จากสุเอซ – ปานามา ถึงแนวคิดการขุด ‘คลองไทย’

SME Update
03/04/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 8943 คน
จากสุเอซ – ปานามา ถึงแนวคิดการขุด ‘คลองไทย’
banner

เหตุการณ์กิจกรรมการขนส่งทางทะเลเส้นเอเชียยุโรปเกิดอัมพาตไปเกือบสัปดาห์ จากกรณีเรือบรรทุกสินค้าเอเวอร์ กิฟเวน (Ever Given) ที่ดำเนินการโดยบริษัทเอเวอร์กรีน มารีน ของไต้หวันได้เกิดเสียหลักเกยตื้นขวางคลองสุเอซ นับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม เรือได้รับการช่วยเหลือให้หลุดจากการเกยตื้นได้สำเร็จ และถูกลากออกไปจากคลองสุเอซแล้ว

อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ประเด็นเรื่องการหาเส้นทางลัดในกิจกรรมการเดินเรือขนส่งทางทะเลถูกจุดประเด็นขึ้นในหลายด้าน ทั้งในมิติด้านความเสียหายและผลกระทบจากการขนส่งที่ล่าช้า และอาจนำไปสู่ความเสียหายด้านเศรษฐกิจอีกหลายมิติ อาทิ ค่าระวางเรือที่อาจขยับสูงขึ้นอีก ต้นทุนของการขนส่งทางทะเล การทำประกันสินค้า และรวมถึงประเด็นที่คนไทยกำลังกล่าวถึงมาก คือการ คอคอดกระ หรือที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นคำว่า คลองไทย โครงการที่มีแนวคิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นได้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

คลองสุเอซ

คลองสุเอซเป็นคลองขุดที่มีความสําคัญมากแห่งหนึ่งของโลก มีระยะทางทั้งหมดโดยประมาณ 77 ไมล์ทะเล ใช้เวลาในการเดินทางโดยประมาณ 12-18 ชั่วโมง ปัจจัยที่ทําให้คลองสุเอซมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและการค้าของโลก นับตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมจวบจนถึงปัจจุบัน คือคลองสุเอซเป็นเส้นทางเดินเรือจากทวีปยุโรปไปยังทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกาฝั่งตะวันออกที่สั้นที่สุด จากเดิมที่การเดินเรือเพื่อขนส่งสินค้าจากทวีปยุโรปสู่ทวีปเอเชียต้องเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลําบาก ใช้เวลาเดินทางนานและเสียค่าใช้จ่ายมาก ยกตัวอย่าง หากเริ่มต้นทางมุมไบของอินเดียไปลอนดอน ผ่านคลองสุเอซมีมีระยะทางประมาณ 6,328 ไมล์ทะเล ขณะที่หากอ้อมไปทางแหลมกู๊ดโฮปมีระยะทาง 10,918 ไมล์ทะเล


คลองปานามา

เป็นอีกคลองที่สร้างขึ้นจากแรงงานมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการขนส่งทางทะเลและเศรษฐกิจโลกไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคลองสุเอซ  โดยคลองปานามาตั้งอยู่ตรงคอคอดปานามา ระหว่างตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาเหนือกับตอนเหนือสุดของทวีปอเมริกาใต้ ประเทศปานามา มีความยาวทั้งสิ้น 41.5 ไมล์ทะเล เป็นคลองขุดเพื่อเชื่อมมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก ปากคลองทางด้านมหาสมุทรแอตแลนติกในทะเลแคริบเบียน มีเมืองโกลอนเป็นเมืองท่า ส่วนทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก มีเมืองบัลโบอาตั้งอยู่ที่ปากคลอง เป็นเส้นทางเดินเรือทางลัดที่ช่วยย่นระยะทางโดยไม่ต้องอ้อมตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ทำให้การเดินทางระหว่าง 2 มหาสมุทรสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ใช้เวลาเดินเรือผ่านคลองประมาณ 8 ชั่วโมง

 

ตรงนี้สิ่งที่ควรทราบคือ คลองสุเอซ ตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์ มีรายได้จากค่าผ่านคลองคิดเป็นประมาณ 2% ของ GDP ประเทศอียิปต์ ขณะที่คลองปานามา แม้จะสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศปานามามากมายเช่นกัน แต่สำหรับท่านที่เคยศึกษาเรื่องการขุดคลองจะทราบว่า คลองปานามาถูกยึดครองโดยชาติมหาอำนาจหลายๆ ครั้ง จนนำไปสู่การทำสนธิสัญญาที่ให้ปานามารักษาความเป็นกลางในการเปิดคลอง ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจปานามาถึงยึดโยงกับเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายว่า สรุปแล้ว 'คลองปานามา' ใครเป็นเจ้าของกันแน่ !

 

ประเทศไทยควรขุด คลองหรือไม่?

สำหรับประเด็นการตัดสินใจว่าจะผ่านคลองหรือไม่ผ่าน ก็เป็นอีกแง่มุมที่ผู้ให้บริการขนส่งทางทะเลต้อง มีการวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่า ค่าใช้จ่ายและขีดจำกัดในเรื่องของ เวลา คือสิ่งที่ผู้ให้บริการขนส่งทางทะเลต้องคิดให้รอบคอบ

ในกรณีคลองสุเอซ ผ่านคลองโดยเริ่มจากไทยไปลอนดอนอาจใช้เวลา 20-25 วัน ขณะที่ไม่ผ่านคลองอาจต้องใช้เวลาถึง 35–40 วันโดยการใช้เส้นทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ซึ่งมีปัญหาด้านสภาพอากาศแปรปรวน สุ่มเสี่ยงการเจอโจรสลัด และเรือที่วิ่งนานๆ อาจเจอปัญหาขาดแคลนเสบียง น้ำดื่ม หรืออื่นๆ ที่มีความจำเป็นในขณะเดินทาง

ขณะที่คลองปานามา หากเริ่มต้นทาง Gibraltar (อังกฤษ) ไป Portland (อเมริกา) เเล้วจะไปผ่านที่ America Long Beach หากใช้เส้นทางเดินเรือผ่านคลองปานามาจะใช้เวลา 26.5 วัน ระยะทางประมาณ 8,233 ไมล์ทะเล แต่หากเลือกที่จะไม่เดินเรือผ่านคลองปานามา ซึ่งต้องวิ่งมาทางตอนใต้ของประเทศชิลี อันนี้จะระยะทางที่ไกลกว่า โดยมีระยะทาง13,152 ไมล์ทะเล ใช้เวลาเดินทาง 42 วัน ไกลกว่าผ่านคลองปานามาส่วนต่างเกือบ 5,000 ไมล์ทะเล

ตรงนี้จะเห็นภาพชัดว่าหากเรือจะผ่านคลองหรือไม่ผ่านคลอง จะประเมินเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่าย เงื่อนไขเวลา และความเสี่ยงต่างๆ ขณะที่ข้อมูลระบุว่า การขุดคลองไทยสามารถย่นระยะเวลาได้ 3 วัน กรณีหากไม่อยากผ่านช่องแคบมะละกาอาจเป็นอะไรที่หยุมหยิมมาก

คลองไทยย่นเวลาได้เพียง 3 วัน !

ทั้งนี้มีข้อมูลจาก คณะกรรมาธิการกระทรวงคมนาคม และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ระบุว่า การเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือที่ไม่ต้องไปอ้อมช่องแคบมะละกา ย่นระยะทางได้ประมาณ 700 กิโลเมตร หรือลดเวลาการเดินทางได้ 2-3 วัน ซึ่งเป็นเส้นทางเรียกว่าแนว 9A โดยคลองตัดผ่าน 5 จังหวัด คือ ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ยาวประมาณ 135 กิโลเมตร เริ่มจาก อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง, จังหวัดนครศรีธรรมราช และออกสู่อ่าวไทยที่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

รวมทั้งที่ผ่านมามีผลการศึกษาของกระทรวงคมนาคม ในการพิจารณาการขุดคลองไทยหรือคอคอดกระ ปี 2548 ที่ศึกษาในเรื่องของความจำเป็นและความคุ้มค่า รวมทั้งได้รวบรวมผลการศึกษาของทั้งคนและต่างประเทศ เพื่อหาข้อสรุปถึงผลกระทบทั้งใน 5 มิติ  เศรษฐกิจ ความมั่งคง การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งก็มีผลกระทบในทางบวกและทางลบ โดยสรุปสาระสำคัญ คือ ผลในทางบวกกลับไม่มีความจำเป็นต่อประเทศ

ขณะที่ผลในทางลบนั้นมีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่การลงทุนอาจไม่เกิดความคุ้มค่า ทั้งยังก่อหนี้ก้อนใหญ่ให้กับประเทศ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชน การแบ่งแยกดินแดน และประเด็นที่ประเทศมหาอำนาจอาจจะจะเข้ามาครอบครอง

ด้วยเหตุนี้ มติของ กมธ.คมนาคม ที่ผ่านมาจึง ตีตก เรื่องการขุดคลองไทยตลอดมา แม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายมาอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็ต้องรับตาดูคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาการขุดคลองไทยและระเบียงเศรษฐกิจพิเศษชุดล่าสุด จะตัดสินใจเดินหน้าหรือยุติการสานฝันคลองไทยไปจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจเสียที

 

อ้างอิง : สมาคมเจ้าของเรือไทย


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เปิด 7 นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยส่งธุรกิจ SME ไทย ให้พร้อมพัฒนาสู่เวทีโลก

เปิด 7 นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยส่งธุรกิจ SME ไทย ให้พร้อมพัฒนาสู่เวทีโลก

ค้นพบ 7 นวัตกรรมใหม่ที่กำลังปฏิวัติโลกธุรกิจ พร้อมวิธีประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงContent…
pin
2 | 16/03/2025
ESG มีอะไรบ้าง? รู้จักแนวทางปฏิบัติเพื่ออนาคตของ SME ยุคใหม่

ESG มีอะไรบ้าง? รู้จักแนวทางปฏิบัติเพื่ออนาคตของ SME ยุคใหม่

Topic Summary:บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกหลักการ ESG ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมแนวทางการนำไปปรับใช้จริงที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้Content…
pin
5 | 12/03/2025
สรุป 5 จุดเด่นที่ควรรู้เกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ ‘Deep Research’ ของ Perplexity

สรุป 5 จุดเด่นที่ควรรู้เกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ ‘Deep Research’ ของ Perplexity

รู้จักกับ ‘Deep Research’ ฟีเจอร์ใหม่ของ Perplexity ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมืออาชีพ โดยฟีเจอร์ Deep Research…
pin
7 | 06/03/2025
จากสุเอซ – ปานามา ถึงแนวคิดการขุด ‘คลองไทย’