Technology trends outlook 2023 สรุปเทรนด์เทคโนโลยี ที่ได้ไปต่อในปี 2023 (Part 2)

Mega Trends & Business Transformation
29/01/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 9045 คน
Technology trends outlook 2023  สรุปเทรนด์เทคโนโลยี ที่ได้ไปต่อในปี 2023  (Part 2)
banner
โควิดที่ผ่านมา ผลักดันให้การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็น 
 
ในบทความตอนแรกเราได้ประมวลเทรนด์เทคโนโลยีเด่น 6 ด้านจากทั้งหมด 12 ด้าน ไปแล้วทั้ง Artificial Intelligence (AI) and Machine Learning (ML), Robotic Process Automation (RPA) , Edge computing , Quantum Computing, Virtual Reality (VR) and Augmented Reality (AR) และ Blockchain ไปแล้ว มาในครึ่งหลัง ยังได้รวบรวม อีก 6 เทรนด์เทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เริ่มจาก 




7. อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) หรือ IoT หมายถึงเครือข่ายรวมของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันและเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์ ตลอดจนระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันเอง จากการเกิดขึ้นของชิปคอมพิวเตอร์ราคาไม่แพงและการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีแบนด์วิดท์สูง จึงทำให้ตอนนี้เรามีอุปกรณ์หลายพันล้านเครื่องที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต  

เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนามาในยุค 90 แล้ว อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในระยะแรกยังค่อนข้างช้าเนื่องจากชิปมีขนาดใหญ่และเทอะทะ  แต่ต่อมาอุปกรณ์ประมวลผลมีขนาดเล็กลง ชิปเหล่านี้ก็มีขนาดเล็กลง เร็วขึ้น และชาญฉลาดขึ้น  ค่าใช้จ่ายในการนำหน่วยประมวลผลมาใส่ไว้ในวัตถุขนาดเล็กจึงลดลงอย่างมากในปัจจุบัน 
 
ซึ่งเทคโนโลยี IoT อาจรวมถึง เทคโนโลยีการประมวลผล Edge การประมวลผลบนระบบคลาวด์ ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลระยะไกล เทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิง เป็นต้น



ทั้งนี้ ระบบ IoT โดยทั่วไปทำงานด้วยการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยระบบ IoT มีองค์ประกอบสามส่วน ได้แก่ อุปกรณ์อัจฉริยะ แอปพลิเคชัน IoT และส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก
 ซึ่งตัวอย่างของอุปกรณ์ IoT ที่ใช้กันในปัจจุบันกัน  อาทิ รถยนต์ที่เชื่อมต่อถึงกันเพื่อเฝ้าติดตามกลุ่มรถยนต์ให้เช่า หรือใช้สำหรับการแจ้งเตือนให้เพื่อนและครอบครัวทราบโดยอัตโนมัติในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือบ้านที่เชื่อมต่อถึงกัน สำหรับการปิดอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานโดยอัตโนมัติ การจัดการและการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ให้เช่า  การค้นหาสิ่งของที่อยู่ผิดที่ เช่น กุญแจหรือกระเป๋าสตางค์ หรือการปรับงานประจำวันให้เป็นระบบอัตโนมัติ เช่น การดูดฝุ่น การชงกาแฟ ฯลฯ 



หรือแม้แต่ การสร้าง เมืองอัจฉริยะ หรือ “Smart City”  เราจะเห็นตัวอย่าง จากแบรนด์ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่างบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผนึกกำลังกับหน่วยงาน กรุงเทพมหานคร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาคเอกชน จากพันธมิตรกว่า 160 องค์กร เพื่อระดมความคิด ร่วมสร้าง “กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่” ให้เกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวสำคัญที่ทุกฝ่ายร่วมกันหารือและแบ่งปันวิสัยทัศน์ ทัศนคติ รวมถึงแนวคิดเชิงกลไก เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนกรุงเทพฯ สู่ “Smart City” อย่างแท้จริง 



“ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า การสร้างกรุงเทพฯ อัจฉริยะ ด้วยการใช้เทคโนโลยียกระดับระบบความปลอดภัยชั้นเลิศเพื่อให้คนกรุงเทพฯ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผ่านระบบอัจฉริยะ (Smart System) และระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (Smart Security System) ที่หัวเว่ยได้นำนวัตกรรม AI ตัวล่าสุดเข้ามาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อัจฉริยะ ซึ่งรวมไปถึงกล้อง CCTV ที่ติดตั้งอยู่ทั่วเมือง รับ-ส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ไปจัดเก็บบนคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อประมวลผลและนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้กับระบบต่าง ๆ  ในกรุงเทพฯ

 ระบบเมืองอัจฉริยะนี้ ได้นำ  IoT (Internet of Things) เครือข่ายรวมของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันและสามารถทำงานโต้ตอบระหว่างกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G ผ่านสายไฟเบอร์ (5G Fiber) ความเร็วระดับกิกะบิตต่อวินาที และมีค่าความหน่วงน้อยกว่าเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ 4G ถึง 20 เท่า ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วที่สุด และใช้Intelligence Cloud-Based Platform หรือการเก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างมหาศาลบนแพลตฟอร์มคลาวด์ คอมพิวติ้งทั้งหมด ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยี เกิดการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนกันของข้อมูล (Data) สู่การสร้างสมองของเมือง ทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อได้ทุกแห่งหน (Ubiquitous Connectivity) นั่นเอง  
  
สำหรับแนวโน้มเทคโนโลยีนี้คาดว่าใน 5 ปี ข้างหน้า จะมีการนำ IoT มาใช้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความและความเป็นส่วนตัว โดยมีโซลูชั่น Blockchain-Base IoT (BloT) ซึ่งคาดว่ามูลค่าตลาดเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านล้านบาทภายในปี 2026 (หรือ 2569) โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะมีอัตราเติบโต เฉลี่ย 13.3% ต่อปี ช่วงปี 2018-2026 (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล : 2566)  



8.Data centers and cloudcomputing หรือศูนย์ข้อมูล และการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและมีการขยายการลงทุนอย่างมาก ซึ่งศูนย์ข้อมูลทำหน้าที่รับ จัดเก็บ ประมวลผลและส่งออกข้อมูล มีองค์ประกอบ 3 ส่วนที่สำคัญ คือ โครงสร้างอาคารที่ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุปกรณ์ และบุคลากร  
 
มูลค่าตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ของโลก เติบโต 23% ต่อเนื่องนับจากปี 2020-2022 (2563-2565) โดยมีการประเมินว่าตลาดโลก ในปีล่าสุด 2565 จะอยู่ที่ 12 ล้านล้านบาท ส่วนมูลค่าตลาดในไทยจะอยู่ที่ 32,000 ล้านบาท  จากปัจจัยหนุนการแพร่ระบาดของโควิดทำให้แนวโน้มการเข้าถึงและการใช้ระบบเทคโนโลยีเร็วมากขึ้น การใช้ระบบนี้มาช่วยจะอำนวยความสะดวกกับองค์กรณ์ต่างๆ เช่น ภาคธุรกิจ จะสามารถอำนวยความสะดวกกับลูกค้าได้  



ขณะที่ Cloud Computing คือ การส่งทรัพยากรประมวลผลแบบ On demand ผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1960 แต่ยังมีขนาดใหญ่และราคาแพง ภายหลังได้รับการพัฒนา เช่น ปี 2000 จาก Amazon ต่อมาก็ยังมี Google Docs จนถึงปัจจุบันเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดข้อจำกัดในการประมวลผล แบบ on Premise ที่มีความซับซ้อน ลดค่าใช้จ่าย และการจัดสรรทรัพยากรทางกายภาพ  และถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทั้งในรูปแบบ Public Cloud, Private Cloud และล่าสุด ปัจจุบันแนวโน้มมีการพูดถึง “Hybrid Cloud” เพิ่มขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเป็นเชื่อมต่อ Data Center และ Cloud ไว้ด้วยการ เพื่อใช้งานแบบ Virtual Private Cloud  
 
สำหรับมูลค่าตลาดการให้บริการ Cloud ในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโตด้วยอัตรา 29% ระหว่างปี 2018-2025 โดยเพิ่มมูลค่าจาก 5,300 ล้านบาท เป็น 31,500 ล้านบาทภายในปี 2025  



9.CyberSecurity หรือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์หรือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ คือ การนำเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีและกระบวนการที่รวมถึง วิธีการปฏิบัติที่ถูกออกแบบไว้เพื่อป้องกันและรับมือที่อาจจะถูกโจมตีเข้ามายังอุปกรณ์เครือข่าย, โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ, ระบบหรือโปรแกรมที่อาจจะเกิดความเสียหายจากการที่ถูกเข้าถึงจากบุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต 
 
ซึ่งแน่นอนว่า เทคโนโลยีนี้ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล ที่จะนำมาซึ่งปริมาณข้อมูลมหาศาล และการโจมตีที่เพิ่มมากขึ้น และนับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทย เพราะไม่เพียงปกป้องความ มั่นคงของประเทศและเครือข่ายดิจิทัลทั่วประเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงความเป็นส่วนตัวออนไลน์ อัตลักษณ์ ความสมบูรณ์ของ ข้อมูล และการทำธุรกรรมอย่างปลอดภัย จากการโจมตีที่อาจส่งผลกระทบที่มากเกินกว่าจะประเมินได้  
 
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อภาครัฐนำเทคโนโลยี Cloud มาประยุกต์ใช้ เพื่อจัดเก็บข้อมูลสำคัญมากขึ้น เทคนิคการรักษาความมั่นคงปลอดภัยต้องแน่นหนาหลากหลายมากขึ้น จะเห็นว่าในปัจจุบัน มีการนำ Firewall ตรวจจับการบุกรุก หรือธุรกิจส่วนใหญ่ใช้ บริการ IaaS เพื่อยกระดับความปลอดภัยของศูนย์ข้อมูล การยืนยันตัวตนด้วยฮาร์ดแวร์ ซึ่งแนวโน้มอีก 5 ปีข้างหน้า มีการพูดถึงเทคโนโลยี “การยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพ หรือการใช้ลายเซ็นชีวภาพ เช่น การตรวจอัตราการเต้นหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวหัวใจ การอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เป็นต้น และคาดว่าตลาดนี้จะเติบโตจาก 3.34 แสนล้านบาทในปี 2016 เป็น 1.3 ล้านล้านบาทในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือในปี 2025  



10. Smart Devices อุปกรณ์อัจฉริยะที่อำนวยความสะดวกต่อผู้บริโภคและทุกคน หรืออาจจะเรียกว่าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เครือข่ายไร้สายผ่านทางโปรโตคอลที่ต่างกัน หรือเป็นหลอมรวมระหว่างคำเรียกอุปกรณ์ สมาร์ทโฟน กับแทปเล็ต ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 
 
ทั้งนี้โดยปกติ ตลาดอุปกรณ์อัจฉริยะจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับฮาร์ดแวร์ซึ่งตามข้อมูลของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สถาบันไอเอ็มซี ระบุว่า ในปี 2564 สินค้ากลุ่มนี้มีมูลค่า 3.86 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 20% จากปี 2563 โดยเป็นผลจากปัจจัยหนุ่ยที่ไทยกำลังมุ่งสู่สังคมดิจิทับ ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในปี 2563 ที่ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบ new normal ทำงานจากที่บ้าน (Work from home) มีส่วนส่งเสริมให้ตลาดนี้เติบโตขึ้นและจะเติบโตต่อเนื่องไปถึง ปี 2567   
 
ซึ่งสอดรับกับผลการศึกษาของ McKinsey ที่ระบุว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลเติบโตขึ้น แนวโน้มผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่างๆ จะมุ่งลงทุนพัฒนา เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภควิถีใหม่ (new normal) โดยแนวโน้มการลงทุนั้นจะขยายตัวต่อเนื่องไปถึงปี 2570 เลยทีเดียว 
 
โดยแนวโน้มของอุปกรณ์อัจฉริยะจะเติบโตตาม ปัจจัยหลายด้าน อาทิ แนวนโยบายองค์ธุรกิจที่มุ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนธุรกิจ และเพื่อให้บริการมากขึ้น แนวโน้มการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล ซอฟต์แวร์ และบริการดิจิทัลใหม่ๆ โดยเฉพาะในอุปกรณ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น นโยบายการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ทำให้เกิดการลงทุนของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าต่างๆ และมีการนำมาเชื่อมโยงกับอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ มากขึ้น ตลอดจนนโยบายการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ล้วนส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะมากขึ้น  
 
ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นตัวอย่าง ธุรกิจด้านดิจิทัลต่างๆ เช่น Amazon, Apple และ Facebook มีการพัฒนาบริการต่างๆ ทำให้มีรายได้เติบโตสูง เป็นต้น   



11. Datafication คำนี้ถูกบัญญัติลงในพจนานุกรมเมื่อปี 2013 เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการนำข้อมูลในแง่มุมต่างๆ ของชีวิตผู้คนมาเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่สามารถวัดค่าได้ ช่วยนำมาต่อยอดในหลายวงการธุรกิจ โดยเทคโนโลยีนี้เข้ามาช่วยทรานส์ฟอร์มทุก ๆ ส่วนของธุรกิจให้เป็นข้อมูลที่สามารถติดตาม วัดผล และวิเคราะห์ได้  
 
โดยยกตัวอย่างเช่น   Netflix หรือ Facebook ที่มีเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานทุกดาน ติดตามโลเคชั่น พฤติกรรมต่างๆ เพื่อช่วยให้สามารถปล่อยโฆษณาสินค้าและบริการได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย จนหลายคนอาจจะคิดว่าเฟชบุคส์รู้ใจเราได้อย่างไร  เป็นต้น  



ซึ่ง บริษัท ทีซีซี เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีโซลูชั่นครบวงจรของประเทศไทย เคยประเมินว่า หลังจากโควิดพลิกโฉมธุรกิจสู่ความเป็นดิจิทัล ทำให้หลายธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่เฉียบคมหรือ Datafication for Shaper Business Decision  เพื่อปฏิวัติองค์กรสู่ Data Driven Enterprise ที่ใช้ข้อมูลเชิงลึก มาปรับเปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจ  



Gartner บริษัทผู้นำด้านวิจัยเทคโนโลยีไอที ชี้ว่า ในปี 2018 จะมีธุรกิจขนาดใหญ่กว่า 90% ที่นำ datafication มาใช้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ มี 2 ด้านคือ ช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยการให้ข้อมูลที่มากขึ้น และดีขึ้น ข้อมูลนี้สามารถใช้เพื่อปรับปรุงทุกอย่างตั้งแต่การตลาดไปจนถึงผลิตภัณฑ์ และข้อดีอีกด้านคือ ช่วยให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการทำให้งานที่เคยทำด้วยตัวเอง เป็นแบบอัตโนมัติ ช่วยให้สามารถนำเวลาและทรัพยากรไปใช้ด้านอื่นได้ 



ทั้งนี้ แนวโน้ม datafication ปี 2566 จะปรับเปลี่ยนไปใน 10 ด้าน ตามเว็บ (https://techniiz.com/datafication-future-of-businesses-2023/) ระบุว่า 
 
1. ข้อมูลจะถูกรวบรวมมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า ธุรกิจต่างๆ จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น  ข้อมูลนี้จะมาจากแหล่งที่มาที่หลากหลาย รวมถึงลูกค้า พนักงาน เซ็นเซอร์ และโซเชียลมีเดีย

2. ข้อมูลจะถูกนำไปใช้ในการตัดสินใจที่ดีขึ้น ธุรกิจจะใช้ข้อมูลในการตัดสินใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับทุกสิ่งตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ไปจนถึงการบริการลูกค้า

3. ข้อมูลจะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่เราไม่สามารถจินตนาการได้ในปัจจุบัน

4. ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อปรับแต่งประสบการณ์ส่วนบุคคล ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อปรับแต่งประสบการณ์สำหรับลูกค้าและพนักงาน

5. ข้อมูลจะถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจทุกด้าน ตั้งแต่การผลิต โลจิสติกส์ ไปจนถึงทรัพยากรบุคคล

6. ข้อมูลจะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน เมื่อข้อมูลมีค่ามากขึ้นเรื่อย ๆ ธุรกิจที่สามารถรวบรวมและใช้ประโยชน์ได้จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญเหนือผู้ที่ไม่มี

7. ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อทำการทำนายที่ดีขึ้น ธุรกิจต่างๆ จะใช้ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ที่ดีขึ้นเกี่ยวกับทุกสิ่งตั้งแต่พฤติกรรมผู้บริโภคไปจนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ

8. ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้า ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยมอบประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น

9. ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อลดความเสี่ยง ข้อมูลจะถูกใช้เพื่อลดความเสี่ยงโดยช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้ดีขึ้น

10. ข้อมูลจะสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น เมื่อข้อมูลมีค่ามากขึ้น 



และเทรนด์สุดท้าย 12. Big Data Analytics แยกเป็น  Big Data  คือ คำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กร อาจสรุปได้ว่า เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการวิเคราะห์ ซึ่งการวิเคราะห์นั้นใช้คณิตศาสตร์ และการวิเคราะห์เรียกอีกอย่างว่า ศาสตร์ข้อมูล

ขณะที่  Data Analytics เป็น Business Intelligence ซึ่งเป็นศาสตร์ของการใช้ข้อมูลต่างๆ จำนวนมาก เรียกว่า Big data มาวิเคราะห์ร่วมกันและแสดงผลเพื่อช่วยในด้านธุรกิจหรือตามวัตถุประสงค์ อื่นๆ ที่ต้องการ   โดยมีทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐาน (Descriptive analytics)  การวิเคราะห์แบบเชิงวินิจฉัย (Diagnostic analytics)  การวิเคราะห์แบบพยากรณ์ (Predictive analytics)  และการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ (Prescriptive analytics)  


 
ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่นำระบบ Big Data มาใช้ในการทำธุรกิจพิชิตยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ต่างชาติ เช่น Netflix, Amazon, Starbucks, McDonald’s,  American Express , ZARA และ Walmart หรือโซเชียลมีเดียยอดฮิตแห่งยุคอย่าง TikTok เป็นต้น  
 
โดยแนวโน้มของเทคโนโลยีนี้ในปี 2023 จะเห็นการขับเคลื่อน Big Data ใน 4 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นและหลากหลายมากขึ้น ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการประมวลผลเพิ่มขึ้น 2) ความต้องการนวัตกรรมในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น ทั้งในรูปแบบ Cloud และ Hybrid Platform เติบโตมากขึ้น 3) การนำการวิเคราะห์ขึ้นสูง การเรียนรู้ของเครื่องจักร และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ มาใช้เพิ่มมากขึ้น และ 4) การพัฒนาความก้าวหน้าของการดูแลข้อมูล (Ronald Schmelzer:2023)  

ทั้งหมดนี้อาจจะเรียกได้ว่า ปี 2566 (2023) ยังเป็นปีที่ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจยังต้องเกาะติดกระแสการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ตอบโจทย์ผู้บริโภควิถีใหม่ และสร้างประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจในอนาคตด้วย

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ กลายเป็นโจทย์หลักของนักการตลาดในยุคดิจิทัล หากเจาะลึกลงไปจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดการดิสรัปด้านเทคโนโลยีรอบนี้…
pin
522 | 10/04/2024
5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

ประเพณีสงกรานต์ของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สนับสนุนให้ “สงกรานต์” เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์เทศกาลระดับโลก…
pin
3265 | 10/04/2024
5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

การดูแลสุขภาวะที่ดีกำลังเป็นโจทย์สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย “ (Aged Society) โดยมีข้อมูลพบว่าตั้งแต่ปี…
pin
969 | 25/03/2024
Technology trends outlook 2023  สรุปเทรนด์เทคโนโลยี ที่ได้ไปต่อในปี 2023  (Part 2)