‘ดิจิทัลโลจิสติกส์’ โอกาส-ความท้าทาย SME ไทย เปิดประตูการค้าสู่อาเซียน

Mega Trends & Business Transformation
19/07/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 19260 คน
‘ดิจิทัลโลจิสติกส์’ โอกาส-ความท้าทาย SME ไทย เปิดประตูการค้าสู่อาเซียน
banner
ด้วยสถานการณ์โรคระบาด Covid 19 และการพัฒนาของระบบเทคโนโลยี ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Digital Disruption ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากรูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ แพลตฟอร์ม และนวัตกรรมต่าง ๆ ที่อาศัยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลกระทบหลายภาคส่วน โดยเฉพาะธุรกิจโลจิสติกส์เดิม ผลิตภัณฑ์เดิม ทำให้การทำงานและการใช้งานส่วนตัวเปลี่ยนแปลงไป 

ผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายราย นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการขนส่งและโลจิสติกส์  ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย, วิทยาการหุ่นยนต์, Big Data,  AI  หรือ Blockchain เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มกำไรให้แก่ธุรกิจ สร้างโอกาสในการแข่งขันและลดระยะเวลาในการขนส่ง เพราะความรวดเร็วในการขนส่งจะเป็นตัวช่วยผู้ประกอบการในการนำสินค้าออกไปสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

แนวโน้มเทรนด์โลจิสติกส์เหล่านี้จะยังเป็นเทรนด์ที่ดำเนินต่อไปในปี 2023  ท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างประเทศหลายกรณีที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นโรงงานหลายแห่งของผู้ผลิตจีนในฐานะผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรมจำต้องถอนตัวจากการค้าโลก ทำให้ห่วงโซ่อุปทานจะหยุดชะงัก หรือโรงงานผลิตหลายแห่งในจีนต้องล็อกดาวน์จากโควิดก่อนหน้านี้



โลจิสติกส์หลายช่องทางจะสำคัญยิ่งขึ้นในปี 2023

ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2563-2564  มีเทรนด์ของเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาท้าทายโลกของโลจิสติกส์ 5 เทรนด์ ได้แก่ 



1. Digital Logistics หรือการบริหารงานด้วยข้อมูลทางโลจิสติกส์ ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นซัพพลายเชนทั้งระบบ และด้วยข้อมูลที่ได้มา จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น สามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 



2. Realtime Supply Chain Visibility หรือการจัดการทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทานแบบทันท่วงที ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถทราบข้อมูลกิจกรรมแบบเรียลไทม์ ประกอบด้วยเทคโนโลยี เช่น GPS Scanner หรือ Censor IoT ฯลฯ ในการติดตามกิจกรรมการขนส่ง เส้นทาง จุดส่งสินค้า หรือเงื่อนไขพิเศษต่าง ๆ รวมถึง เทคโนโลยี blockchain ที่จะทำให้ลูกค้าจะสามารถเห็นทุกขั้นตอนของการส่งสินค้าก่อนที่มาถึงมือ เพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีขึ้น 

ทั้งนี้ Realtime Supply Chain Visibility ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมโยงธุรกิจ คาดการณ์ถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด 



3. Consolidation of  Goods คือ การรวบรวมสินค้าจากหลายบริษัทในการโหลดบรรทุกของ ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ เพื่อเพิ่มจำนวนสินค้าที่ถูกจัดส่งในบริษัทขนาดเล็กให้สามารถส่งออกสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และช่วยให้กระบวนการโลจิสติกส์มีเสถียรภาพ



4. AI หรือปัญญาประดิษฐ์ คือการใช้ซอฟต์แวร์มาเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ ทดแทนงานบางส่วนที่มนุษย์ต้องทำซ้ำ ๆ ทำให้งานที่ออกมาเป็นระเบียบและวัดผลได้มากขึ้น 



5. Data Standardization and Predictive Analytics Platform หรือเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงและจัดการข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว คือเครื่องมือที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ด้วยแพลตฟอร์ม สามารถพยากรณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดล่วงหน้าได้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือและเตรียมการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อใส่เงื่อนไขเฉพาะลงไป เช่น อุบัติเหตุ การใช้น้ำมัน การซ่อมบำรุงรถ การใช้จ่าย เส้นทางขนส่งและจุดจอดรถที่เหมาะสม 

ต่อมาในปี 2565 จะเห็นว่าเทรนด์ด้านโลจิสติกส์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจจะทำให้ซัพพลายเชนอาจหยุดชะงักได้ ยกตัวอย่างเช่น หากมีการพึ่งพาเส้นทางการจัดส่งสินค้าเพียงช่องทางเดียว แล้วช่องทางดังกล่าวเกิดประสบปัญหา จะทำให้การขนส่งสินค้าต้องใช้เวลายาวนานขึ้นหรือหยุดชะงักลง ซึ่งอาจจะส่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่กำลังจะเริ่มเปิดตลาดสินค้าส่งออก โดยเฉพาะการขนส่งไปยังตลาดอาเซียนซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุดสำหรับ SME ที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน



SME ปรับตัวใช้โลจิสติกส์หลายช่องทาง

และด้วยปัจจัยที่กล่าวข้างต้น ทำให้ SME หันมาปรับตัวโดยใช้ “โลจิสติกส์แบบหลายช่องทาง” หรือ Multichannel Logistics เช่น การใช้รถไฟแทนเรือสำหรับการขนส่งในอาเซียน หรือการขนส่งทางถนนแทนรถไฟ จะช่วยให้ซัพพลายเชนมีความมั่นคง สามารถชดเชยการบรรทุกสินค้าเกินพิกัด และหลีกเลี่ยงความแออัดในการขนส่งได้

ที่สำคัญยังมีการคาดการณ์ว่าในปี 2566 ภาคการขนส่งจะยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าทำได้ยากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ให้บริการโลจิสติกส์ควรวางแผนการขนส่งด้วยการมองการณ์ไกล ใช้ความสามารถในการขนส่งสินค้าที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ และขจัดความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งที่จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ คือการเปลี่ยนสู่ “ยุคดิจิทัล” อย่างครอบคลุม



ดิจิทัลโลจิสติกส์

เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว สำหรับดิจิทัลโลจิสติกส์ (Digital Logistics) เป็นคำจำกัดความที่ใช้เพื่ออธิบายกระบวนการบริหารจัดการสินค้าและพาหนะในรูปแบบดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศที่อัตโนมัติทำงานเพื่อประสิทธิภาพและความแม่นยำในการจัดการสินค้า

ดิจิทัลโลจิสติกส์ มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางด้านการจัดการสินค้าตั้งแต่การจัดซื้อ การขนส่ง จัดเก็บสินค้า จัดส่งสินค้า และติดตามรายการสินค้า โดยการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติเช่นการสแกนบาร์โค้ดจัดเก็บข้อมูลในคลังสินค้า การติดต่อสื่อสารระหว่างระบบขนส่งและกลุ่มงานภายใน ทำให้กระบวนการเหล่านี้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างความสะดวกสบายและความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยสามารถติดตามสถานะของสินค้าได้แบบเรียลไทม์ ช่วยลดการผิดพลาดในกระบวนการจัดส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบจัดการคลังสินค้า ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จในธุรกิจต่างๆ

ทั้งนี้ ดิจิทัลโลจิสติกส์ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น การรวบรวมข้อมูลการสั่งซื้อ บันทึกปริมาณการขายและความต้องการของลูกค้า สามารถใช้ในการวิเคราะห์และทำนายแนวโน้มตลาด

ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในปริมาณที่เพียงพอช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับที่พัฒนากระบวนการบริหารจัดการสินค้าให้ทันสมัย ทั้งในเรื่องของความรวดเร็ว ความแม่นยำ และประสิทธิภาพ เป็นการท้าทายที่สำคัญในการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน



การรับมือผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก

ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ปี 2563 ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อจีดีพี คิดเป็นสัดส่วน 14% เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ซึ่งมีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพี13.2%  และยังคาดการณ์แนวโน้มสัดส่วนต้นทุนโลจิสติสก์ต่อจีดีพี ปี 2564 จะเพิ่มขึ้นอีก แต่กลับกลายเป็นว่าในปีนั้นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอน ทำให้การเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า หรืออาจจะหยุดชะงักลง

วิกฤตของโลจิสติกส์ในปีนั้น ยังไม่นับรวมผลกระทบจากราคาค่าระวางเรือที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนราคาพลังงานในปี 2565 ต่อมาที่เกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ต่อเนื่องด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ภาคธุรกิจโลจิสติกส์ต้องหันไปตั้งรับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง ด้วยการนำระบบ ออโตเมชั่นมาใช้ในภาคโลจิสติกส์

ตลอดจนการใช้ซัพพลายเชนดิจิทัลอย่างชาญฉลาด ซึ่งต้องอาศัย 3 เสาหลักคือ คือ เครือข่ายผู้เข้าร่วมกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันคลาวด์ หรือเทคโนโลยีบล็อกเชน เครือข่ายยานพาหนะและการจัดส่งโดยใช้ IoT และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเห็นว่าการพัฒนาหุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ (Delivery Robot) เป็นหนึ่งเทรนด์ในปี 2023 คือ การใช้หุ่นยนต์จัดการคลังสินค้า ไปจนถึงการดูแลลูกค้า ยกตัวอย่าง Software bots ซึ่งสามารถตอบคำถามของลูกค้าเกี่ยวกับสถานการณ์จัดส่งหรือจัดการการส่งคืนผลิตภัณฑ์ได้ 

ขณะเดียวกัน จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเทรนด์ที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาใส่ใจการพัฒนา ‘ธุรกิจโลจิสติกส์สีเขียว’ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ นับได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดในโลก และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 20%

ด้วยเหตุนี้ โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) จึงยังคงเป็นเมกะเทรนด์ด้านโลจิสติกส์ ซึ่งไม่เพียงแต่การรักษาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่โลจิสติกส์ที่ยั่งยืนกำลังกลายเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจหลายรายตัดสินใจทางธุรกิจโดยขึ้นอยู่กับความยั่งยืนของคู่ค้า

จะเห็นว่าเทรนด์โลจิสติกส์ 2023 ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลในทุกมิติ แน่นอนว่าอนาคตการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง (IoT) จะยังเป็นคีย์เวิร์ดที่มีความสำคัญต่อระบบนี้ ซึ่งในบทความต่อไปจะเล่าถึง IoT อัจฉริยะที่จะมาพร้อมการทรานส์ฟอร์มภาคขนส่งไทยไปสู่การเป็น Logistic Hub 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ กลายเป็นโจทย์หลักของนักการตลาดในยุคดิจิทัล หากเจาะลึกลงไปจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดการดิสรัปด้านเทคโนโลยีรอบนี้…
pin
4210 | 10/04/2024
5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

ประเพณีสงกรานต์ของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สนับสนุนให้ “สงกรานต์” เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์เทศกาลระดับโลก…
pin
4203 | 10/04/2024
5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

การดูแลสุขภาวะที่ดีกำลังเป็นโจทย์สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย “ (Aged Society) โดยมีข้อมูลพบว่าตั้งแต่ปี…
pin
1057 | 25/03/2024
‘ดิจิทัลโลจิสติกส์’ โอกาส-ความท้าทาย SME ไทย เปิดประตูการค้าสู่อาเซียน