เศรษฐกิจหมุนเวียน เมกะเทรนด์ของโลก

SME Update
19/07/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3502797 คน
เศรษฐกิจหมุนเวียน เมกะเทรนด์ของโลก
banner

ปัญหาขยะพลาสติกที่ทวีความรุนแรงขึ้น สร้างความตื่นตัวให้สังคมทั่วโลก องค์กรต่างๆ ร่วมจัดการปัญหาขยะพลาสติกด้วยการลดใช้ ไม่เพิ่มปริมาณขยะพลาสติกใหม่เข้าไปในระบบ แต่ขยะพลาสติกที่มีอยู่ในปัจจุบัน สร้างปัญหาไม่น้อย หลายหน่วยงานจึงมีแนวคิดจัดการขยะพลาสติกที่มีอยู่ โดยใช้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy)

สหภาพยุโรป (EU) ได้ประกาศใช้ “2018 Circular Economy Action Package” ครอบคลุมเป้าหมายและนโยบายในการลดขยะพลาสติก การลดการฝังกลบขยะ และเพิ่มปริมาณการรีไซเคิล สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนถูกผลักดันอย่างจริงจังทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลการส่งออกสินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์พลาสติกของไทยไปยัง EU อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าและปรับเปลี่ยนธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561- 2573 เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายในการบริหารจัดการขยะพลาสติกในภาพรวมของประเทศ และเป็นการจัดการแบบบูรณาการของหลายหน่วยงาน กำหนดทิศทาง การดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะพลาสติกของประเทศ แบ่งเป้าหมายการดำเนินการเป็น 2 ระยะ

ด้านที่ 1 ลด เลิกใช้พลาสติก และใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็นสองช่วง คือ ภายในปี 2562 จะให้เลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด ประกอบด้วยพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม พลาสติกผสมสาร อ็อกโซ่ และพลาสติกผสมไมโครบีด ระยะที่สองจะยกเลิกให้ใช้ภายในปี 2565 อีก 4 ชนิด คือพลาสติกหูหิ้วที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก ที่มีข้อยกเว้นสำหรับใช้กับเด็ก คนชรา และผู้ป่วย และแก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

ด้านที่ 2 การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โดยจะมีการศึกษาและกำหนดเป้าหมายในส่วนที่จะนำกลับมาใช้ประโยชน์ ขณะที่ของเสียจะถูกนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยแผนปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 3 มาตรการ

1.มาตรการลดการเลิกขยะพลาสติก ณ แหล่งกำเนิด โดยจะมีการสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2.มาตรการ ลด เลิกใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค โดยขับเคลื่อนการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

3.มาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค โดยจะมีการส่งเสริม สนับสนุนการนำขยะพลาสติกเข้าสู่การนำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์   

สำหรับกลไกการจัดการ จะมี 4 กลไก คือ

1.สร้างความรู้ ความเข้าใจหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการการ

2.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์

3.ใช้เครื่องมือและกลไกที่เหมาะสม เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกภาคส่วน เร่งออกกฎหมาย และ

4.การจัดทำฐานข้อมูลขยะพลาสติกของประเทศ

ผลที่จะได้รับจากโรดแมปดังกล่าว คาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี และสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3,900 ล้านบาทต่อปี

หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้เริ่มขับเคลื่อนตามโรดแมปดังกล่าว อาทิ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ร่วมกับสถาบันพลาสติก นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติก โดยคำนึงถึง 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างการผลิตที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริโภค การจัดการของเสียและการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) ด้านเทคโนโลยีรีไซเคิลและนวัตกรรมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อผลักดันผู้ประกอบการรีไซเคิลให้ดำเนินธุรกิจตามหลักวิชาการและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการปรับรูปแบบธุรกิจ สร้าง Circular Enterprises/Startups เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนานและเอื้อต่อการนำไปรีไซเคิลได้ง่าย การนำวัสดุจากการรีไซเคิลวัสดุชีวภาพ และวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมดมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับกระทรวงการคลังจัดทำมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้ซื้อบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชนิดที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจะได้รับลดหย่อนภาษี 1.25 เท่า เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562-31 ธันวาคม 2564 และได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย Factory 4.0 เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปสู่การปฏิบัติตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกระบวนการทางธุรกิจ


ขณะที่ปัจจุบัน บริษัทเอกชนขนาดใหญ่และเล็กให้ความตื่นตัวกับการจัดการปัญหาขยะพลาสติกอย่างมาก และนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไออาร์พีซี ได้ลงนามสัญญากับบริษัท เทคซ่า เอนเนอร์ยี จำกัด และบริษัท วีเอ เอนเนอร์ยี จำกัด ซื้อน้ำมันจากขยะพลาสติกแปรรูป ที่ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ 560 ตัน/เดือน

การลงนามดังกล่าว ไออาร์พีซี จะได้รับน้ำมันแปรรูปจากขยะพลาสติก 300,000 – 400,000 ลิตร/เดือน เป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) ลดปริมาณขยะพลาสติกได้ 560 ตัน/เดือน ช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืน และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อีกทางหนึ่ง

สำหรับธุรกิจ SMEs หารทำธุรกิจตามเทรนด์เศรษฐกิจหนุนเวียน จะเป็นรูปแบบที่มีความยั่งยืนทั้งสามารถปรับตัวได้เร็วกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ดังนั้นเทรนด์นี้ไม่ได้มาเล่นๆ ดังนั้นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
894 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1225 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1520 | 25/01/2024
เศรษฐกิจหมุนเวียน เมกะเทรนด์ของโลก