ห่วงโซ่อุปทานยางพารา ...สวรรค์ของผู้ซื้อ (ตอนจบ )

SME Update
05/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3094 คน
ห่วงโซ่อุปทานยางพารา ...สวรรค์ของผู้ซื้อ (ตอนจบ )
banner
เคยสงสัยมั้ยว่าใครกันที่จะซื้อยางเก็บไว้เป็นสต็อกยางโลกได้มากมาย จากตัวเลขสต๊อกยางโลกในปัจจุบันที่มีถึง 3.5 ล้านตันนั้น มันมาจากไหน โดยสต็อกยางที่ใช้พิจารณากันในปัจจุบัน คือสต็อกยางเมืองชิงเต่า (Qingdao) เนื่องจากเป็นเมือง ที่นําเข้ายางมากที่สุดและเป็นฐานสําคัญในการผลิตล้อยาง โดยมาจากการซื้อขายในตลาดส่งมอบจริง นอกจากนี้คือ สต็อกยางตลาดเซี่ยงไฮ้  และสต็อกยางตลาดญี่ปุ่น ซึ่งรายงานในข้างต้น ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็น ‘สต็อกลม’ เพราะยังเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้า

เพราะแม้ข้อมูลของ International Rubber Study Group (IRSG) จะพบว่าสต็อกยางของทั้งโลกในปัจจุบัน มีปริมาณเพิ่มสูงถึง 3.5 ล้านตัน และมีแนวโน้มในอนาคตก็ยังคงเพิ่มขึ้น แต่เห็นได้ว่าสต๊อกที่ชิงเต่าคือของจริง แต่ที่เซี่ยงไฮ้กับญี่ปุ่นคือสต๊อกลมของพ่อความคนกลาง ที่สต๊อกผ่านการซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งอย่างที่เรียนไว้ในข้างต้นว่าสัญญาซื้อขายมันไม่ค่อยจะจริงจังนัก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

ยางสังเคราะห์

อะไรคือ สต๊อกจริง ก่อนอื่นเราเข้าใจคำว่าสต๊อกหรือการสำรองของไว้ใช้ให้ตรงกันก่อน ที่ชิงเต่าคือการสำรองยางไว้ใช้นั่นเรียกว่าสต๊อก ยางที่รอขายนั้นเรียกว่าสต๊อกชั่วคราว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พ่อค้า ผู้รับซื้อต่างประเทศ จะทราบราคาผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า ขณะเดียวกัน ก็ศึกษาการระบายออกของสินค้ายางพาราของประเทศในแต่ละช่วงทำให้ทราบว่าในแต่ละประเทศสามารถผลิตยางได้ในปริมาณเท่าไหร่ การมียางในโกดังมากๆ เป็นผลให้เกิดต้นทุนการดูแลรักษาสภาพไม่ให้เสียหาย นี่ก็นับเป็นการสต๊อกที่ไม่ตั้งใจสต๊อก หรือเป็นสต๊อกระยะสั้นๆ  แต่ในความหมายของผู้ซื้อนั่นคือสต๊อกในอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากประเทศที่ซื้อยางไปเก็บไว้รอป้อนในอุตสาหกรรมยางล้อ

ที่ชิงเต่าจึงเป็นตัวอย่างสต๊อกที่เด่นชัด นอกเหนือจากนั้นผู้เขียนขอยกให้เป็นสต๊อก ‘มโน’ ของผู้ซื้อและหน่วยงานที่ปั้นตัวเลขสต๊อกโลกขึ้นมา เพราะเป็นเพียงการสำรวจปริมาณยางที่ผลิตได้ในแต่ละประเทศ และการรอระบาย โดยการคำนวณแบบตีขลุมจนเกินไปทำให้เกิดภาพดีมานดิ์ยางล้นตลาด แต่ถ้าจะบอกว่าปริมาณการผลิตยางทั่วโลกกับ ปริมาณความต้องการใช้ยางมีสัดส่วนที่เกือบจะให้เคียงกัน ทำให้เกิดการเก็บรักษารอส่งขายอันนี้น่าจะเหมาะสมและเป็นตัวเลขที่พิสูจน์ได้มากกว่า ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเฉพาะในประเทศไทยมียางคงค้างรอระบายอยู่ไม่น้อย แต่มีอย่างที่ไหน เอาตัวเลขในตลาดซื้อขายล่วงหน้ามาตีขลุมค่าเป็นยางในสต๊อก ชื่อมันก็บอกชัดเจนว่าล่วงหน้า

ยางสังเคราะห์ ผู้กำหนดราคายางในอนาคต 

ปัจจุบันความต้องการใช้ยางสงเคราะห์ เป็นสินค้าทดแทนยาง ธรรมชาติในการปรับสัดส่วนการผลิตในอุตสาหกรรม ยางและผลิตภัณฑ์ยาง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในการผลิตสินค้าบางชนิดจะมีการใช้ยางสังเคราะห์เป็น สินค้าทดแทนยางธรรมชาติเช่น ล้อยางรถยนต์แต่ ยางสังเคราะห์ไม่สามารถทดแทนยางธรรมชาติได้ สมบูรณ์ เนื่องจากยางธรรมชาติมีคุณสมบัติความ ยืดหยุ่นที่ดีกว่า ดังนั้นความต้องการใช้ยางธรรมชาติ ของโลกจะยังคงมีอยู่ เนื่องจากยางสังเคราะห์เป็นสินค้าทดแทน ยางธรรมชาติดังนั้นราคาจึงมีความสัมพันธ์ไปใน ทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็น วัตถุดิบตั้งต้นมีราคาสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตยาง สังเคราะห์ก็สูงขึ้นตาม เมื่อยางสังเคราะห์ราคาสูงขึ้นมาก ผู้ใช้ยางสังเคราะห์จะปรับเปลี่ยนมาใช้ยาง ธรรมชาติมากขึ้นส่งผลให้ราคายางธรรมชาติสูงขึ้น ตามปริมาณความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

นั่นมันข้อมูลในอดีต และกำลังจะล้าสมัย เพราะในปัจจุบันตลาดยางสังเคราะห์ได้รับความนิยมมากทั้งแบบที่สามารถทดแทนการใช้ยางธรรมชาติ และแยกตลาดเป็นยางสังเคราะห์แบบเฉพาะเจาะจงที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากยางธรรมชาติ ทั้งยังมีหลายชนิดให้เลือกเหมาะกับการใช้งานหลากหลายประเภท ตั้งแต่การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ใช้ผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์ หรือใช้ทำชิ้นส่วนแม่พิมพ์ และสายพานในเครื่องจักร รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาเติมเต็มยางสังเคราะห์ให้แยกตัวจากตลาดยางธรรมชาติโดยไม่พักต้องอ้างอิงราคาน้ำมันหรือราคายางอีกต่อไป แต่ยังไม่ใช่สิ่งทดแทนยางธรรมชาติที่ให้คุณสมบัติที่เหมือนกัน แต่มีข้อดีคนละอย่าง

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้มากว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตลาดยางสังเคราะห์ ยางธรรมชาติ จะเป็นเอกเทศมากขึ้น และประการสำคัญราคาน้ำมัน จะส่งผลกระทบต่อราคายางธรรมชาติน้อยมาก จนแทบไม่สามารถตั้งเป็นสมมติฐานในการขึ้นลงของราคายางธรรมชาติในตลาดโลกได้


บทสรุปของการวิเคราะห์ ห่วงโซ่อุปทานยางพารา ในที่นี้ เพื่อไขข้อสมติฐานในการสร้างสมดุลราคายางพาราสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศ ว่ามันไม่ง่ายเลยกับบริบทที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้ แนวทางเดียวของไทยในการไม่ต้องแข่งขันในตลาดยางโลกคือการผลิตเพื่อใช้เองในประเทศ เน้นการแปรรูป และสร้างมาตรฐานสินค้าวัตถุดิบยางในสูงขึ้น เพื่อการเป็นมหาอำนาจด้านผู้ผลิตยางของโลกตัวจริง

 

อ้างอิง : ธนาคารแห่งประเทศไทย

: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

: International Rubber Study Group (IRSG)

: http://rubber.oie.go.th

Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1059 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1406 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1681 | 25/01/2024
ห่วงโซ่อุปทานยางพารา ...สวรรค์ของผู้ซื้อ (ตอนจบ )