เตรียมการอย่างไรให้ลูกยอมรับช่วงธุรกิจต่อ

SME in Focus
24/05/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1975 คน
เตรียมการอย่างไรให้ลูกยอมรับช่วงธุรกิจต่อ
banner
80 เปอร์เซ็นของผู้ประกอบการไทยดำเนินธุรกิจในรูปแบบ ธุรกิจครอบครัว เป็นรูปแบบการส่งต่อสืบทอดกิจการจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในปัจจุบันดำเนินธุรกิจมาถึงรุ่นที่  2 เราเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Baby Boomer (อายุ 53-71) และเตรียม ‘ส่งไม้ต่อ’ ให้ทายาทธุรกิจรุ่นที่ 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Gen Y หรือคนที่มีอายุช่วง  20-37  ปี  ดูเหมือนเป็นการสืบทอดทายาทที่ดูดีมีชาติตระกูล เรียนจบมาก็ไม่ต้องไม่สมัครงานที่ไหน สานต่อธุรกิจของครอบครัว ให้เจริญรุ่งเรื่องสืบไป

ภาพชินตาในละครที่เรามักเห็นภาพพระเอกในทำนองนี้สืบทอดกิจการ เจออุปสรรคต่างๆ นานา ยากบ้าง ไม่ยากบ้าง สุดท้ายผ่านไปได้ด้วยดี ครอบครัวแฮปปี้ ชีวีสุขสันต์ ...จบ


แต่ในบางส่วนของความจริง ความซับซ้อนในการสืบทอดธุรกิจครอบครัว มันมีหลากหลายแง่มุม และแน่นอนมันไม่ได้ง่ายหรือจบสวยเสมอไป เพราะแม้แต่ในละคร บางครั้งพระเอกก็จะติสท์ๆ หน่อย ไม่อยากทำธุรกิจของครอบครัวซะอย่างนั้น และแน่นอนว่าพล็อตเรื่องแบบนี้ พระเอกของเราย่อมมีความฝันที่ยิ่งใหญ่เป็นของตัวเอง แต่สุดท้ายตอบจบก็ยังสามารถทำทั้งความฝันและบริหารธุรกิจครอบครัวควบคู่กันไปได้

แหม...อยากรู้นักถ้าคนเขียนบทมันติสท์ด้วยจะเกิดอะไรขึ้น !!!

ขณะที่ความจริงอีกด้าน การสืบทอดกิจการครอบครัวมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ว่าที่ทายาทธุรกิจหลายๆ คน จะมีความกดดันมาก ทั้งความคาดหวังของครอบครัว กลัวทำไม่ได้ดี ภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในปัจจุบันมีมากมาย จนบางครั้งทายาทธุรกิจเองก็ไม่ได้อยากเป็นทายาท จนสุดท้ายธุรกิจก็รวยรินอยู่แค่ 2 รุ่น เพราะรุ่นที่ 3 ไม่สามารถรับช่วงต่อได้ด้วยเหตุผลต่างๆ  เช่น  มีความฝันในอาชีพอื่น , เห็นภาพรุ่นพ่อแม่วุ่นวายเลยไม่อยากทำต่อ , เรียนมาไม่ตรงสาย , ไม่มีเพื่อน ไม่มีสังคมในธุรกิจ ,อยากทำธุรกิจของตัวเองที่แตกต่างจากของครอบครัว หรือแม้แต่ เห็นว่าประเภทของธุรกิจที่บ้านน่าจะไปไม่รอด ประเด็นเหล่านี้ แน่นอนว่าเตรียมขายกิจการและกำตังไปเที่ยวรอบโลกตอนเกษียณได้เลย ...ลูกๆ ไม่เอาด้วยแน่ๆ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

 ธุรกิจครอบครัว

ต้องเตรียมการอย่างไรให้ลูกยอมรับช่วงธุรกิจต่อ

เริ่มต้นเลยเตรียมบริษัทให้ดูดี มีชาติตระกูลหน่อย จากนั้นก็อาจจะมีการปรับพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกันก่อน...ว่าเอาแน่ใช่มั้ย แล้วค่อยไปเสริมด้านความรู้ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างวัยที่คนทั้งสองเจนจะต้องมีจุดร่วมเดียวกันให้ได้ การพูดคุยกันภายในครอบครัวในเรื่องการรับช่วงต่อธุรกิจครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าลูกเอาด้วยก็จบ หน้าที่ต่อไปคือการสานความรู้ให้ตรงสายและสร้างคอนเน็คชั่นให้ลูกๆ เช่นพาออกงาน พบปะเพื่อฝูงนักธุรกิจบ้างตามสมควร ให้ทดลองทำงานในหน้าที่ต่างๆ ที่ทำได้และเหมาะสม

แต่ถ้า ‘ว่าที่ทายาท’ ของเรายังไม่รู้เป้าหมายของตัวเอง หรือยังไม่อยากไม่เล่นด้วย เรื่องนี้อาจต้องให้เวลาระยะหนึ่ง บางครั้งได้ผล บางครั้งก็ไม่ ที่สำคัญการเปิดรับสิ่งใหม่ก็จำเป็นในการส่งไม้ต่อธุรกิจเช่นกัน คุณก็รู้ ประสบการณ์ในแต่ละวัยมันต่างกัน ดังนั้นเปิดรับ กลั่นกรอง และคอยแนะนำจะเป็นการหาจุดร่วมของโปรเจ็กต์ปั้นทายาทรุ่น 3 ที่ดี

เมื่อปูพื้นฐานและหาจุดร่วมในเรื่องเดียวกันได้แล้ว ขั้นต่อไปในโปรเจ็กต์การปั้นทายาทรุ่น 3 เอาให้ปังๆ มันก็มีขั้นตอน ซึ่งทุกอย่างไม่เสมอไปอยู่ที่การปรับใช้ แต่ลองทำดูตามนี้ได้เช่น

ใจที่เปิดกว้าง : ธุรกิจครอบครัวควรส่งเสริมวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง โดยทำให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งส่งเสริมให้พวกเขาเหล่านี้สามารถเรียนรู้ หาประสบการณ์ที่มีคุณค่า และเปิดรับมุมมองใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

สื่อสาร สร้างสัมพันธ์ : เน้นคุยกันให้เคลียร์ ถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้นำรุ่นปัจจุบันและผู้นำรุ่นใหม่ต้องสื่อสารกันในลักษณะการสื่อสาร 2 ทาง เพราะจะนำไปสู่การสร้างสัมพันธ์ที่แท้จริงบนพื้นฐานของความเคารพและเชื่อใจกัน ทำให้เกิดการยอมรับในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

ความชัดเจน : ในที่นี้หมายถึงการกำหนดบทบาทที่ชัดเจน และแบ่งขอบเขตของหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกครอบครัวแต่ละคนโดยมีการตกลงกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่แพ้ประเด็นเรื่องของการสื่อสาร เพราะความชัดเจนจะช่วยทำให้การบริหารความสัมพันธ์และการจัดการทางอารมณ์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและเป็นหัวใจของการบริหารกิจการครอบครัว เป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น

ไว้ใจ : พยายามแยกแยะระหว่างคำว่าละเลยกับไว้ใจให้ออก ความไว้ใจ คือ การเชื่อถือ เชื่อมั่น ต่อว่าที่ทายาทธุรกิจของเรา ทั้งจำเป็นต้องให้มีการพิสูจน์เป็นที่ประจักษ์แต่สายตาคนรอบข้างหรือพนักงานในบริษัท จนได้รับการยอมรับและนับถือ เรื่องนี้แม้จะดูเหมือนไม่ยาก แต่ไม่ง่ายและละเอียดอ่อน ค่อยเป็น ค่อยไป อาจพังได้ เพราะความรู้สึกของคนเป็นเรื่องอ่อนไหว

ทุ่มเท : ทั้งสองฝ่ายทั้ง ว่าทีทายาทใหม่และผู้บริหารเกือบเก่า ต้องมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กันและกันในสิ่งที่ทำ ยิ่งในยุคสมัยนี้ ดิจิทัลมีบทบาทอย่างมาก ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็ว และอาจชี้วัดผลต่อธุรกิจได้เลย ดังนั้นต้อง ต้องเอาจริงเอาจังและพัฒนาตัวเองให้เกิดผลสำเร็จ

อย่างที่กล่าวในข้างต้น ไกด์ไลน์เหล่านี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จ เพราะความสำเร็จเริ่มต้นจากการลงมือทำ และหากคุณพยายามมันถึงที่สุดแล้ว ผลลัพธ์อาจเป็นเหมือนดั่งละครที่จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง...อวสาน
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
202 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
403 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1359 | 01/04/2024
เตรียมการอย่างไรให้ลูกยอมรับช่วงธุรกิจต่อ