แฟชั่นเพื่อความยั่งยืน Circular Fashion Economy ทางเลือกใหม่ของ SME สายแฟฯ

Mega Trends & Business Transformation
28/08/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 8861 คน
แฟชั่นเพื่อความยั่งยืน Circular Fashion Economy ทางเลือกใหม่ของ SME สายแฟฯ
banner
การเติบโตของยอดขายเสื้อผ้าและการลดลงของการใช้เสื้อผ้าตั้งแต่เริ่มต้นสหัสวรรษ เห็นได้ชัดจากยอดขายเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นสองเท่าจาก 100 เป็น 200 พันล้านหน่วยต่อปี ในขณะที่จำนวนครั้งเฉลี่ยในการสวมใส่เสื้อผ้าลดลง 36% โดยรวม และมากกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์ ที่ต้องสูญเสียไปทุกปีเนื่องจากขาดการรีไซเคิลและการใช้เสื้อผ้า 

อุตสาหกรรมแฟชั่น ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำปริมาณมหาศาล ประมาณ 93 พันล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ส่วนใหญ่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีที่เป็นพิษ 

โดย 20% ของปริมาณน้ำเสียทั่วโลกมาจากการย้อมสีสิ่งทอ 



ช่วงที่ผ่านมา ภาพขยะเสื้อผ้ากองเท่าภูเขา ถูกแชร์บนโลกออนไลน์ คาดว่าในแต่ละปีมีขยะที่เกี่ยวข้องกับเสื้อผ้า 92 ล้านตัน  ซึ่งผลิตไมโครพลาสติกกว่า 500,000 ตัน  โดย  15% ของผ้าที่ใช้ในการผลิตถูกทิ้งอย่างสูญเปล่า และ 57% ของเสื้อผ้าที่ถูกทิ้งทั้งหมดจบลงที่การฝังกลบ 



โดยเสื้อผ้าที่ถูกทิ้ง จะถูกนำไปทิ้งสะสมไว้กลางทะเลทรายอาตากาม่า ประเทศชิลี ซึ่งขยะจำพวกเสื้อผ้าเป็นกลุ่มที่ฝังกลบได้ยาก เนื่องจากมีสารเคมีในเส้นใยผ้า รวมไปถึงกระบวนการย่อยสลายเองตามธรรมชาติต้องใช้เวลานานนับร้อยปีเลยทีเดียว 



ในแต่ละปี โลกต้องการพื้นที่ในการฝังกลบขยะเสื้อผ้ามากกว่า 10 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้ถูกนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 10% เราจึงจะเห็นบ่อขยะเสื้อผ้ามหาศาลเช่นนี้ โดยเฉพาะในแถบประเทศกำลังพัฒนาซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งทิ้งขยะเสื้อผ้าของโลก 

 

ตลาด ‘Fast Fashion’ มูลค่ามหาศาล 

เราพบว่าขยะเสื้อผ้ามหาศาลที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อโลกนั้น มาจากอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นมาไวไปไว  (Fast Fashion) และทิ้งร่องรอยผลกระทบไว้ให้กับโลกอย่างมหาศาล ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำ สามารถผลิตได้เยอะและรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการซื้อของผู้บริโภคจำนวนมาก 

โดยมีข้อมูลว่า ขนาดตลาด Fast Fashion มีมูลค่า 122,257.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2564 และคาดว่าจะสูงถึง 283,457.5 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2573  มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่  10.13% ในช่วง 8 ปี นับจากปี 2566 ถึง 2573 

ปัจจัยสำคัญที่ทำตลาด Fast Fashion เติบโต เป็นผลจากที่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการเสื้อผ้าราคาไม่แพงของประชากรวัยหนุ่มสาวที่เพิ่มขึ้น 



ขณะที่รายงาน Global Fast Fashion Market ได้รายงานการประเมินแบบองค์รวมของตลาด พบว่า การยอมรับเสื้อผ้าราคาย่อมเยาที่เพิ่มขึ้นของประชากรวัยหนุ่มสาวที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนของตลาด 

หากประเมินตลาดแฟชั่น Fast Fashion ทั่วโลกในระดับใกล้เคียงกัน พบว่าเติบโตจาก 91.23 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 เป็น 99.23 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) 8.8% และมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตจนถึงปี 2569 คือ 7.7% และมีมูลค่า 133.43 พันล้านดอลลาร์ 

ประเทศที่ครองสถิติ Fast Fashion สูงสุด 

หากเจาะลึกลงไปจะพบว่า 10 ประเทศที่ครองตลาดการซื้อค้าปลีก ได้แก่ 

1.จีน         40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
2.สหรัฐอเมริกา 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 
3.อินเดีย           6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 
4.ญี่ปุ่น           3,300 ล้านเหรียญสหรัฐ 
5.เยอรมนี           2,200  ล้านเหรียญสหรัฐ
6.สหราชอาณาจักร           2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ
7.รัสเซีย                   2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
8.ฝรั่งเศส                   1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ
9.อิตาลี                   1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ
10.บราซิล           2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ 

ตลาดเหล่านี้คิดเป็น 3 ใน 4 ของเสื้อผ้าและรองเท้ามากกว่า 2 ใน 3 ที่ขายในแต่ละปี และที่สำคัญ ประเทศจีนมีปริมาณเสื้อผ้าที่จำหน่ายมีมากกว่าอีก 9 ประเทศในรายการรวมกัน 

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ในสหราชอาณาจักรซึ่งมี GDP ต่อหัวใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้าโดยเฉลี่ยน้อยลง 20 ชิ้นต่อปี (33 ชิ้นเทียบกับ 53 ชิ้น) แต่ใช้จ่ายมากขึ้นประมาณ 70% ต่อชิ้น  ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นซื้อสินค้าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคในสหรัฐฯ และใช้จ่ายมากขึ้น 31% สำหรับแต่ละรายการ 

อีกเหตุผลหนึ่งสำหรับการเติบโตของ Fast Fashion คือ ยอดขายต่อหัวในประเทศที่พัฒนาแล้วเติบโตเพิ่มขึ้น อาทิ สหราชอาณาจักรบริโภคเสื้อผ้ามากกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เป็นต้น
 


สู่ ‘แฟชั่นที่ยั่งยืน’ 

อีกด้านหนึ่ง มีข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก 8-10%ซึ่งมากกว่าการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมการเดินเรือและการบินรวมกัน 

และพื้นที่ 2.5% ของพื้นที่การเกษตรของโลกถูกใช้เพื่อปลูกฝ้ายสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น 



อุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นหนึ่งในผู้บริโภคน้ำรายใหญ่ที่สุด  เพราะต้องใช้น้ำถึง 2,700 ลิตรในการทำเสื้อยืดที่ทำผลิตจากผ้าฝ้าย 

และยังมีการคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นสามารถคิดเป็น 26% ของงบประมาณคาร์บอนทั่วโลกภายในปี 2593 

นั่นจึงนำมาสู่การพัฒนาสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นอย่างยั่งยืน 



ตลาดผู้บริโภคและประเทศผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักรและจีน ประสบความสำเร็จในการนำแฟชั่นที่ยั่งยืนมาใช้ ซึ่งจะช่วยผลักดันวาระระดับโลกในด้านแฟชั่นอย่างมีจริยธรรม 

Thredup ซึ่งเป็นร้านค้าออนไลน์มือสองขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2030 หรืออีกราว 10 ปี ข้างหน้า มูลค่าตลาดของเสื้อผ้ามือสองจะมีมูลค่าถึง 84,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่ามูลค่าของตลาด Fast Fashion ที่น่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่าราว 2 เท่า 

สาเหตุที่ทำให้คาดการณ์ว่าตลาดเสื้อผ้ามือสองจะได้รับความนิยมมากขึ้น น่าจะมาจากเทรนด์ของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไป ทั้งจากปัญหา Fast Fashion รวมไปถึงการที่คนรุ่นใหม่ ๆ เริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และหันมาสนใจแฟชั่นแบบหมุนเวียน หรือแฟชั่นมือสองมากขึ้น 



ทางออก อุตสาหกรรม Fast Fashion จะไปสู่ความยั่งยืน 

ในแต่ละปีมีเสื้อผ้าเพียง 15% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิลหรือบริจาค 

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้นมาใช้ เพื่อลดจำนวนเสื้อผ้าที่ต้องจบลงด้วยการฝังกลบ  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคำกระตุ้นการตัดสินใจสำหรับผู้บริโภคให้ใส่ใจในการเลือกเสื้อผ้ามากขึ้น และสนับสนุนแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน 



ตัวอย่างแบรนด์ระดับโลกอย่าง  PRADA แบรนด์แฟขั่นสุดหรูจากอิตาลี เปิดตัวคอลเลคชันใหม่ ที่ผลิตจากผ้าไนลอน จากพลาสติกท้องทะเล ตาข่ายจับปลา พร้อมตั้งเป้ายกเลิกการใช้ไนลอนบริสุทธิ์ หันมาใช้วัสดุจากพลาสติกรีไซเคิลแทนในการผลิตสินค้าไลน์อื่น ๆ ภายในปี 2564 



H&M แบรนด์เสื้อผ้าจากสวีเดน ซึ่งมีการนำเส้นใยออร์แกนิกมาผลิตเสื้อผ้าคอลเล็กชั่นใหม่ ๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรมให้ลูกค้านำเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วมาบริจาค เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเสื้อผ้าใหม่

สำหรับในประเทศ พบว่าในแต่ละปีจะมีขยะเสื้อผ้าและสิ่งทอกว่าร้อยละ 85 ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยมีเพียงร้อยละ 15 ที่ได้รับการนำไปบริจาคหรือนำกลับไปรีไซเคิลเช่นกัน ทำให้เกิดปัญหาขยะจากเสื้อผ้าอย่างมากมาย 



ทางออกสำคัญทางหนึ่ง คือ การปฏิวัติวงการแฟชั่น แบบพลิกโฉมสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาแฟชั่นหมุนเวียน หรือ Circular Fashion เป็นทางออกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น สนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นวงจรในระบบการผลิตและการบริโภค นั่นคือทรัพยากรที่ใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้าจะได้รับการใช้งานอย่างยาวนานและคุ้มค่า เพื่อลดการเกิดขยะแฟชั่นและการถลุงทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตเสื้อผ้าใหม่ 

ปัจจุบัน เทรนด์การสร้างธุรกิจ Circular Fashion ได้ รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง และมีตัวอย่าง ผู้ผลิตไทย ที่ผู้ที่ได้นำแนวคิดนี้มาสร้างธุรกิจจนประสบความสำเร็จแล้ว ยกตัวอย่าง ธุรกิจคนใหม่ "มอร์ลูป” (moreloop) ที่คลุกคลีในวงการสิ่งทอ จนเห็นปัญหาและสามารถพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่

ชุบชีวิตของเหลือจากระบบอุตสาหกรรมสิ่งทอให้มีมูลค่า ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ตัวกลางรับผ้าคงค้างในสต็อกที่เหลือจากการผลิตในโรงงานผลิตเสื้อผ้าและโรงงานทอผ้ามาจำหน่าย ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและกลายเป็นโมเดลธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมาย “Make Circular Economy a Reality” 

หรือบริษัท ซีโร่ เวสท์ โยโล จำกัด เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่พัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน นำขยะพลาสติกอันมีมากกว่า 1.5 ล้านตันต่อปีในประเทศไทย ไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมทั้งชิ้นส่วนสำหรับทำกระเป๋า 

เช่นเดียวกับ บริษัท SC GRAND มีความถนัดในเรื่องของ Zero Waste ซึ่งเป็นแนวคิดในการลดขยะมาอย่างยาวนาน โดยการนำเอาของเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่เกิดจากโรงงานทอผ้า, เย็บผ้าและอื่น ๆ มารีไซเคิลเพื่อให้ทุกของเสียที่เกิดในอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นได้ถูกนำมาใช้ได้ใหม่ 100% 

บทสรุปนี้ ทำให้ทราบว่าอุตสาหกรรม Fast fashion กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม  เป็นที่ชัดเจนว่าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องตระหนักถึงการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถที่จะมีบทบาทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ Fast fashion ได้ด้วยการปรับมายด์เซ็ต ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ในการเลือกซื้อเสื้อผ้า ก่อนตัดสินใจจับจ่ายว่าจะซื้ออะไร มีการผลิตมีที่มาที่ไปอย่างไร ไปจนถึงวิธีการทิ้งเสื้อผ้า เพื่อเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต จาก แฟชั่นที่รวดเร็วให้สามารถเป็นแฟชั่นที่ก้าวสู่ความยั่งยืนได้ไม่ยาก

อ้างอิง :
https://blog.gitnux.com/fast-fashion-statistics/ 
https://www.bangkokbanksme.com/en/12up-bcg-model-fast-fashion-industry-solution 
https://www.bangkokbanksme.com/en/textile-waste-your-business-friendly-to-the-world
https://petromat.org/2022/circular-fashion/ 
https://www.posttoday.com/post-next/be-greener/690499

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ กลายเป็นโจทย์หลักของนักการตลาดในยุคดิจิทัล หากเจาะลึกลงไปจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดการดิสรัปด้านเทคโนโลยีรอบนี้…
pin
4203 | 10/04/2024
5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

ประเพณีสงกรานต์ของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สนับสนุนให้ “สงกรานต์” เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์เทศกาลระดับโลก…
pin
4202 | 10/04/2024
5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

การดูแลสุขภาวะที่ดีกำลังเป็นโจทย์สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย “ (Aged Society) โดยมีข้อมูลพบว่าตั้งแต่ปี…
pin
1057 | 25/03/2024
แฟชั่นเพื่อความยั่งยืน Circular Fashion Economy ทางเลือกใหม่ของ SME สายแฟฯ