ในแง่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นหลังโควิด-19 เข้ามาแพร่ระบาด ท่ามกลางปัญหาภัยแล้งที่ประเทศไทยเผชิญมาก่อนหน้าโควิด-19 จะเข้ามา ได้ทำให้เศรษฐกิจการเกษตรที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับชุมชนหยุดชะงัก จากการที่ภาคเกษตรไม่สามารถเพาะปลูกได้ตามปกติ จึงมีการคาดการณ์ว่าหากสถานการณ์ยืดเยื้อไป 6-12 เดือน จะทำให้สัดส่วนคนจนช่วงโควิด-19 ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 28.4%
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
โควิด-19
ทำให้สัดส่วนคนจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(ทีดีอาร์ไอ) ประเมินเกี่ยวกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยระบุว่าหากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ลากยาวไปอีก 6 เดือนถึง 1 ปี
มีความเป็นไปว่าสัดส่วนคนจนในประเทศไทยจะเพิ่มเป็น 28.4% ของประชากรทั้งหมด จากปี
2561 ที่มีสัดส่วนคนจน 9.9% หรือมีจำนวนคนจนเพิ่มเป็น 18.9 ล้านคน จากปี 2561
ที่มีจำนวน 6.68 ล้านคน ซึ่งการประเมินดังกล่าวอ้างอิงฐานข้อมูลสถิติจากฐานข้อมูลรายได้
และการกระจายตัวของรายได้ประชากรไทยในปี 2561 ที่คาดว่าจะใกล้เคียงกับข้อมูลปี
2562 เนื่องจากในปี 2562 ที่ผ่านมารายได้ของกลุ่มคนที่มีรายได้ 40% เป็นคนชั้นล่างของประเทศไม่ค่อยขยับจากปี
2561 เท่าใดนัก โดยหากรายได้ของคนชั้นล่าง 40% ของประเทศหายไป 10-30% สัดส่วนคนจนจะเพิ่มเป็น
14.3-28.4% ของประชากรทั้งหมดหรือมีจำนวนคนจนเพิ่มเป็น 9.5-18.9 ล้านคน
รัฐเตรียมผลักดันแรงงานคืนภาคเกษตร
กระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
นี่จึงเป็นเหตุผลให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับประชาชนคนจนหรือกลุ่มคนรากหญ้า
หรือประชาชนคนชั้นล่างของสังคม เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน
และผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด อันเป็นรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับชุมชนและฐานเสียงทางการเมืองที่สำคัญ
และเป็นกลุ่มคนจำนวนมากของประเทศที่แม้จะมีกำลังซื้อน้อย แต่เป็นกลุ่มคนที่มีความต้องการด้านการใช้จ่ายและการใช้ชีวิตสูง
ดังนั้นจึงจะเห็นว่าทุกครั้งที่เศรษฐกิจของประเทศส่อแววว่าจะมีปัญหา รัฐบาลมักจะมีนโยบายประชานิยมหว่านเงินให้คนรากหญ้าเกิดขึ้นทุกช่วงเวลา
เพื่อเป็นแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจหรือหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจให้ไม่หยุดชะงักหรือพังครืน
ซึ่งสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจหลังปลดล็อกมาตรการต่างๆ แล้วยังคงซบเซา ผลพวงมาจากอัตราการว่างงานของแรงงานที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงปิดล็อกเศรษฐกิจ
2-3 เดือนที่ผ่านมา และผู้คนไม่กล้าออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านเพราะกลัวการแพร่ระบาดระลอก
2 ที่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็วและรุนแรงกว่าเดิม โดยสภาวะที่เศรษฐกิจหยุดชะงัก
ซบเซา คนในระดับรากหญ้าจึงเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ในช่วงนี้กระทรวงการคลังได้เตรียมแผนออกมาตรการชุดที่
3 เน้นดูแลกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชน คนรากหญ้า
เพื่อรองรับแรงงานที่เดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด โดยยึดโครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่
9 เป็นแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เน้นเศรษฐกิจภาคการเกษตรเป็นสำคัญ
ภายใต้งบประมาณที่จะนำมาดูแลโครงการดังกล่าวตามแผนที่จะออก
พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉินวงเงินมากกว่า 2 แสนล้านบาท หลังจากรัฐบาลได้ออกมาตรการเฟส 1 ช่วยเหลือผู้ประกอบการและมาตรการเฟส
2 ช่วยเหลือแรงงานในระบบไปแล้ว การเดินหน้าเข้าสู่มาตรการเฟส
3 ที่จะครอบคลุมกลุ่มคนทุกระดับ จึงใช้เม็ดเงินมากสุด หรือมากกว่า
2 มาตรการแรกรวมกัน เพื่อช่วยเหลือระชาชนทุกระดับตั้งแต่รากหญ้าจนถึงกลุ่มนักลงทุน
เพื่อกระตุ้นและผลักดันเศรษฐกิจชุมชน
เน้นสร้างรายได้แรงงานที่เดินทางจากส่วนกลางกลับสู่ภูมิลำเนา
มาตรการช่วยเหลือระยะที่ 3 นี้ ครอบคลุม 3 ส่วน คือ
1. การดูแลประชาชนและเกษตรกร
โดยจะดำเนินการให้ภาคเกษตรเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเกิดการสร้างการจ้างงานกระจายลงหมู่บ้าน
2. ดูแลสภาพคล่องผู้ประกอบการเพิ่มเติม
3. ดูแลเสถียรภาพระบบตลาดเงินและตลาดทุน ครอบคลุมทุกภาคส่วน
ทั้งประชาชน ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายกลางและรายย่อย และระบบการเงิน การลงทุน
รวมถึงสถาบันการเงิน การลงทุนในตลาดทุน และหุ้นกู้
โดยคาดหมายว่าจะกระตุ้นให้แรงงานไหลกลับเข้าสู่ภาคเกษตร (Labor Migration) ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา
โดยมีโครงการสำคัญที่จะช่วยให้แรงงานไหลกลับเข้าสู่ภาคเกษตรเพื่อให้เข้าไปเรียนรู้และปฏิบัติตาม
แหล่งอ้างอิง :
https://thaipublica.org/2020/03/world-bank-report-poverty-inequality-thailand/
