ไทยรับไม้ต่อประธานอาเซียนปี 2562

SME Go Inter
25/06/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 2005 คน
ไทยรับไม้ต่อประธานอาเซียนปี 2562
banner
ไฮไลท์ :

ในปี 2562 ไทยจะต้องรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประธานในปี 2561 ทางรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน เตรียมความพร้อมด้านสารัตถะ ด้านพิธีการและอำนวยการ ด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจร และด้านประชาสัมพันธ์ สำหรับการจัดการประชุมที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนซึ่งคาดว่าจะมีทั้งหมด 7 ครั้ง ในระดับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่อาวุโส ระดับรัฐมนตรี และผู้นำประเทศ

ส่วนประเด็นสำคัญที่จะมีการนำมาหารือ เบื้องต้น คาดว่าจะเป็นประเด็นการขอให้สมาชิกอาเซียนผลักดันการสร้างความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) การพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น เนื่องจากประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ตอบโจทย์แนวโน้มของโลก ช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการค้า และช่วยเหลือผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของอาเซียนได้

 

----------------------------------------------------------------------

ตลาดอาเซียนเป็นตลาดสินค้าอันดับ 1 ของไทย คิดเป็นสัดส่วน 25% ของการส่งออก ซึ่งจนถึงขณะนี้ผ่านมาเกือบ 3 ปี หลังจากที่ “อาเซียน” ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนฯ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ได้เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558

 

สมาชิกอาเซียนได้จัดทำแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนฉบับใหม่ขึ้น ที่เรียกว่า AEC Blueprint 2025 เพื่อเป็นพิมพ์เขียวทิศทางการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน 10 ปี ( 2559-2568) โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการรวมกลุ่มอาเซียน เพื่อรับมือประเด็นความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน

 

มูลค่าการค้าไทย-อาเซียน


เป็นที่ทราบกันดีว่าในแต่ละปี ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีการจัดการประชุมหารือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานของอาเซียนไปสู่เป้าหมาย AEC Blueprint 2025  การเป็นประชาคมที่มีความเชื่อมโยง สมาชิกมีการรวมตัวกันอย่างแน่นแฟ้น มีความสามารถในการแข่งขัน มีนวัตกรรม และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยสมาชิกอาเซียนจะผลัดกันทำหน้าที่เจ้าภาพจัดการประชุมในแต่ละปี ซึ่งในปี 2561 ทางสิงคโปร์รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ

 

และในปี 2562 เป็นวาระที่ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ ซึ่งทางรัฐบาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้เริ่มดำเนินการเตรียมความพร้อมไทยเพื่อรับไม้ต่อจากสิงคโปร์ โดยได้มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน เพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยปกติอาเซียนจะมีการประชุมในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Economic officials Meeting ) ระดับรัฐมนตรี  (ASEAN Economic Ministers)  และผู้นำประเทศ (ASEAN Summit)

 

พร้อมกันนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อดำเนินการเตรียมการ ประกอบด้วย ด้านสารัตถะ ด้านพิธีการและอำนวยการ ด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจร และด้านประชาสัมพันธ์
 

สำหรับประเด็นการหารือด้านเศรษฐกิจ มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์  เตรียมการเพื่อไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2562  ประกอบไปด้วยการประชุมทั้งหมด 7 ครั้ง
 

การเตรียมการขณะนี้ทางนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อกำหนดประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ไทยต้องการผลักดันหรือให้เกิดผลลัพธ์ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 โดยมีนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธาน ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวม 33 หน่วยงาน โดยได้หารือเบื้องต้นไปแล้ว เตรียมจะกำหนดแนวคิดการประชุม (Theme) เพื่อเสนอให้อาเซียนร่วมกันผลักดันให้มีความคืบหน้าหรือประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการระดับชาติฯ พิจารณาอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม คณะทำงานได้มีการประชุมกันไปบ้างแล้วเพื่อเตรียมเสนอประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เห็นควรให้ไทยผลักดันในเวทีอาเซียน ซึ่งประเด็นที่เห็นว่ามีความสำคัญและน่าจะผลักดันให้เกิดประโยชน์ร่วมในอาเซียน เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) การพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น เนื่องจากประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ตอบโจทย์แนวโน้มของโลก ช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการค้า และช่วยเหลือผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของอาเซียนได้

 

สำหรับการเตรียมการประชุมอาเซียนซึ่งจะมีทั้งหมด 7 ครั้งในปี 2562 ประกอบด้วย

1) การประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister: AEM) 2 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการภายใต้แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 (AEC Blueprint 2025) และมอบนโยบายการทำงานของอาเซียน ขณะเดียวกัน AEM จะหารือกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ในช่วงก่อนหรือหลังการประชุม AEM ด้วย ทั้งนี้ ในปัจจุบันอาเซียนมีประเทศคู่เจรจาถึง 11 ประเทศ ที่มีการพบปะหารือกันเป็นประจำทุกปี ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหภาพยุโรป

 

2) การประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration: HLTF-EI) 2 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียน และมีข้อเสนอแนะระดับนโยบายให้ AEM พิจารณา

 

3) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Economic Official Meeting: SEOM) 3 ครั้ง ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนแผนงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียนให้บรรลุผลตาม AEC Blueprint 2025 โดยกำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการรายสาขาต่างๆ

 

ทั้งนี้เป็นที่น่าจับตามองว่าการเป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซียนของไทยในปี 2562 จะสามารถผลักดันประเด็นการดำเนินงานต่างๆในอาเซียนให้คืบหน้าตามแผน ASEAN Blueprint 2025 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิก เผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจโลกได้หรือไม่

ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน

เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในย่านอาเซียน 9 สาขาใน 10 ประเทศ เพื่อให้บริการท่านสนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2 สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ อีเมล: AECconnect@bbl.co.th สายด่วน1333

 

 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6059 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1936 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4914 | 23/10/2022
ไทยรับไม้ต่อประธานอาเซียนปี 2562