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิวพรรณ เสริมสร้างคอลลาเจนและสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น มะพร้าว ส้ม มะนาว ทับทิม กล้วย มะเขือเทศ เป็นต้น

นอกเหนือเราจะส่งพืชผักของไทยไปเจาะตลาดญี่ปุ่นแล้วในทางกลับกัน ขณะนี้เริ่มมีนักธุรกิจญี่ปุ่นมาส่งเสริมคนไทยปลูกผักญี่ปุ่นเพื่อส่งกลับไปตลาดญี่ปุ่นซึ่งญี่ปุ่นมีปัญหาในเรื่องพื้นที่เพาะปลูกมีน้อย ไม่สามารถปลูกได้เพียงพอกับความต้องการ

ตอนนี้พืชที่ญี่ปุ่นส่งเสริมมี “คัมเปียว” หรือน้ำเต้าญี่ปุ่น บางคนก็เรียก”ฟักญี่ปุ่น” อีกชนิดที่กำลังส่งเสริมคือแตงกวาญี่ปุ่นเป็นต้น เพื่อใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบที่ชาวญี่ปุ่นนำมาประกอบอาหารประเภทต้ม, ผัด, ยำ และนิยมนำไปต้มกับน้ำ, โชยุ, สาเก และน้ำตาลเพื่อทำเป็นไส้ซูชิที่ชื่อ คัมเปียวมากิ

สำหรับสรรพคุณ มีแคลเซี่ยม, โพแทสเซี่ยม และกากใยอาหารสูง ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก อีกทั้งดูดซึมของเสียที่อยู่ในไตและยังช่วยกระตุ้นให้ขับออกมาทางปัสสาวะ มีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายไหลเวียนดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่รักสุขภาพต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้สูงอายุ

ตอนนี้มีการส่งเสริมให้ปลูกพื้นที่หลายจังหวัด ทางแถบภาคอีสาน ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง เป็นพืชอีกชนิดที่มีอนาคตไกลในตลาดญี่ปุ่น

จะเห็นว่าการเตรียมตัวรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนงานวิจัยสินค้าอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ทั่วไป  เป็นสินค้าอาหาร ชนิดเดียวกันกับผู้บริโภคในวัยอื่นแต่เพิ่มคุณสมบัติบางประการที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ อาทิ หากเป็นเนื้อสัตว์ สับให้ละเอียดหรือต้มให้เปื่อย เพื่อให้เคี้ยวหรือกลืนได้ง่าย ส่วนเนื้อปลาควรเอาก้างออกให้หมด นอกจากนั้นควรบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เปิดสะดวกนํามาปรุง หรือรับประทานได้ง่าย แต่ควรปรับลดขนาดปริมาณสินค้าลง เนื่องจากผู้สูงอายุมักรับประทานอาหาร แต่ละมื้อในปริมาณน้อยลง


สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ สินค้าอาหารจึงมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมจากอาหารสำหรับผู้สูงอายุทั่วไป อาทิ ซุปที่มีน้ำตาลน้อยเหมาะกับผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน เนยเทียมที่ช่วยลดคลอเรสเตอรอล และอาหารที่มีโซเดียมต่ำสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นความดันสูงเป็นต้น มาพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

เหนือสิ่งใดคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ นั่นคือ เรื่องคุณภาพสินค้า ต้องได้มาตรฐาน มีความสะอาดตามหลักสุขภาพอนามัยซึ่งคนญี่ปุ่นเคร่งครัดเรื่องเหล่านี้มาก

ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยสนใจเข้าสู่ตลาดอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ผู้ประกอบการต้องไปลงลึกศึกษา และลงมือปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นท่านอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และกลายเป็นผู้ประกอบการสูงอายุที่มีแต่ความเสื่อมถอยแทน
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
105 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
635 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
536 | 10/04/2024
อนาคต “วัตถุดิบอาหารไทย” ในตลาดผู้สูงอายุญี่ปุ่น