"สิงคโปร์" สปริงบอร์ดลงทุนเชื่อม AEC-EU

SME in Focus
04/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5227 คน
"สิงคโปร์" สปริงบอร์ดลงทุนเชื่อม AEC-EU
banner

หลังจากลงนามความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างสิงคโปร์-สหภาพยุโรป (EUSFTA) มาเป็นเวลา 2 ปี นับจากวันทีที่ 19 ตุลาคม 2560 ล่าสุดความตกลงฉบับดังกล่าวกำลังจะมีผลบังคับใช้ในปี 2562 นี้แล้ว ไส้ในความตกลงการค้าเสรีฉบับนี้จะสร้างโอกาสทางการค้าให้สิงคโปร์​ ถือเป็นประเด็นที่เอกชนไทย โดยเฉพาะผู้ที่ผลิตสินค้าไปยังตลาดยุโปรต้องศึกษาเพื่อเตรียมปรับตัวเตรียมพร้อม

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำกรุงสิงคโปร์ ระบุว่า สินค้ากลุ่มอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยา อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี และสารเคมีจากสิงคโปร์ จะเป็นสินค้าที่ได้รับการลดภาษีจากสหภาพยุโรปภายในระยะเวลา 5 ปี อย่างไรก็ตาม ในความตกลงนี้เปิดโอกาสให้สินค้าอาหารที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบจากอาเซียนสามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ด้วย โดยจะมีการกำหนดโควตาภาษีนำเข้าประจำปีให้ เช่น หมูหยอง ไก่ หยอง ขนมเกี๊ยวทอด เนื้อหมูแปรรูป ขนมจีบ ลูกชิ้น เป็นต้น

ขณะเดียวกันทางฝ่ายสิงคโปร์จะ "ยกเว้น" ภาษีนำเข้าให้กับสินค้าทุกหมวดของสหภาพยุโรป รวมถึง "เครื่องดื่มเบียร์" ซึ่งเป็นสินค้าที่สหภาพยุโรปมีศักยภาพในการผลิตด้วย ซึ่งประเด็นนี้ทางสิงคโปร์หวังว่าประชาชนทั้งสองฝ่ายจะได้ประโยชน์จากราคาสินค้าที่ลดต่ำลง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


ในด้านการลงทุน เป็นที่ทราบกันดีว่าสิงคโปร์เป็นเป้าหมายของการตั้งสำนักงานใหญ่ของนักลงทุนจากสหภาพยุโรปที่ต้องการจะมาปักหลัก เพื่อขยายฐานการลงทุนไปในอาเซียน ประเด็นนี้เป็นการสร้างประโยชน์ให้กับสหภาพยุโรปมหาศาล เพราะสามารถใช้สิงคโปร์เป็นสปริงบอร์ดขยายเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทจากสหภาพยุโรปเข้ามาตั้งในสิงคโปร์แล้ว 10,000 แห่ง เพื่อเชื่อมโยงและให้บริหารในภาคใต้ของแปซิฟิก

 

อนาคตความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนของสิงคโปร์-สหภาพยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้นหาความตกลง EUSFTA มีผลบังคับใช้ โดยที่ผ่านมาสหภาพยุโรปถือเป็นนักลงทุนอันดับ 3 ในสิงคโปร์ เมื่อปี 2560 ขณะที่มูลค่าการค้าระหว่างกัน  98.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 10% ของมูลค่าการค้าโดยรวมของสิงคโปร์

ขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ระบุว่า  เมื่อปี 2017 มูลค่าการค้าของสหภาพยุโรป 53.3 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่มีมูลค่า 51 พันล้านยูโร โดยสหภาพยุโรปส่งออก 33.2 พันล้านยูโร และนำเข้า 22 พันล้านยูโร ส่งผลให้สหภาพยุโรปได้ดุลการค้า 13 พันล้านยูโร

ส่วนมูลค่าการค้าบริการล่าสุดปี 2016 อยู่ที่ 44.4 พันล้านยูโร ลดลงจากปี 2016 ที่ 44.6 พันล้านยูโร โดยสหภาพยุโรปส่งออกบริการมูลค่า 22.4 พันล้านยูโร และนำเข้าบริการ  มูลค่า 22 พันล้านยูโร ทำให้สหภาพยุโรปเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าบริการ 0.4 พันล้านยูโร


ในรายงานยังระบุอีกว่า ในด้านการลงทุน "สิงคโปร์" เป็นเป้าหมายหลักของนักลงทุนยุโรปที่ต้องการขยายการลงทุนมาในเอเชีย ขณะเดียวกันนักลงทุนสิงคโปร์ก็เป็นนักลงทุนจากเอเชีย เบอร์ 3 ที่เข้าไปลงทุนในสหภาพยุโรปเช่นกัน โดยมูลค่าเงินลงทุนตรง (FDI) ระหว่างกัน เมื่อปี 2016 อยู่ที่ 255.5 พันล้านยูโร ซึ่งหลังจากนี้เป็นที่คาดการณ์ว่ามูลค่าการลงทุนระหว่างกันจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับอีกด้วย

เป็นที่น่าจับตาว่า ภายใต้ความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนในอาเซียน ประเทศไทยจะสามารถขยายการลงทุนในสิงคโปร์และเชื่อมต่อไปยุโรปได้อย่างไร เพราะธุรกิจไทยจะทราบดีว่าการลงทุนในสิงคโปร์ที่คลาคล่ำไปด้วยนักลงทุนต่างชาตินั้นเจอการแข่งขันสูง ทั้งกฎระเบียบการส่งเสริมการลงทุนในสิงคโปร์ที่ค่อนข้างเข้มงวดมาก ท่านผู้อ่านมองว่าโอกาสของทุนไทยจะอยู่ในรูปแบบใด ...ไว้ครั้งหน้าเรามาขยายความเรื่องนี้กันต่อ  


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
64 | 25/04/2024
Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
188 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
806 | 17/04/2024
"สิงคโปร์" สปริงบอร์ดลงทุนเชื่อม AEC-EU