มองแนวโน้มตลาดค้าชายแดน 2564 ความหวังอยู่ตรงไหน?

SME Update
28/11/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 1669 คน
มองแนวโน้มตลาดค้าชายแดน 2564 ความหวังอยู่ตรงไหน?
banner

การค้าชายแดน-ผ่านแดนปีนี้ยังโตจากฐานต่ำจากผลพวงการระบาดของโควิด 19 ขณะที่การค้าผ่านแดนและข้ามแดนรูปแบบใหม่ หรือ Cross-Border e-Commerce (CBEC) ช่องทางที่อาจจะเป็นอีกโอกาสของสินค้าไทย มาดูกันว่าสถานการณ์ล่าสุดเป็นอย่างไร และโอกาสอยู่ตรงไหน

1 ล้านล้านบาท คือ ตัวเลขการประเมินมูลค่ารวมของตลาดการค้าชายแดนไทยในปี 2563 ก่อนการระบาดของโควิด 19 ขณะที่ผลพวงจะการระบาดตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นผลทำให้มูลค่าตลาดรวมที่คาดว่าจะขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 กลับติดลบที่ร้อยละ 8

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยสิ้นปี 2563 มูลค่าค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ มีมูลค่ารวม 760,158.93 ล้านบาท ติดลบร้อยละ 8.05 เทียบจากปี 2562 ผลพวงจากการค้าโลกที่หยุดชะงัก และมาตรการปิดด่านชานแดนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคและอย่างที่ทราบดีว่าในปี 2564 นี้ มีการเปิดด่านค้าชายแดนและบรรยากาศของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มกลับมาภายหลังข่าวดีเรื่องวัคซีน

ทว่าผลพวงจากการกระหน่ำของโควิด 19 ที่มีการระบาดหลายระลอกในช่วงที่ผ่านมาทำให้สถานการณ์ค้าชายแดนไทยยังคงมีการเติบโตจากฐานต่ำ

 

จากข้อมูลล่าสุด การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) ปี 2564 (มกราคม - สิงหาคม) มูลค่าการค้ารวม 584,901 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.63 % โดยการค้าชายแดนกับมาเลเซียมี มูลค่าสูงที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.67 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมา ได้แก่ สปป.ลาว (23.96 %) เมียนมา (21.63%) และกัมพูชา (18.74%)

ตรงนี้จะเห็นว่าการค้าชายแดนไทยมาเลเซียมีการเติบโตสูงสุด โดยด่านที่ที่มีมูลค่าการค้ารวมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา ด่านปาดังเบซาร์ ด่านสุไหง-โกลก และด่านเบตง แต่ตามที่ระบุในตอนต้น เป็นการเติบโตจากฐานต่ำในปี 2563

ขณะที่การค้าชายแดนอีก 3 ประเทศ คือ เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา ที่ผ่านมาทั้งจากปัญหาการระบาดของโควิดในประเทศ สถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา ตลอดจนมาตรการด้านสาธารณะสุขต่างๆ ที่ทำให้กิจกรรมการค้าชายแดนเป็นไปอย่างติดขัด

และเมียนมาเป็นประเทศที่การค้าขายแดนเติบโตได้ต่ำสุดเมื่อเทียบกับอีก 3 ประเทศ คือติดลบร้อยละ 14.73 เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีการเติบโตถึง 193,262.95 (ม.ค.-ส.ค.) แต่เติบโตเป็นบวกร้อยละ 10.56 เมื่อเทียบกับปี 2564

ส่วนด้าน สปป.ลาว ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 เช่นกันทำให้มีมาตรการในการข้ามแดนและผ่านแดนที่เข้มงวดมากขึ้น ทั้งเป็นที่ทราบดีว่า ปัจจุบัน สปป.ลาวนำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภค จากไทย ขณะที่ไทยก็ยังใช้ สปป.ลาวเป็นประเทศทางขนส่งผักผลไม้ไปเวียดนามและจีนตอนใต้ ดังนั้นอุปสรรคในการขนส่งทำให้เศรษฐกิจชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยและสปป.ลาว ยังคงเติบโตได้ไม่มากนัก

ขณะที่บรรยากาศการค้าชายแดนด้านกัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมาในภาคของการบริโภคได้มีการปรับเป็นด่านค้าส่งเสียส่วนใหญ่ ทำให้กิจกรรมการค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้การระบาดของโควิด 19 ซึ่งทางรัฐบาลของกัมพูชาได้ตั้งกฎการเข้าเมืองและผ่านแดนไว้อย่างเข้มงวดและมีต้นทุนการจัดการที่สูง ดังนั้นเป็นที่คาดการณ์ได้ว่าการเติบโตจากฐานต่ำของด้านค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จะยังคงเติบโตได้อย่างยากเย็นในกรอบแคบๆ ในปี 2564 นี้

 

และจะเห็นว่า จากข้อมูลล่าสุดระบุถึงการเติบโตของการค้าชายแดนในปี 2564 นี้ ยังนับเป็นการเติบโตจากฐานที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในปี 2563 หรืออาจจะกล่าวได้ว่า แม้ปีนี้ภาครวมของการค้าชายแดน 4 ประเทศจะมีตัวเลขการเติบโตที่หวือหวา แต่เมื่อดูจากฐานการเติบโตในปี 2562 ก่อนเกิดโควิด 19 ปีนี้อาจเป็นแค่การขยับเข้าสู่จุดเดิมเท่านั้น

การค้าผ่านแดน ความหวังของเศรษฐกิจไทย

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการค้าผ่านแดนไทยกับ จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศ อื่น ๆ ปี 2564 (มกราคม - สิงหาคม) ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 533,459 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ก่อน เพิ่มขึ้น 50.15%  โดยการค้าผ่านแดนไทยกับจีนมีมูลค่าสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.17 รองลงมาคือ สิงคโปร์ ร้อยละ 14.73 และเวียดนาม ร้อยละ 8.77

จุดที่น่าสนใจคือ การค้าผ่านแดนระหว่างไทย-จีน ซึ่งตัวเลขล่าสุดปี 2564 (มกราคม - สิงหาคม) การค้าผ่านแดนไทย - จีน มีมูลค่าการค้ารวม 256,962 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 67.24 % แบ่งเป็นการ ส่งออกมูลค่า 146,931 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 78.95 % และการนำเข้ามูลค่า 110,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.79 % โดยด่านการค้าไปจีนที่มีมูลค่าสูงสุด คือ ด่านศุลกากรมุกดาหาร ด่านฯ นครพนม และด่านฯ เชียงของ

ขณะที่ด้านการค้าผ่านแดนไทยเวียดนาม ซึ่งล่าสุดแม้จะเห็นตัวเลขการเติบโตแต่เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากฐานเดิม ขณะที่สิงคโปร์แม้จะเติบโตได้ดีในกลุ่มสินค้าอุปโภค อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และไอทีแต่ไทยยังคงเสียดุลการค้าในตลาดนี้ ดังนั้นจะเห็นว่าความหวังอาจจะต้องฝากไว้ที่การค้าผ่านแดนไทยจีนและเวียดนาม


ซึ่งในวันที่ 2 ธ.ค. 2564 จะมีการเปิดเส้นทางการขนส่งด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงระหว่างนครคุนหมิง-เวียงจันทน์ (สปป.ลาว) หรือรถไฟความเร็วสูง ลาว-จีน ที่สามารถส่งสินค้าผ่านรถไฟตลอดเส้นทางเริ่มจากนครหลวงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว มุ่งตรงสู่มณฑลยูนนานของจีนได้ในระยะเวลาเพียง 8 ชั่วโมง มีจุดเชื่อมต่อกับไทยที่ จ.หนองคาย

กระนั้น โดยปกติไทยใช้ จ.หนองคายในการส่งสินค้าเข้าสู่ สปป.ลาว เป็นหลัก แต่แทบไม่ได้ใช้ขนส่งสินค้าไปจีนเนื่องจากเส้นทางยังไม่เอื้อต่อการขนส่งข้ามแดน เมื่อเทียบกับเส้น R3A เข้าทางด่านโม่ฮานสู่ยูนนาน หรือเส้นทางผลไม้อย่างเส้น R9 และR12 เข้าทางมุกดาหาร หรือนครพนมซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า

อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างนครคุนหมิง-เวียงจันทน์ (สปป.ลาว) ที่จะเริ่มเปิดให้บริการขนส่งประมาณ 2 เที่ยวต่อวันก่อนจะปรับเพิ่มเส้นทางในอนาคตซึ่งคาดว่าไม่เพียงสามารถร่นระยะเวลาจากขนส่งสินค้าจากไทย – ลาว จีน ยังเป็นโอกาสของการที่สินค้าไทยจะสามารถเข้าตลาดจีนตอนใต้ได้อย่างสะดวกมากขึ้น

 

ปรับธุรกิจสู่ Cross Border E-commerce โอกาสตลาดออนไลน์ข้ามแดน

โมเดลของการทำธุรกรรมการค้าข้ามประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งส่วนมากแพร่หลายในประเทศที่ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ในอาเซียน และจีน การสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ข้ามประเทศตามปกติมีข้อจำกัดเรื่องค่าขนส่งที่สูง ซึ่งการขนส่งสินค้าไปจีนในปัจจุบันใช้เส้นทางบกโดยรถบรรทุก ผ่านแดน สปป.ลาวและเวียดนาม ซึ่งแม้จะเป็นการขนส่งที่รวดเร็วกว่าเส้นทางเรือ แต่ก็มีต้นทุนแฝงที่สูงพอสมควร

ขณะที่การเกิดขึ้นของการขนส่งทางรถไฟ อาทิ รถไฟความเร็วสูงลาว-จีน หรือ ด่านรถไฟโม่ฮาน ที่ได้ดำเนินการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดดบนอกจากจะสามารถขนส่งสินค้าเทกอง ยังรองรับสินค้า อาทิ สินค้าเนื้อสัตว์ สินค้าแช่เย็น/แช่แข็ง ธัญพืช  ผลไม้  สัตว์น้ำมีชีวิต ต้นกล้า ไม้ และ สัตว์มีชีวิต   

รวมทั้งโมเดล Cross Border e-Commerce เป็นการพัฒนาคลังสินค้าและโลจิสติกส์ครบวงจรประกอบกันเพื่อสต๊อกสินค้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะ โดยภาครัฐและรัฐบาลท้องถิ่นของจีนให้การสนับสนุนตั้งพื้นที่คลังสินค้า ซึ่งมีข้อดีตรงที่สามารถกระจายสินค้าในประเทศได้ทันทีเมื่อมีคำสั่งซื้อและค่าขนส่งลดลงด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการค้าออนไลน์ผ่านแดนในลักษณะ B2B

ด้วยเหตุนี้ ภายใต้การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ การค้าออนไลน์ข้ามแดนจึงไม่ได้จำกัดเฉพาะการค้าแบบ B2C หรือ C2C อีกต่อไป แต่ยังเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการค้าชายแดน ขยับมาสู่รูปแบบการค้าออนไลน์ข้ามแดนซึ่งไม่เฉพาะตลาดจีน และยังมีตลาดใหญ่ที่กำลังเติบโต คือ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม) ภายใต้การขนส่งที่หลากหลายมากขึ้นจะทำให้การค้า การขนส่งและกิจกรรมการค้าชายแดนแบบค้าส่งเดิมๆ จะต้องปรับเปลี่ยนไป


ที่สำคัญช่องทางการค้าจะเปลี่ยนไปสู่รูปแบบของ e-Marketplace ที่ผู้ซื้อและผู้ขายทั่วโลกสามารถติดต่อซื้อขายและจัดส่งได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และที่สำคัญไปกว่านั้น Cross Border e-Commerce จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีศุลกากร ซึ่งแตกต่างจากการนำเข้าปกติ สิ่งเหล่านี้จึงมองว่าเป็นโอกาสใหม่ๆ ที่การค้าชายแดนแบบเดิมจะปรับเปลี่ยนไป เป็นโอกาสและมิติใหม่ของการค้าชายแดนและผ่านแดนในรูปแบบออนไลน์ที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

 

แหล่งข้อมูล : กรมการค้าระหว่างประเทศ

https://www.ditp.go.th/contents_attach/173908/173908.pdf

https://www.ditp.go.th/contents_attach/613289/613289.pdf

http://www.ecojournal.ru.ac.th/journals/23_1516971851.pdf


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1300 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1666 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1921 | 25/01/2024
มองแนวโน้มตลาดค้าชายแดน 2564 ความหวังอยู่ตรงไหน?