“Urbanization 2024” ความท้าทายและโอกาสธุรกิจ เมื่อชนบทขยายสู่เมือง ตัวเร่งการขับเคลื่อนไทยสู่เศรษฐกิจใหม่

Mega Trends & Business Transformation
17/10/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 5712 คน
“Urbanization 2024” ความท้าทายและโอกาสธุรกิจ เมื่อชนบทขยายสู่เมือง ตัวเร่งการขับเคลื่อนไทยสู่เศรษฐกิจใหม่
banner
Urbanization  แปลตรงตัว คือ ความเป็นเมือง ซึ่งหมายถึง  กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงประชากร จํานวนคนที่อาศัยอยู่ในเมืองเติบโตเร็วกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท 

ข้อมูลองค์การสหประชาชาติ World Urbanization Prospects ปี 2014 ระบุว่า ปี 2007 เป็นปีแรกในประวัติศาสตร์ที่มีประชากรในเมืองมากกว่าประชากรชนบท และคาดการณ์ว่าในปี 2050 จำนวนประชากรที่อาศัยในเมืองจะมีมากขึ้น 66% ของประชากรโลกทั้งหมด โดยภูมิภาคเอเชีย  มีแนวโน้มเติบโตความเป็นเมืองในอัตราสูงสุดถึง 64% รองลงมาคือแอฟริกา 56% ส่วนยุโรปและอเมริกามีเพียง 7% เท่านั้น

‘การขยายตัวของเมือง’ ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์หลายด้าน แต่ยังส่งผลถึงคนทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจใหม่



โดยคนที่ย้ายไปอยู่ในเมือง มักจะมีรายได้สูงกว่าเกษตรกร ดังนั้น เมื่อประชากรในเมืองเพิ่มขึ้น จะนำไปสู่ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น เริ่มจากความต้องการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเมื่อประชากรในเมืองเพิ่มขึ้น แน่นอนว่ารัฐบาลต้องเริ่มวางแผนลงทุนโครงการงานสาธารณะขนาดใหญ่ ตั้งแต่ทางหลวงไปจนถึงสนามบิน และระบบขนส่งมวลชน ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้ ทําให้ประชากรเคลื่อนที่ได้มากขึ้น และช่วยให้ธุรกิจใหม่ สามารถวางตําแหน่งตัวเองตามเส้นทางการขนส่งที่จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย 

ไม่เพียงเท่านั้น การเพิ่มขึ้นของประชากรเมือง ยังนำมาสู่ความต้องการที่อยู่อาศัย โดยผู้คนจะมองหาสถานที่ที่จะใช้จ่ายเงินกับสินค้าคงทน เช่น บ้านและเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอาหาร  ดังนั้น ภาคธุรกิจใหม่ต้องติดตามการขยายตัวของ Urbanization เพื่อมองหาโอกาสในการทำธุรกิจในอนาคต  

สอดรับกับข้อมูลจาก PWC ประเมินกระแส Urbanization ว่า ในปี 2050 สัดส่วนประชากรโลกที่อาศัยในเมืองจะอยู่ที่ 72% เพิ่มจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนกว่า 50% ผู้คนย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่ด้วยสาเหตุ 5 ด้าน คือ 

1. Urbanization จะสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ  เพราะจะทำให้มีตำแหน่งงาน และอัตรารายได้ที่ดีกว่า ทั้งยังมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สามารถดูแลครอบครัวได้ดีกว่า

2. Urbanization  ทำให้เกิดการขยายการลงทุน โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ข้ามชาติ ที่กำลังมองหาฐานการลงทุน จะเลือกพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองมากกว่า เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ขนส่ง การเดินทางของพนักงาน รวมถึงยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ 

3. Urbanization  มีผลเชื่อมโยงต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคม เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อินเตอร์เน็ต ตลอดจนแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ การส่งอาหาร สินค้า รถสาธารณะ ซึ่งจะทำให้ผู้คนได้รับความสะดวกมากขึ้น 

4. Urbanization ทำให้จำนวนคนชั้นกลาง มีรายได้มากขึ้น และนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจ  

5. การขยายตัวของ Urbanization ทำให้เมืองขนาดกลางใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ผู้คนได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว และการพัฒนาของรัฐ เช่น นโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ  



ตัวอย่างเมืองใหม่ 

ปรากฎข้อมูลจาก https://helpfulprofessor.com/urbanization-examples/ ระบุถึง ตัวอย่างการเกิดเมืองใหม่  เริ่มมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1700-1799 แต่เฟื่องฟูในปี ค.ศ. 1800-1899 โดยเป็นผลมาจากอุตสาหกรรม 

ตัวอย่างการทําให้เป็นเมือง



- ลอนดอน: หนึ่งในเมืองแรก ๆ ที่สัมผัสกับความเป็นเมือง ระหว่างปี ค.ศ.1700 - 1800 โดยมีจำนวนประชากร เพิ่มขึ้น จาก 600,000 เป็น 1.1 ล้านคน จากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและโรงงาน  ทำให้เกิดความต้องการแรงงานอย่างมาก ผู้คนเริ่มย้ายไปลอนดอน เพื่อหางานทําในโรงงาน



- เม็กซิโกซิตี้ (Megacities): การขยายตัวของเมือง เป็นสาเหตุของการเติบโตของมหานคร เช่น โตเกียวเม็กซิโกซิตี้ และมุมไบ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ในเมืองดังกล่าว ผู้คนใช้ชีวิตอาศัยอยู่ใน (และเลี้ยงดูเด็ก ๆ ใน) อาคารอพาร์ตเมนต์สูง



- แอลเอและซิดนีย์ (ชานเมือง): หมายถึง การขยายตัวของพื้นที่ชานเมืองรอบเมือง ซึ่งนําไปสู่การพัฒนาของเขตมหานครขนาดใหญ่ เช่น Greater Los Angeles Area และ Greater Toronto Area (Hirt, 2007) อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ซึ่งการขยายตัวของเมืองทอดยาวเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อให้ผู้คนยังคงสามารถอาศัยอยู่ในบ้านที่ยืนได้ด้วยตนเองมากกว่าอพาร์ตเมนต์



- Shenzen (ศูนย์กลางเมืองฉุกเฉิน): การขยายตัวของเมือง สามารถเห็นได้ในการพัฒนาศูนย์กลางเมืองใหม่ในประเทศจีน เช่น เซินเจิ้นและกวางโจว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน



- Medellin (การตั้งถิ่นฐานอย่างไม่เป็นทางการในระหว่างการทําให้เป็นเมือง): การขยายตัวของเมือง ยังสามารถทําให้เกิดการตั้งถิ่นฐานอย่างไม่เป็นทางการ สิ่งที่เราอาจเรียกว่า 'สลัม' การตั้งถิ่นฐานเหล่านี้ มักเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง หรือการจัดการประชากรที่ไม่ดีนักของรัฐบาลท้องถิ่น


 
- โซลและสิงคโปร์ (เมืองอัจฉริยะ): "เมืองอัจฉริยะ" เป็นคําที่ใช้เรียกเมืองใหม่ที่นําเทคโนโลยีมาใช้ ช่วยจัดการด้านต่าง ๆ เช่น การจราจรและความปลอดภัยในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น



- นิวยอร์กซิตี้ (การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมในเมือง): การขยายตัวของเมืองยังนําไปสู่การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมใหม่ ตัวอย่างที่สําคัญ คือวัฒนธรรมเมืองในนิวยอร์กซิตี้นําไปสู่ดนตรีฮิปฮอป ซึ่งปัจจุบันถือเป็นแนวเพลงกระแสหลัก

และต่อมา ในช่วง ค.ศ. 1990-2000 มีการเกิดเมืองใหม่อย่างน้อย 19 เมือง อาทิ โตเกียว เซาเปาโล มุมไบ ธากา จาการ์ตา มะนิลา ลากอส และอิสตันบลู เป็นต้น   

สำหรับนิยามความเป็นเมืองนั้น จะดูจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งเกิดจากการย้ายถิ่นของประชากรในชนบทเข้าสู่เมือง หรือการเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติที่เป็นผลมาจากสัดส่วนของคนในวัยเจริญพันธุ์ (Mayhew,2015 และ McKinney& Schoch,2003) ซึ่งข้อดีข้อเสียโอกาสและอุปสรรคของ   Urbanization ประกอบด้วย 

ข้อดี

1. โอกาสทางเศรษฐกิจ: การกระจุกตัวของผู้คนในพื้นที่ที่สูงขึ้น สามารถช่วยให้ธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความหลากหลายมากขึ้น ทําให้บุคคลมีโอกาสในการทํางานและอาชีพมากขึ้น 

2. การเข้าถึงบริการ: ศูนย์กลางประชากรที่กระจุกตัวทําให้สามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพการศึกษาการขนส่งและศูนย์กลางความบันเทิงได้มากขึ้น สําหรับรองรับผู้คนจํานวนมากขึ้น 

3. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: เขตเมืองมีแนวโน้มที่จะเป็นสากลมากขึ้น ผู้คนจากหลากหลายภูมิภาคมารวมตัวกันเพื่อสร้างกลุ่มวัฒนธรรมที่หลอมรวม สิ่งนี้ช่วยให้สามารถเข้าถึงการแสวงหาทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่ยังสามารถส่งเสริมความอดทนและความเข้าใจ 

4. โครงสร้างพื้นฐาน: เขตเมือง มีแนวโน้มที่จะมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่า เช่น ถนนการขนส่งสาธารณะและระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากจําเป็นต้องให้บริการผู้คนในวงกว้าง
 
ข้อเสีย 

1. ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม: การทําให้เป็นเมืองมักนําไปสู่ความเข้มข้นของมลพิษและหมอกควันการตัดไม้ทําลายป่าของภูมิภาคโดยรอบเมือง และการรุกล้ำที่อยู่อาศัยของคนพื้นเมือง

2. การจราจรติดขัด: ความหนาแน่นของประชากรสูงในเขตเมือง อาจนําไปสู่การจราจรติดขัดซึ่งสามารถลดคุณภาพชีวิตได้ นักวางผังเมืองจําเป็นต้องแก้ไขปัญหานี้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะ

3. ค่าครองชีพที่สูงขึ้น: เขตเมืองมักมีค่าครองชีพสูงขึ้น เนื่องจากมีความต้องการสูงสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ได้สร้างแรงกดดันต่อต้นทุน โดยเฉพาะราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น 

4. ความรู้สึกโดดเดี่ยวจากการขาดสังคม (Lack of Community) ผู้คนมักรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่ออยู่ในเมืองใหญ่ เพราะอาจจะรู้สึกว่าตัวเอง ไม่สามารถปรับตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ 

 แน่นอนว่า อนาคตกระแส Urbanization จะยิ่งเติบโตมาก เร็ว และแรงขึ้น เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยิ่งทำให้เมืองในอนาคตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เศรษฐกิจโตไวขึ้น จูงใจให้คนย้ายสู่เมืองเพิ่มขึ้น และสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจหลายด้าน

ในส่วนประเทศไทย กระแส Urbanization ในอดีตจะวัดด้วยนิยาม คำว่า เทศบาล  ซึ่งไทยมี พ.ร.บ. เทศบาลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ดัชนีชีวัดจากการเติบโตหลาย ๆ ด้าน ทั้งเกษตร อุตสาหกรรม การค้า การสื่อสาร การแพทย์ การสุขาภิบาล และการศึกษาของประชาชน  

ระดับการวัดความเป็นเมือง (Degree of Urbanization) แบ่งจากอัตราส่วนของประชากร ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล เริ่มวัดเมื่อปี 2503  (1960) ซึ่งในขณะนั้นมีประชากร 26.2 ล้านคน เป็นประชากรในเทศบาล 3.27 ล้านคน หรือประมาณ 12.5% และทยอยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 2543 มีประชากร 60.9 ล้านคน ซึ่งเป็นประชากรในเขตเทศบาล 18.9 ล้านคน คิดเป็น 31% 

ยกตัวอย่างความเป็นเมือง เช่น เมืองหาดใหญ่ เริ่มต้นสร้างทางรถไฟและสถานีชุมทางรถไฟอู่ตะเภา เมื่อปี 2452 ซึ่งมีการพัฒนาเรื่อยมา เมืองเชียงราย ได้รับการการตั้งเป็นเทศบาล เมื่อปี 2478  มีการสร้างอากาศยานเมื่อปี 2485 เป็นต้น 



แน่นอนว่ามีธุรกิจหลายกลุ่มในประเทศไทย ที่ได้ประโยชน์จากกระแส Urbanization  อาทิ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าในรูปซื้อขาดหรือให้เช่า จะเพิ่มขึ้น  ธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง ทั้งกีฬา ธรรมชาติ สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ

โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพเฉพาะด้าน เช่น ออฟฟิศซินโดรม ธุรกิจขนส่ง การค้าอี-คอมเมิร์ช  ธุรกิจร้านกาแฟ โคเวิร์คกิ้งสเปซ และธุรกิจเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องประดับ นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจเฉพาะกลุ่มด้านอื่น ๆ  เช่น ธุรกิจจัดหางาน ธุรกิจแม่บ้าน  ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ธุรกิจเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ เป็นต้น 

ยกตัวอย่าง เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มเซ็นทรัลค้าปลีกรายใหญ่ของไทย “วัลยา จิราธิวัฒน์” กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า Urbanization การพัฒนาเมืองรองต่าง ๆ จะเป็นกำลังหลัก ช่วยกระจายความเจริญ และ พลิกฟื้นเศรษฐกิจ ช่วยเพิ่มการจ้างงาน สร้างอาชีพ  และ รายได้ ทั่วประเทศ ในปี 2566 

พร้อมทั้งระบุว่า สิ่งที่บริษัทกำลังดำเนินการ คือ การขยายธุรกิจไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแห่ง เพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 อัตรา ตามแผน 5 ปี จะเกิดเม็ดเงินกระจายสู่ท้องถิ่นมหาศาล และดึงศักยภาพของแรงงานใหม่ ๆ รวมถึง ช่วยเหลือ สร้างโอกาสเติบโตให้กับกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ผ่านการให้พื้นที่ค้าขาย กระตุ้นการเชื่อมโยงแบรนด์เล็กพบปะกับแบรนด์ใหญ่ ให้เติบโตไปพร้อมกัน นอกจากนี้ บริษัทยังมีความตั้งใจ อยากชวนพันธมิตรและธุรกิจรายย่อยของไทย เติบโตไปพร้อมกันในระดับโลก 

แต่อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่ง ความท้าทายของกระแส Urbanization หลังจากมีจำนวนคนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการการขนส่งเพิ่มขึ้น การก่อสร้างเพิ่มขึ้น ก็อาจจะนำปัญหาด้านมลพิษอากาศ อย่างฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เพิ่มสูงขึ้นตามด้วย นอกจากนี้ การเกิดเมืองใหม่ทำให้เกิดการแย่งชิงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่าง ๆ นำมาสู่ปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้น ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนตามมาเสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ กลายเป็นโจทย์หลักของนักการตลาดในยุคดิจิทัล หากเจาะลึกลงไปจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดการดิสรัปด้านเทคโนโลยีรอบนี้…
pin
4203 | 10/04/2024
5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

ประเพณีสงกรานต์ของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สนับสนุนให้ “สงกรานต์” เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์เทศกาลระดับโลก…
pin
4193 | 10/04/2024
5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

การดูแลสุขภาวะที่ดีกำลังเป็นโจทย์สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย “ (Aged Society) โดยมีข้อมูลพบว่าตั้งแต่ปี…
pin
1057 | 25/03/2024
“Urbanization 2024” ความท้าทายและโอกาสธุรกิจ เมื่อชนบทขยายสู่เมือง ตัวเร่งการขับเคลื่อนไทยสู่เศรษฐกิจใหม่