Brexit ท่าทีล่าสุดของอังกฤษ

SME Go Inter
23/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2010 คน
Brexit ท่าทีล่าสุดของอังกฤษ
banner

หลายท่านอาจยังคงติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์ Brexit ว่าสรุปแล้วอังกฤษจะออกจาก EU ในรูปแบบไหน ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดถึงจุดนี้ก็ถือว่าท่าทีของอังกฤษชัดเจนแล้ว โดยในช่วงที่ผ่านมารัฐสภาอังกฤษได้ผ่านการพิจารณาร่างข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป (EU Withdrawal Agreement) เพื่อให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปภายในวันที่ 31 มกราคม 2563 ตามขั้นตอนภายในประเทศอย่างราบรื่น  

ล่าสุดร่างข้อตกลงดังกล่าวได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาแก้ไขรายละเอียดร่างข้อตกลงฯ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) และสภาขุนนาง (House of Lord) พิจารณารายละเอียดก่อนที่จะออกเป็นกฎหมายต่อไป และคาดว่าจะสามารถลงนามในข้อตกลงฯ ร่วมกับสหภาพยุโรปได้ภายในวันที่ 31 มกราคม 2563

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา นาย Boris Johnson นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนาง Ursula Gertrud von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้มีการหารือเพื่อเตรียมการสำหรับการเจรจาขั้นต่อไป โดยประธานคณะกรรมาธิการยุโรปเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายอาจสามารถสรุปการเจรจาเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง ได้ก่อน

ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษเห็นว่า ไม่ต้องการให้อังกฤษต้องยึดถือกฎระเบียบของสหภาพยุโรป และคาดหวังว่าอังกฤษและสหภาพยุโรป อาจจัดทำความตกลงในรูปแบบใกล้เคียงกับความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปกับแคนาดาได้ โดยอังกฤษไม่จำเป็นต้องขอยืดระยะเวลาการออกจากสหภาพยุโรปออกไปอีก

อย่างไรก็ตาม นางอัวร์ซูลา กล่าวว่าระยะเวลาสำหรับการเจรจาความตกลงการค้าเสรี ระหว่างอังกฤษกับสหภาพยุโรปนั้นกระชั้นชิดเกินไป สำหรับการเจรจาความสัมพันธ์ทางการค้าที่ครอบคลุมรอบด้าน โดยเฉพาะการเข้าออกได้อย่างเสรีจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า และบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้หากไม่มีความเท่าเทียมกันในเรื่องกฎระเบียบ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และภาษี ก็ไม่อาจเป็นความตกลงที่จะส่งผลให้เสมือนเป็นตลาดเดียวอย่างมีคุณภาพได้

นอกจากนี้ นายอันเดรย์ เปลงกอวิช นายกรัฐมนตรีโครเอเชีย ในฐานะประธานคณะมนตรียุโรป เห็นว่า สหภาพยุโรปอาจไม่เปิดตลาดทางการเงินให้แก่อังกฤษ หากอังกฤษยืนยันที่จะไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรป และให้ความเห็นว่าการเจรจาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอังกฤษ เพื่อให้ยังคงสถานะใกล้เคียงกับความเป็นตลาดเดียวนั้น จะต้องมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างการอยู่ภายใต้กฎระเบียบของสหภาพ ยุโรป และการเป็นเสมือนตลาดเดียวกันของอังกฤษ

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปจะพิจารณาข้อเสนอและความเหมาะสม ในด้านกฎระเบียบของอังกฤษอีกครั้งในช่วงก่อนฤดูร้อน ว่ามีความเหมาะสมในการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าที่มีฐานอยู่ในสหภาพยุโรปหรือไม่

โดยการบริการทางการเงินของอังกฤษคิดเป็นรายได้ 205,000 ล้านปอนด์ต่อปี จากการให้บริการแก่ลูกค้าจากสหภาพยุโรป โดยการออกจากสหภาพยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของธนาคาร นายหน้าทาง การเงิน และบริษัทประกันของอังกฤษหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2563

นอกจากนี้นาย Phil Hogan ผู้แทนการค้าของสหภาพยุโรป ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าระยะเวลา 11 เดือน สำหรับการเจรจาความตกลงทางการค้าร่วมกับอังกฤษเป็นระยะเวลาที่สั้นเกินไป ความสัมพันธ์ทางการค้าในอนาคตร่วมกับอังกฤษ ซึ่งระยะเวลาอันสั้นนี้ไม่เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ และเห็นว่าอังกฤษยังสามารถขอให้มีการขยายระยะเวลาได้ ภายในเดือนมิถุนายน 2563

โดยหลังจากที่มีการผ่านร่างข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป (Withdrawal Agreement) และการประกาศว่าจะไม่ขยายระยะเวลา transition period ของอังกฤษเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา  ส่งผลให้ภาคธุรกิจเห็นความชัดเจนในการดำเนินการของภาครัฐมากยิ่งขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลมากขึ้น ในการดำเนินการเรื่อง Brexit หลังจากที่มีความไม่ชัดเจนมาเป็นระยะเวลา 3 ปี

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความสัมพันธ์ทางการค้าในอนาคต ระหว่างอังกฤษกับสหภาพยุโรปมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้เป็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและส่งเสริมการค้าระหว่างกันเหมือนที่ผ่านมา แต่ทางฝ่ายสหภาพยุโรปกลับเริ่มแสดงท่าทีว่า การเจรจาเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้าที่แนบแน่นนั้น อาจส่งผลให้อังกฤษต้องแลกเปลี่ยนการเปิดตลาดในด้านต่างๆ มากขึ้น

รวมถึงมีการแสดงความไม่แน่ใจในระยะเวลาสำหรับการเจรจา ที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2563 ทั้งนี้หากอังกฤษไม่สามารถสรุปผลการเจรจาทางการค้าร่วมกับสหภาพยุโรปได้ทันสิ้นปีนี้ จะส่งผลให้ต้องดำเนินการค้ากับสหภาพยุโรปภายใต้กฎระเบียบของ WTO อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


สำหรับไทยนั้น หากทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงความสัมพันธ์ทางการค้าได้ ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ อาจได้รับประโยชน์จากการเข้าตลาดอย่างเท่าเทียมกับสหภาพยุโรปในอัตราภาษีที่เท่าทัน อย่างไรก็ตามอังกฤษยังคงมีสิทธิขอขยายระยะเวลา transition period ออกไปได้ภายในเดือนมิถุนายน 2563 นี้เพื่อให้สามารถสรุปความสัมพันธ์ทางการค้าได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายคาดหวัง 

อ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน 


ชี้ชะตาส่งออกไทย! เดินหน้าเจรจา FTA ไทย-อียู

อังกฤษมีแผนเจรจา FTA กับเวียดนามหลัง Brexit


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6264 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2021 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5028 | 23/10/2022
Brexit ท่าทีล่าสุดของอังกฤษ