นโยบายการค้า-การลงทุนญี่ปุ่นในยุคนายกสุงะ

SME Go Inter
04/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2083 คน
นโยบายการค้า-การลงทุนญี่ปุ่นในยุคนายกสุงะ
banner

การประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นของ "นายชินโซ อาเบะ" เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมาจากเหตุผลด้านสุขภาพ ได้สร้างตื่นตระหนกต่อภาคส่วนต่างๆ ไม่น้อย ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรีอาเบะถือเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานนับจากปี 2555 ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้

การลาออกดังกล่าวเป็นการลาออกแบบยกทีม เพื่อเปิดทางให้ "นายโยชิฮิเดะ สุงะ" เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เปรียบเสมือนมือขวาของ "อาเบะ" ซึ่งเพิ่งจะได้รับการเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) พรรคที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในเวลาต่อมา โดยนายสุงะจะดำรงตำแหน่งไปจนสิ้นสุดวาระที่ 2 ในเดือนกันยายน 2564

หลายฝ่ายจับตามองถึงการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศอย่างตาไม่กระพริบ โดยเฉพาะการสานต่อนโยบายเศรษฐกิจหลัก "อาเบะโนมิกส์" ที่อาเบะวางไว้ 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ประเด็นนี้ "นายสุงะ" ประกาศจุดยืนการทำงานว่าพร้อมจะมีนโยบายให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น ผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน เพื่อคงระดับการจ้างงาน พร้อมทั้งระบุด้วยว่าญี่ปุ่นมีธนาคารท้องถิ่นมากเกินไป ซึ่งจะสนับสนุนให้ธนาคารเหล่านั้นรวมกันเป็นหนึ่ง โดยยังคงยึดนโยบายอาเบะโนมิกส์ที่เคยดำเนินการมาก่อนหน้านี้ เพื่อดึงให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นจากภาวะเงินฝืดให้ได้

ทางสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รายงานสรุปข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ว่า จะเน้น 3 เรื่องหลัก คือ

1) การสานต่อนโยบายอาเบะโนมิกส์ โดยให้ความสำคัญกับการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด 19 ควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

2) การปฏิรูประบบราชการ สร้างความเข้มแข็งด้วยมาตรการต่างๆ และการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน

3) แนวคิดในการส่งเสริมและพัฒนาระบบดิจิทัล โดยมีแนวคิดจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อบูรณาการทำงานระหว่างกัน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม  

ขณะเดียวกัน "นายสุงะ" ยังได้ดำเนินมาตรการเพื่อพลิกฟื้นสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทันที โดยการ "ยกหูโทรศัพท์" ถึงประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน เพื่อหารือกันครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา หลังจากก้าวขึ้นรับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและจีนมีปัญหากันอย่างมากในช่วงระยะหลัง โดยเฉพาะกรณีความขัดแข้งในเรื่องเกาะเตียวยู/เซนกากุ และการเยือนศาลเจ้าที่บูชาดวงวิญญาของอาชญกรสงคราม ช่วงสงครามโลกของอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งทำให้จีนไม่พอใจอย่างมาก และญี่ปุ่นก็มองจีนว่าเป็นภัยคุกคามอย่างชัดเจน

ท่าทีการแสดงออกของผู้นำในครั้งนี้ ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ดีสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยทั้งสองมีความเห็นพ้องไปในทางเดียวกัน ที่จะมุ่งให้ความสำคัญกับการรักษาห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการลงทุนระหว่างกัน จากก่อนหน้านี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีนโยบายให้ภาคเอกชนกระจายความเสี่ยงการลงทุน จากการขยับย้ายฐานการผลิตจากที่เคยพึ่งพาจีนเป็นหลักให้กลับมาที่ญี่ปุ่น หรือกระจายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อกระจายความเสี่ยง

ในส่วนของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมถึงไทย ต่างก็ต้องจับตามองการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจสองประเทศนี้อย่างใกล้ชิดเช่นกัน เพื่อวางมาตรการและกำหนดนโยบายที่จะส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนเข้ามายังกลุ่มภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะไทยที่ต้องการการดึงดูดทั้งนักลงทุนญี่ปุ่นและจีนเข้ามายังเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในฐานะที่ทั้งสองประเทศนี้ถือเป็นเจ้าตลาดที่เข้ามาลงทุนอันดับต้นๆ ของไทยเลยก็ว่าได้


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน รอบใหม่ไทยอาจได้ประโยชน์

10 Megatrends อาหารเพื่อโลกที่หิวโหย

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6264 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2025 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5031 | 23/10/2022
นโยบายการค้า-การลงทุนญี่ปุ่นในยุคนายกสุงะ