EEC ไปต่ออย่างไรเมื่อลงทุนทั่วโลกเจอพิษโควิด-19

SME Update
06/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3489 คน
EEC ไปต่ออย่างไรเมื่อลงทุนทั่วโลกเจอพิษโควิด-19
banner

หลังรัฐบาลคลายล็อกดาวน์จากมาตรการป้องกันโควิด-19 บรรยากาศการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของไทยปี 2563 เริ่มมีแสงสว่างขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ภายใต้กฎหมายต่างด้าวที่ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกขับเคลื่อนอีอีซี ซึ่งในช่วงตลอดเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจรวมทั้งสิ้น 56 ราย

แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจำนวน 22 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจจำนวน 34 ราย มีนักลงทุนต่างชาติลงทุนเพิ่มขึ้น 11 ราย หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 24% มีเม็ดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 11,401 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87 ล้านบาท คิดเป็น 0.77% โดยมีนักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนสูงสุดจำนวน 7 ราย คิดเป็นเงินลงทุนจำนวน 386 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์จำนวน 5 ราย เงินลงทุน 623 ล้านบาท และจีนจำนวน 2 ราย เงินลงทุน 330 ล้านบาท

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 กลุ่มนักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 355 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้นรวม 58,407 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 พบว่ามีจำนวนนักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นจำนวน 22 ราย หรือเพิ่ม 7% เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 3,653 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7%

สาเหตุต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่กระนั้นการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรก โดยภาพรวมการลงทุนลดลงบ้างแต่ไม่ถึงกับมากนัก เพราะมีการลงทุนเดิมที่ขอบีโอไอไว้แต่ภาพทั้งปีก็อาจจะลงลึก ซึ่งประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ว่าการลงทุนจะขึ้นเกิดเมื่อไหร่ เพราะหากประเมินการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จะสำเร็จอย่างราวต้นปี 2564 ดังนั้นในช่วงเวลา 6-9 เดือนนี้จะเป็นช่วงสำคัญที่ไทยต้องเชื่อมโยงให้ผู้ลงทุนต่างชาติเข้ามา เพื่อจะรักษาโมเมนตั้มการลงทุนภายในประเทศให้เกิดความต่อเนื่อง

สอดคล้องกับความคิดเห็นของน.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประเมินสถานการณ์การลงทุนหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลายจะทำให้มูลค่าการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 2 แห่งในอีอีซี 1 แห่งและนอกเหนือโครงการอีอีซีอีก 1 แห่ง จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติและมียอดขายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจสหรัฐและจีน ซึ่งทำให้นักลงทุนบางส่วนที่มีฐานในจีน ฮ่องกง และไต้หวัน เตรียมย้ายฐานการผลิตเข้ามาที่ประเทศไทย รวมทั้งการเข้าไปลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 2 แห่งยังคงได้รับความสนใจเป็นพิเศษในการเข้าจัดตั้งโรงงาน และส่วนใหญ่ได้ทำสัญญาจองเช่าและมัดจำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

 

กนอ.มั่นใจต่างชาติหวนกลับมาลงทุนในไทย

แม้ว่าช่วงการระบาดของโควิด-19 จะกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย แต่ยังนับว่าเป็นโอกาสดีที่มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 2 แห่ง คือ

1. นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง โครงการ 6  ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปลวกแดง อำเภอบ้านค่าย และอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง บนพื้นที่ 1,322.40 ไร่ มูลค่าการลงทุนโครงการประมาณ 2,625.78 ล้านบาท

2. นิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์  นอกเหนือโครงการอีอีซีตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง บนพื้นที่ 1,398.04 ไร่ มูลค่าการลงทุน 4,237.17 ล้านบาท

ขณะเดียวกันมีนิคมอุตสาหกรรมที่ได้ลงนามสัญญากับ กนอ.แล้ว และอยู่ระหว่างการประกาศเขตอีก 2 แห่ง ประกอบด้วย

1. นิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี 2 (เขาคันทรง)  พื้นที่ 902.59 ไร่ มูลค่าการลงทุน 2,100 ล้านบาท

2.นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย คลีน อินดัสเตรียล ปาร์ค จ.ชลบุรี  พื้นที่ 1,319.89 ไร่ มูลค่าการลงทุน 2,447.75 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ.ทั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง และนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานรวม 61 แห่ง และท่าเรืออุตสาหกรรม 1 แห่งใน 17 จังหวัด เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง 14 แห่ง และนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน 47 แห่ง

ทั้งนี้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 (ต.ค.2562-พ.ค.2563) กนอ.มียอดขายหรือเช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 1,696.92 ไร่ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.86% มีการแจ้งเริ่มกิจการใหม่ 114 โรงงาน เกิดการจ้างงานเพิ่ม 12,019 คน โดยยอดการขายหรือเช่าพื้นที่ที่ลดลงเพราะการระบาดของโควิด-19 ทำให้นักลงทุนที่ยังไม่จองที่ดินและมัดจำกับผู้พัฒนาที่ดินหรือจองเช่ากับ กนอ.ต้องยืดเวลาไปเพราะเดินทางมาไม่ได้

นักธุรกิจจีนเชื่อทุนมังกรแห่ซบไทยหนีสงครามการค้า

ประเทศไทยถือว่าเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และท่องเที่ยว ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่ น.ส.หลุ่ย แซ่กั๊ว ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเจียระไน กรุ๊ป จำกัด และโบรกเกอร์อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย มองว่า หลังไทยผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 มั่นใจว่ากลุ่มนักลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่จะพาเหรดย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซีเป็นจำนวนมาก เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างหรัฐอเมริกาและจีนที่ยังคงทวีความรุนแรงต่อเนื่อง

“ไทยถือว่าเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน ที่นักลงทุนชาวจีนส่วนใหญ่มองว่าลงทุนแล้วสามารถลำเลียงส่งสินค้าไปได้ทุกเส้นทาง ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล ถือว่าเป็นจุดเด่นที่ได้เปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกัน ที่สำคัญไทยและจีนถือว่าเป็นชาติพันธมิตรมานานนับร้อยปี ไม่เคยมีความขัดแย้งระหว่างกัน ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นในประเทศไทย เมื่อเข้ามาลงทุนแล้วเกิดความสบายใจ”

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 น.ส.หลุ่ย เชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวจะฟื้นตัวรวดเร็ว เพราะนักท่องเที่ยวชาวจีนจะหวนกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากกว่าเดิม จากที่เดินทางมาเยือนไทยปีละกว่า 10 ล้านคน อาจเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว เนื่องจากชาวจีนเริ่มให้ความมั่นใจกับระบบสาธารณสุขของไทยที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน ทำให้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยอยู่ในวงจำกัดจนชาวจีนและทั่วโลกทึ่งกับประเทศไทย จึงกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ เช่นเดียวกับโครงการอีอีซีที่นักลงทุนจีนต่างสนใจเข้าไปลงทุนด้วยไม่ขาดสาย

ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 โครงการอีอีซี คือหัวใจสำคัญในการดึงดูดกลุ่มนักลงทุนทั่วโลกเข้ามาลงทุนด้วย เนื่องจากรัฐบาลปลดล็อกหลากหลายเงื่อนไขเพื่อให้เอื้อกับนักลงทุนในการเข้ามาลงทุน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยกลับมาคึกคักและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ไปแล้ว


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


เตรียมพร้อมแรงงานไทย สู่อุตสาหกรรมวิถีใหม่

EEC ดัน SMEs 4.0 ด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1294 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1662 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1917 | 25/01/2024
EEC ไปต่ออย่างไรเมื่อลงทุนทั่วโลกเจอพิษโควิด-19