แกะรอย ‘ซัยโจเดนกิ’ จาก”OEM”สู่แอร์แบรนด์ไทยแท้

SME in Focus
01/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2119 คน
แกะรอย ‘ซัยโจเดนกิ’ จาก”OEM”สู่แอร์แบรนด์ไทยแท้
banner
ยิ่งนับวันอากาศเมืองไทยร้อนขึ้นเรื่อยๆ “เครื่องปรับอากาศ” จึงกลายเป็นสินค้าจำเป็น เป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคจะขาดไม่ได้นับวันจะเป็นสินค้าขายดี ถ้าไม่นับ แบรนด์ใหญ่จากญี่ปุ่นที่ครองตลาดแอร์เมืองไทยมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ‘ซัยโจเดนกิ’ ก็เป็นอีกแบรนด์ที่หลายคนนึกถึงและรู้จักกันดี

น่าแปลกที่คนไม่น้อยคิดว่าเป็น แบรนด์ญี่ปุ่น” แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนก่อตั้งคือคนไทยที่ชื่อ “สมศักดิ์ จิตติพลังศรี” ส่วนความหมาย ซัยโจ” แปลว่าดีที่สุด ส่วน “เด็นกิ” แปลว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อรวมสองคำนี้เข้าด้วยกันหมายถึง “เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีที่สุด” 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

ย้อนประวัติความเป็นมาเดิมทีครอบครัวของสมศักดิ์ทำธุรกิจขายข้าวสารและค้าปลีกด้วยความคิดที่ว่าเมืองไทยอากาศร้อนขึ้นทุกวัน ต่อมาจึงหันมาผลิตแอร์ในรูปแบบ รับจ้างผลิต” (OEM= Original Equipment Manufacturer คือ การรับจ้างผลิตสินค้าหรือชิ้นส่วนให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ผู้จ้างกำหนด )เมื่อราว 40 ปีก่อนโดยที่ไม่มีเทคโนโลยีใดๆมาสนับสนุน ท้ายสุดธุรกิจไปไม่รอด ครอบครัวต้องเป็นหนี้ 30 ล้านบาท

ในครอบครัวไม่มีใครที่พอจะช่วยกู้วิกฤตได้ ความรับผิดชอบจึงตกอยู่กับสมศักดิ์ ทั้งที่ไม่มีความรู้ด้านแอร์ ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีเงิน ไม่มีเครดิต สมศักดิ์ซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ปี 3 นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ต้องเจรจากับเจ้าหนี้นอกระบบเพื่อขอเวลาทำงานหาเงินใช้หนี้ ครั้นเริ่มเคลียร์เจ้าหนี้ เริ่มเคลียร์ซัพพลายเออร์ เพื่อให้เขาปล่อยสินค้าให้ ต้องใช้เวลาเกือบ 4 ปีถึงจะชำระหนี้ได้หมด

จากนั้นก็เดินหน้าทำธุรกิจ จ้างผลิตแอร์” เต็มตัวแต่คราวนี้มีบทเรียนจากความผิดพลาดในอดีตจึงมีการวางแผนอย่างรัดกุม มีลูกค้าเป็นแบรนด์เครื่องปรับอากาศอย่าง ยอร์ค, แคเรียร์ และองค์กรหลายแห่ง เช่น กรมการปกครอง, กระทรวงการคลัง, โรงแรมในเครือดุสิตธานี เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการขาดเทคโนโลยีและโนว์ฮาว กลายเป็นสิ่งที่หลอกหลอนเขาตลอดหลายปีจึงต้องเร่งหาเทคโนโลยีมาสนับสนุน เขาคิดว่าหากจะทำธุรกิจแอร์ให้โตแบบมั่นคง ก็จำเป็นต้องอาศัยโนว์ฮาวของญี่ปุ่นเพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นมีคุณภาพสูงและทนทาน จึงมีความคิดเปลี่ยนธุรกิจจากรับจ้างผลิต มาเป็นการผลิตแอร์ที่เป็น “แบรนด์” ของตัวเอง

ดังนั้น เขาจึงเดินทางไปโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าพบเจ้าของบริษัท เด็นกิ-โชจิ (Denki-Shoji) บริษัทจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีทั้งบารมีและคอนเน็คชั่นกว้างขวางในกลุ่มผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศและผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศของญี่ปุ่น


ปรากฏว่า ทั้งคู่คุยกันถูกคอประกอบกับมีวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจตรงกัน เจ้าของบริษัท เด็นกิ-โชจิ ก็ตกลงร่วมมือกันสร้างแบรนด์เครื่องปรับอากาศ “ซัยโจ เด็นกิ” จึงถือกำเนิดในปี พ.ศ.2530 ที่เมืองโอซาก้า หลังจากทำธุรกิจร่วมกันมาประมาณ 10 ปี หุ้นส่วนญี่ปุ่น ไม่มีทายาทสานต่อจึงตัดสินใจถอนตัว ไม่ทำธุรกิจนี้แล้ว แบรนด์ “ซัยโจ เดนกิ” จึงเป็นของคนไทย 100%

อย่างไรก็ตามนับวันการแข่งขันรุนแรงขึ้น ทั้งแบรนด์ญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าตลาดเดิม และแบรนด์เกิดใหม่ของไทย จีน เกาหลี ต่างใช้วิธีขายตัดราคา ดังนั้นซัยโจเดนกิจึงเลือกจะสร้างความแตกต่าง ด้วยการปั้นแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในคุณภาพ และนวัตกรรมที่พิเศษยิ่งกว่าเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด หนึ่งในนวัตกรรมชิ้นเอกของซัยโจเดนกิ ได้แก่ การนำเชื่อมต่อเครื่องปรับอากาศกับการใช้งานอินเตอร์เน็ต ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยริเริ่มทำตั้งแต่ก่อนกระแส IoT จะบูมอย่างในปัจจุบัน

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว การนำอินเตอร์เน็ตมาอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเริ่มเป็นที่ถูกกล่าวถึงกันบ้างแล้ว แต่หากคิดเชื่อมอินเตอร์เน็ตแค่เปิดปิดแอร์ ใครๆ ก็ทำได้ ซัยโจ เดนกิ จึงคิดนวัตกรรมเชื่อมแอร์กับอินเตอร์เน็ตโดยนำปัญหาการใช้งานของลูกค้ามาเป็นตัวตั้ง จึงพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ภายในแอร์ได้เองกว่า 30 รายการ ผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน รวมถึง ตรวจสอบค่าไฟฟ้าได้เป็นรายชั่วโมงและรายวัน อีกทั้ง มีหมวดประหยัดไฟ ติดตั้ง GPS ควบคุมการเปิดปิด และกำหนดอุณหภูมิได้จากทุกสถานที่ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ รวมถึง มีสัญญาณเตือนเปิดปิดแอร์ ในระยะทาง 3 กิโลเมตรรอบรัศมีของตัวแอร์

ซัยโจเดนกิ

ด้วยนวัตกรรมนี้ ประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจ จนต้องสั่งนำเข้า ทำให้ “ซัยโจเดนกิ” เป็นผู้ผลิตแอร์ไทยรายแรกที่ส่งสินค้าไปขายที่ญี่ปุ่นได้ นอกจากนั้น การมีนวัตกรรมแปลกใหม่ ยังก่อประโยชน์ทางอ้อม

หัวใจในการสร้างนวัตกรรมของซัยโจ เดนกิ มุ่งไปที่ 3 ประเด็นหลัก คือ 1.ด้านสุขภาพ 2.ความประหยัด และ3.ทันสมัยเข้ากับเทรนด์โลกยุคใหม่ โดยก่อนจะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ใดๆ ก็ตาม จะสำรวจก่อนว่า เวลานั้น ผู้บริโภคต้องการสิ่งใดบ้าง และมีสินค้าใดที่ดีสุดในตลาด เพื่อจะพัฒนาให้ดียิ่งกว่าคู่แข่งอย่างน้อย 2-3 เท่าตัว เพื่อดักรอโอกาสของตลาดในอนาคต

นี่คือกลยุทธ์ที่จะคนตัวเล็กๆจะสู้ยักษ์ใหญ่ได้ คือ วิ่งให้เร็วกว่า ดักรอสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้ อย่างเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซัยโจเดนกิ เริ่มจากพัฒนาแอร์เพื่อจับเทรนด์ “สุขภาพ” โดยพัฒนาแผ่นฟอกอากาศพิเศษ ซึ่งทุกวันนี้ เรื่องสุขภาพกลายเป็นเทรนด์ฮิต หรือเมื่อหลายปีก่อน เทรนด์ “IoT” (Internet of Things) จะมาแรง ซัยโจ เดนกิ จึงรีบพัฒนานวัตกรรมเชื่อมอินเตอร์เน็ตกับแอร์ฯ เพื่อส่งสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดก่อนรายใหญ่ ควบคู่กับจดสิทธิบัตรไว้ก่อน

ขอบคุณภาพ http://www.saijo-denki.co.th
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
220 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
406 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1360 | 01/04/2024
แกะรอย ‘ซัยโจเดนกิ’ จาก”OEM”สู่แอร์แบรนด์ไทยแท้