5 วิธี SME เก็บข้อมูลให้ปลอดภัยบนโลกออนไลน์

SME Update
10/03/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2038 คน
5 วิธี SME เก็บข้อมูลให้ปลอดภัยบนโลกออนไลน์
banner

ในปี 2563 เฉพาะในประเทศไทยมีภัยคุกคามไซเบอร์กว่า 2,250 ครั้ง อันดับ 1 คือการโจมตีด้วยโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์หรือมัลแวร์ (Malicious Code) จำนวนถึง 687 ครั้ง

ขณะที่ทั่วโลกกำลังสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เอสเอ็มอีทั่วโลกจำนวนไม่น้อยก็กำลังต่อสู้กับการโจมตีทางไซเบอร์ โดยเฉพาะในปีนี้ที่มีการคาดการณ์ว่า SME จะตกเป็นเป้าหมายมากกว่าที่เคย เหตุผลก็เพราะบริษัทขนาดใหญ่อาจมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับแฮกเกอร์ภัยคุกคามขั้นสูง (APT) หรือการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น จึงได้ลงทุนจำนวนมากในการป้องกัน

ต่างกับเอสเอ็มอีที่ส่วนใหญ่แล้วมักขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่องค์กรขนาดใหญ่มี โดยมักจ้างเอาต์ซอสมาดูแลข้อมูล ซึ่งนั่นอาจทำให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้

ในเรื่องนี้ Adam Hunt หัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของ RiskIQ และ Phyllis Newhouse ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Xtreme Solutions บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้แนะนำเคล็ดลับดีๆ เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีนำไปปรับใช้มาฝาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. อย่าประเมินมูลค่าธุรกิจของคุณต่ำเกินไป

SME อาจเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจของตัวเองไม่ใหญ่พอที่ต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยแบบเต็มรูปแบบ แต่การโจมตีทางไซเบอร์ไม่เพียงแต่จะกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย แฮกเกอร์บางรายอาจขโมยข้อมูลประจำตัวของบริษัทหนึ่งเพื่อเข้าถึงบริษัทอื่น เช่น เอสเอ็มอีอาจสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาการวิจัยหรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้าได้ ซึ่งนั่นอาจหมายถึงหายนะที่อาจทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวลงได้เลย

โดยผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Xtreme Solutions กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ตอนนี้มีบริษัทอยู่ 2 ประเภทก็คือ บริษัทที่ถูกแฮกแล้ว และบริษัทที่กำลังจะถูกแฮก
 

2. สำรองข้อมูลทุกอย่างเพื่อความปลอดภัย

การโจมตีของแรนซัมแวร์ (Ransomware) ก็คือการที่แฮกเกอร์ใช้มัลแวร์ประเภทหนึ่งที่จะป้องกันไม่ให้ บริษัทต่างๆ เข้าถึงระบบตัวเองเว้นแต่ยอมจ่ายค่าไถ่จำนวนมหาศาล โดยตั้งแต่ปี 2559 การโจมตีของ Ransomware เพิ่มขึ้น 6,000 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และจากการศึกษาของ IBM แรนซัมแวร์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากการระบาดของโควิด 19 แฮกเกอร์มักมุ่งเป้าไปที่ระบบไอทีในโรงพยาบาลหรือการดูแลสุขภาพเป็นสำคัญ

ดังนั้นเอสเอ็มอีควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ากิจการของคุณ ได้สำเนาทุกสิ่งทุกอย่างที่สำคัญและจำเป็น หรือข้อมูลที่ขาดไม่ได้เรียบร้อยแล้วหรือยัง?

 

3. ซักซ้อมแผน ประหนึ่งวิกฤตไซเบอร์ได้เกิดขึ้นจริง

เอสเอ็มอีควรทดสอบความพร้อมทางไซเบอร์อยู่เสมอ ซึ่งวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้คือการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (TableTop Exercise : TX) โดยจำลองสถานการณ์วิกฤตไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อเตรียมการตั้งรับ ป้องกัน และแก้ไข พร้อมทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้ร่วมฝึกซ้อมทุกคนเข้าใจในสถานการณ์ภาพรวมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

บ่อยครั้งที่พนักงานจำนวนไม่น้อยอาจละเลยการเปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 30 วัน หรือพนักงานหลายคนอาจถูกหลอกลวงด้วย Phishing ง่ายๆ (เทคนิคการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ) โดย Phyllis Newhouse กล่าวเพิ่มเติมว่า การละเมิดข้อมูลเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งเนื่องจากบริษัทต่างๆ ละเลยที่จะปฏิบัติตามสุขอนามัยทางไซเบอร์ (Cyber Hygiene) ที่เหมาะสม การฝึกซ้อมแผนจะช่วยให้บริษัทตระหนักถึงจุดอ่อนในระบบของตัวเอง และสิ่งที่จะสามารถทำได้เพื่อปรับปรุงให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

4. งบประมาณด้าน Cyber Security

ด้วยความที่เอสเอ็มอีมีงบประมาณจำกัดในการใช้จ่ายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ดังนั้นเมื่อตัดสินใจว่าจะลงทุนแล้ว บริษัทต่างๆ ก็ควรคำนึงถึงจำนวนเงินที่จะสูญเสียหากข้อมูลของตนถูกโจรกรรม โดยผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Xtreme Solutions ได้ยกเคสตัวอย่างก็คือ บริษัทกฎหมายเล็กๆ ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ มีพนักงานไอทีคนหนึ่งซึ่งเป็นพนักงานที่ไม่มีพื้นฐานทางไซเบอร์ ก่อนจบลงด้วยการจ่ายเงินค่าไถ่ประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 60 ล้านบาท) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกโจรกรรมกลับคืนมา

หากคุณมองความสูญเสียที่แท้จริงของบริษัทแล้ว โดยเฉพาะในแง่ของทรัพย์สินทางปัญญา การวิจัย และอื่นๆ นับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า โดยการให้เอาต์ซอสที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญโดยเฉพาะมาดูแล เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลปลอดภัย หรือจะจ้างใครสักคนที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนี้จริงๆ มาดูแล Cyber security เป็นการเฉพาะ” ซีอีโอของ Xtreme Solutions กล่าวเสริม

 

5. ลงทุนในเครื่องมือสแกนเพื่ออุดช่องโหว่

เอสเอ็มอีควรลงทุนในเครื่องสแกนช่องโหว่ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่สแกนเครือข่ายเว็บเซิร์ฟเวอร์และแอปพลิเคชันเป็นประจำ โดยจะทำให้บริษัททราบว่าจุดอ่อนของตัวเองคืออะไร ซึ่งนั่นก็หมายถึงช่องโหว่ด้านความปลอดภัยด้วย เพื่อที่จะได้เร่งอุดรอยรั่วและเสริมระบบป้องกันได้ทันท่วงที

ข้อสำคัญที่ควรทราบก็คือ บริษัทผู้ให้บริการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นเป็นเป้าหมายที่มีมูลค่าสูงสำหรับแฮกเกอร์ ในขณะที่การลงทุนด้านความปลอดภัยอาจทำให้เอสเอ็มอีรู้สึกปลอดภัย แต่สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของ Cybersecurity Vendor รวมถึงต้องมีการประเมินว่า มาตรฐานที่เอ่ยอ้างนั้นสามารถทำได้จริงด้วย

แม้จะเป็นผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ในวงการ Cybersecurity เอสเอ็มอีก็ต้องประเมินมาตรฐานอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจถึงความปลอดภัยที่เราจะได้รับAdam Hunt กล่าวทิ้งท้าย

ความท้าทายสำหรับเอสเอ็มอีก็คือ สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น มักจะถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้แพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม ทำให้บ่อยครั้งที่แนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ไม่สามารถนำมาติดตั้งหรือแก้ปัญหาเฉพาะด้าน หรือไม่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายเฉพาะบางประการได้ ขณะที่เมื่อพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาใช้เองก็เวลานานจนบางครั้งอาจไม่ทันกับสถานการณ์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอนาไลติกส์มาใช้ในการช่วยวิเคราะห์ธุรกิจและภัยคุกคาม แต่มักจะเห็นผลตอบแทนช้า อันเนื่องมาจากปริมาณข้อมูลไม่มากเพียงพอ

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.inc.com/amrita-khalid/

https://www.inc.com/magazine/

https://www.depa.or.th/

https://www.thaicert.or.th/

http://www.rdpb.go.th/

https://www.dga.or.th/

 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1320 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1689 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1932 | 25/01/2024
5 วิธี SME เก็บข้อมูลให้ปลอดภัยบนโลกออนไลน์