เมื่อโลกปรับ-คนเปลี่ยน ส่องทิศทาง Wellness Economy โอกาสเติบโตธุรกิจไทยในตลาด Health & Wellness Tourism

Mega Trends & Business Transformation
26/05/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 5762 คน
เมื่อโลกปรับ-คนเปลี่ยน ส่องทิศทาง Wellness Economy โอกาสเติบโตธุรกิจไทยในตลาด Health & Wellness Tourism
banner
บทความ Series Mega Trends & Business transformation ครั้งที่แล้ว เราได้พูดถึง Road to Health & Wellness Hub หรือความพร้อมการเป็นศูนย์กลางสุขภาพของไทย บนเวทีระดับโลก กับการวางโรดแมป “ยุทธศาสตร์ 10 ปี” ที่ไทยมีการวางเส้นทางเดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็น ‘ศูนย์กลางด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี’ ด้วยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ” หรือ Medical Hub ปี 2560-2569  

โดยกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ให้เป็นไปตามนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อน 1 ใน 10 เครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ บทความนี้ มาดูกันต่อกับประเด็น ทิศทาง Wellness Economy ว่าจะมีโอกาสเติบโตธุรกิจไทยในตลาด Health & Wellness Tourism อย่างไร



เรื่องสุขภาพ เป็นเทรนด์ที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมากในตอนนี้ แน่นอนว่า ปัจจัยหลักมาจากโควิดเป็นแรงหนุนทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพ ลงทุนเพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค นำมาสู่ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพมากมาย ข้อมูลจาก The Global Wellness Institute  (GWI) ปี 2566 ระบุว่า เศรษฐกิจสุขภาพ (Global Wellness Economy) ทั้งหมดจะมีมูลค่าสูงถึง 6.99 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 

โดยประเทศที่มีตลาดสุขภาพมูลค่าสูงสุดที่สุดคือประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก อาทิ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย บราซิล รัสเซีย หรือประเทศที่มีความร่ำรวยที่สุด เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ หรือประเทศที่มีขนาดรวมกันกับความมั่งคั่ง เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร ซึ่งจะนำมาซื่อ การใช้จ่ายเพื่อสุขภาพมากที่สุด 

หากเทียบขนาดตลาดแล้ว “สหรัฐ” เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด มีมูลค่า 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่จีน มีมูลค่า 6.83 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการเทียบว่าสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ตลาดสุขภาพทั่วโลกคิดเป็น 5.1% ของจีดีพี หรือ ทุก ๆ 1 ในทุก ๆ  20 เหรียญสหรัฐ ถูกใช้กับการดูแลสุขภาพ 

ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาน้อย แม้ว่าสัดส่วนการใช้จ่ายเงินด้านสุขภาพจะไม่สูงมาก แต่รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเพื่อท่องเที่ยวมาตัวแทนจนทำให้สัดส่วนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงเมื่อเทียบกับจีดีพี เช่น เซเชลส์ 16.5% มัลดีฟส์ 14.5% เป็นต้น 

ในส่วนของไทยก็เช่นเดียวกันที่มีการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าปี 2560 ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 100,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตปีละ  14%  (วารีพร ชูศรี และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล, 2563) 



ปัจจัยบวกต่อธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

ปัจจัยหลักที่ทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตต่อเนื่องมากจากหลายสาเหตุ อาทิ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของโลกที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อบำบัดรักษาโลกมากขึ้น

โดยตามตัวเลขข้อมูลสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ปี 2593 ทั่วโลกจะมีผู้สูงอายุถึง 1,968 ล้านคน โดยเฉพาะในอาเซียนจะมีโอกาสที่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว ในช่วงปี 2558-2603 และมีการคาดการณ์ในช่วงก่อนที่จะเกิดโควิดว่า ผู้สูงอายุต่างชาติจะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศ 7 ล้านคนต่อปี และนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มยุโรป จะมีอัตราการใช้จ่ายเงินมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปด้วย 



นอกจากนี้ วิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการบำบัดความเครียด โดยการแสวงหาวิธีการผ่อนคลาย เช่น การนวดสปา  และยังมีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายในประเทศที่ส่งผลทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโต เช่น อัตราค่ารักษาพยาบาลที่ถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้าน คุณภาพการรักษาการผ่าตัดทางด้านศัลยกรรมเป็นที่ยอมรรับจากนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ประเทศไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะในผลิตภัณฑ์และการให้บริการ เช่น การบริการนวดแผนไทย การบริการอบสมุนไพร และการประคบสมุนไพร อีกด้วย

และที่สำคัญไทยมีความได้เปรียบด้านแหล่งท่องเที่ยว ที่สามารถจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาชื่นชมเพราะมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ภูเขา น้ำตก ทะเล รวมถึงความมีเอกลักษณ์ในด้านอาหารที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก มีจุดเด่นด้านสุขภาพ และประโยชน์ทางโภชนการ และราคาค่าใช้จ่ายไม่สูงจนเกินไปหากเทียบกับการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศอื่น ๆ 



สถานะของไทย 

ภายหลังจากที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 กลับเป็นผลบวกต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย จากข้อมูล Global Health Security Index 2021 ระบุว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ 5 จากทั้งหมด 195 ประเทศ และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ว่าไทยที่มีระบบดูแลสุขภาพที่ดี จึงทำให้ไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

และรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการวางนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นฟูกลับมาเต็มรูปแบบ ด้วยการปรับหลักเกณฑ์ วีซ่าใหม่สนับสนุนให้คนไข้ต่างชาติเลือกเดินทางมาใช้บริการรักษาในประเทศไทย โดยมีการคาดการณ์ว่าแนวโน้มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ปี 2566 จะฟื้นตัวมีมูลค่ากว่า 25,000 ล้านบาท

แม้ว่าอาจจะยังสูงเท่าก่อนโควิดปี 2562 ที่เคยมีนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เดินทางเข้ามา 3.6 ล้านคน สร้างรายได้ 41,000 ล้านบาท แต่เชื่อมั่นได้ว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะฟื้นตัวขึ้นเรื่อย ๆ 

โดยบางสำนักคาดการณ์ว่ารายได้ส่วนนี้จะเติบโตต่อเนื่อง 2 ทุกปี จนทำให้มีมูลค่า 7.6 แสนล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า 



สำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยนั้น มี 2 กลุ่มคือ..

1) กลุ่มที่เดินทางเข้ามาเพื่อการบำบัดรักษา เช่น โรคเฉพาะทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ กระดูก รวมถึงการทำศัลยกรรมความงาม เช่น การแปลงเพศ ที่ไทยได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานการบริการระดับใกล้เคียงกับโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐ และมีราคาถูกกว่าสหรัฐ 2-10 เท่าตามแต่ประเภทการศัลยกรรม นอกจากนี้ไทยยังเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่มุ่งใช้บริการชะลอวัย และการรักษาภาวะการมีบุตรยากอีกด้วย 



และ 2) กลุ่มที่เดินทางเข้ามาแบบส่งเสริมสุขภาพ (ป้องกันการเกิดโรค) ด้วยความที่ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรค หรือใช้สมุนไพรเพื่อป้องกันการเกิดโรค แบบภูมิปัญญาดั้งเดิมมาให้บริการกับนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันไทยก็มีชื่อเสียงเรื่องการนวดเพื่อสุขภาพ จนได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโก  ทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักชื่อเสียงด้านการนวดกดจุดบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย การฝึกกายบริหารฤาษีดัดตน การนวดสปาจากประเทศไทยจำนวนมาก



โอกาสสูง-ความท้าทายสูง

อย่างไรก็ตาม โอกาสมาพร้อมกับความท้าทาย ซึ่งสำหรับประเทศไทย ความท้าทายสำคัญของการมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลัก ๆ มาจาก ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้

โดยยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีคณะพยาบาลศาสตร์ 80 แห่ง กำลังการผลิตอยู่ที่ 15,000 คนต่อปี แต่ในระยะหลังมีคนสนใจเข้ามาเรียนพยาบาลเพียง 8,000 คนต่อปี นั่นจึงนับว่าเป็นท้าทายสำคัญ เพราะการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา 1 ต้องใช้บุคลากรถึง 7-8 คน ดังนั้นไทยต้องเร่งพัฒนาบุคคลากรด้านนี้ 

หรืออีกด้านหนึ่งไทยอาจจะต้องเร่งหาแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเข้าประยุกต์ใช้ใน "อุตสาหกรรมการแพทย์" สามารถสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการวินิจฉัยและการรักษา เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น สอดรับกับการเดินหน้าสู่ "Medical Hub"



แข่งเดือดชิงเค้ก   

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เติบโตระดับ 2 หลักในแต่ละปี มีการแข่งขันในการดึงดูด “นักท่องเที่ยว” เพื่อเข้าไปใช้บริการในประเทศต่าง ๆ ก็รุนแรงไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศที่เป็นตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกลุ่มภูมิภาเอเชีย ซึ่งถือครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 15% ของมูลค่าการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลก โดยเฉพาะประเทศอย่าง สิงค์โปร์ อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ล้วนแล้วแต่เป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย 

อย่างไรก็ตาม หากเทียบส่วนแบ่งตลาดของไทยกับภูมิภาคพบว่าอยู่ที่สัดส่วนประมาณ 38% ใกล้เคียงกับสิงคโปร์ที่มีสัดส่วน 33% และหากรวมระหว่างไทยและสิงคโปร์แล้วจะมีสัดส่วน 71% ของตลาดทั้งหมดในภูมิภาค (กานดา ธีรานนท์, 2561) 



เมื่อวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดพบว่า “สิงคโปร์” มีความพยายามจะผลักดันประเทศให้เป็นศูนย์กลางการแพทย์แห่งภูมิภาคเอเชีย โดยภาครัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างจริงจัง และมีการกำหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น การปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมให้สะดวกรวดเร็ว มีระบบป้องกันความปลอดภัย

เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว และกำหนดเป้าหมายกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวเป็นตลาดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ขั้นสูง เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง 

เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบัน “สิงคโปร์” ถือว่าประสบความสำเร็จในแง่การดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และยังสามารถส่งเสริมสุขภาพของประชากรในประเทศให้เป็นประเทศท็อป 8 จากทั้งหมดกว่า 52 ประเทศตามการจัดอันดับประเทศที่มีสุขภาพดี (Healthiest Countries in The World 2023) ด้วยคะแนน 89.29 คะแนน เป็นรอง 7 ประเทศ คือ สเปน อิตาลี ไอซ์แลนด์ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน และออสเตรเลีย (www.worldpopulationreview.com,2023)

นอกจากนี้ยังมีประเทศคู่แข่งในเพื่อนบ้านอาเซียนอื่น ๆ อีกหลายประเทศ โดยเฉพาะ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ที่ต่างก็มุ่งพัฒนาศักยภาพในธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มาแรงแบบชนิดที่ผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ของไทย จะประมาทไม่ได้เช่นกัน 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

การดูแลสุขภาวะที่ดีกำลังเป็นโจทย์สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย “ (Aged Society) โดยมีข้อมูลพบว่าตั้งแต่ปี…
pin
280 | 25/03/2024
เทคโนโลยี 'HealthTech' เครื่องมือที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบดูแลสุขภาพของผู้คนยุคใหม่ ให้เป็นสุขภาพดิจิทัล (Digital Health)

เทคโนโลยี 'HealthTech' เครื่องมือที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบดูแลสุขภาพของผู้คนยุคใหม่ ให้เป็นสุขภาพดิจิทัล (Digital Health)

นับจากโควิดแพร่ระบาดเมื่อปี 2019 ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้ 'HealthTech' หรือเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพเติบโตขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยตลาดเทคโนโลยีด้านสุขภาพ…
pin
1926 | 23/03/2024
ใครฉายแสง! ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า – แบตเตอรี EV หากไทยมีแร่ลิเธียม-โซเดียมในประเทศจำนวนมาก

ใครฉายแสง! ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า – แบตเตอรี EV หากไทยมีแร่ลิเธียม-โซเดียมในประเทศจำนวนมาก

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา “ญี่ปุ่น” ขึ้นชื่อว่าเป็นยักษ์แห่งอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาปของโลก แต่เมื่อมาถึงยุคนี้กระแสการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก…
pin
7050 | 26/02/2024
เมื่อโลกปรับ-คนเปลี่ยน ส่องทิศทาง Wellness Economy โอกาสเติบโตธุรกิจไทยในตลาด Health & Wellness Tourism