หลัก 5 ข้อวิเคราะห์ความเสี่ยง SME จากปัจจัยที่ไม่แน่นอน

SME Update
10/07/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2281 คน
หลัก 5 ข้อวิเคราะห์ความเสี่ยง SME จากปัจจัยที่ไม่แน่นอน
banner

สู้ไม่ไหวก็หนี หนีไม่ทันก็หาพวกมารุม รุมสู้ไม่ได้ก็หยุด หยุดหรือลดแล้วแต่ยังโดนถล่มไม่เลิก ก็ต้องยอมรับให้ได้ นี่คือหลักตอบสนองความเสี่ยงซึ่งในกรณีนี้ เราเปรียบเทียบเหมือนการต่อสู้ระหว่างคนต่อคน ซึ่งว่ากันว่า หนึ่งใน 36 กลยุทธ์พิชัยสงครามซุนวู หนีดีที่สุด 

ทำไมหนีจึงเป็นสุดยอดวิธี เพราะเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่เรารับมือซึ่งหน้า หรือเข้าปะทะตรงๆ ไม่ได้ จึงต้องกำหนดกลยุทธ์หลบหนีในจังหวะที่เสียเปรียบ และรุกลับเมื่อเห็นจังหวะได้เปรียบ

ดังนั้นจะเห็นชัดว่า ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์โบราณ หรือในสถานการณ์ปัจจุบัน การรู้เขา และรู้กำลังของเรา จึงเป็น GPS ที่จะนำทางเราไปสู่ทางหนทางแก้ปัญหา หรืออย่างน้อยก็ลดความสูญเสียให้มากที่สุด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ จึงอยู่ที่คำว่า วิเคราะห์สถานการณ์ คือ มองให้ขาดว่าภายในองค์กรเป็นอย่างไร สถานปัจจุบันเป็นอย่างไร บ่งชี้ไปในทิศทางใด และกลยุทธ์ในการรับมือกำหนดไว้อย่างไร หลักอยู่รอดเบื้องต้นของทุกธุรกิจสำหรับ SME ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีดังนี้

1. วิเคราะห์จากภายในองค์กร (Internal Environment) : ฐานะปัจจุบันของธุรกิจเป็นอย่างไร รายได้เป็นอย่างไร สภาพคล่องไปได้อีกกี่เดือน กี่ปี หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ต่อไป (ซึ่งจากสถานการณ์โควิด 19 คุณอาจต้องเผื่อเงินสำรองไว้เป็นปี) รวมถึงจัดการความเสี่ยงในด้านการบริการบุคลากร กระบวนการทำงาน การมองจากภายในตรงนี้ คุณจะเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นชัด ดังนั้นก่อนที่จะไปแก้อย่างอื่น จึงต้องวิเคราะห์ตัวเองเป็นอันดับแรก

2. กำหนดเป้าหมาย (Objective Setting) : ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือร้าย ทำธุรกิจต้องต้องมีการกำหนด เป้าหมายให้ชัดเจน โดยการจัดการความเสี่ยงให้ความสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และความเสี่ยงที่ (อาจจะเกิดขึ้น) องค์กรยอมรับได้ระดับหนึ่ง เช่น กำหนดยอดขาย กำหนดผลลัพธ์การทำงาน การเพิ่ม Productivity รวมทั้งการประเมินผล    

3. ระบุเหตุการณ์ (Event Identification) : เราไม่รู้อนาคต แต่ไม่ได้หมายความว่าอนาคตจะคาดการณ์ไม่ได้ จากเหตุการณ์หนึ่งจะส่งผลให้เกิดความเป็นไปได้ต่างๆ ขึ้นมามากมาย หรือเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น มีโอกาสเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วเราเรียกว่า ค่าที่ไม่แน่นอน ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหาร SME จึงต้องมีการระบุเหตุการณ์ และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากนี้ จากข้อมูล จากรายงาน และจากการวิเคราะห์ด้วยประสบการณ์ จนนำไปสู่ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์รับมือความเสี่ยง

4. ประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) : ทางที่ดีแบ่งเป็นระดับความเสี่ยงของธุรกิจในปัจจุบันอยู่ในระดับใด เสี่ยงน้อย เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงสูง ซึ่งภายหลังจากการประเมินความเสี่ยงซึ่งต้องอ้างอิงโดยการระบุเหตุการณ์ เช่น การระบาดของโควิด 19  สถานการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสาร แนวโน้ม และการวิเคราะห์แยกแยะ เพื่อหาแนวทางในการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่าหลักการจัดการความเสี่ยง (Inherent Risk) ที่ SME นำไปปรับใช้ได้ แต่อย่ามองว่าง่ายๆ เพราะการประเมินความเสี่ยง ไม่ใช่การคิดเอง เออเอง แต่ต้องประกอบด้วยข้อมูลที่เพียงพอ และมุมมองที่กว้างไกล

5. ตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response) : ขั้นตอนท้ายสุดในกระบวนการจัดการความเสี่ยง คือภาคปฏิบัติ หรือวิธีการดำเนินการเพื่อรับมือหรือตอบสนองความเสี่ยง ซึ่งผู้บริหารเองอาจจะต้องพิจารณาถึง ความเสี่ยงที่ธุรกิจรับได้ ซึ่งมีหลักปฏิบัติอยู่ 4 แบบ คือ

- หลีกเลี่ยง (Avoid) เพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด

- แบ่งความรับผิดชอบ (Share) การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการรับมือความเสี่ยงให้กับทีม

- ลด (Reduce) หมายถึงการไม่กระทำ หรือกระทำน้อยลงในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงตามความเหมาะสม 

- ยอมรับ (Accept) หมายถึงเมื่อถึงจุดหนึ่ง พยายามมาอย่างสุดความสามารถแล้ คุณต้องยอมรับความเสี่ยง หรือสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้

ที่สำคัญต้องเป็นความเสี่ยงที่พอรับได้ เพราะนั่นย่อมหมายถึงคุณได้ประสบความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1678 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1923 | 25/01/2024
หลัก 5 ข้อวิเคราะห์ความเสี่ยง SME จากปัจจัยที่ไม่แน่นอน