เทรนด์ธุรกิจคนขี้เกียจมาแรง ปี 2020

SME Update
09/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 55056 คน
เทรนด์ธุรกิจคนขี้เกียจมาแรง ปี 2020
banner

ในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีอิทธิพลและอำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของสังคมยุคใหม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคกลายเป็นมนุษย์รักสบาย หรือ เรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นมนุษย์“ขี้เกียจ” ทำให้เกิด “เศรษฐกิจคนขี้เกียจ” หรือ ภาษาอังกฤษเรียกเท่ๆ ว่า Lazy Economy รองรับกลุ่มผู้บริโภคสังคมปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจใหม่มาแรงในปี 2020 หรือ ปี 2563 เพราะสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภครักความสะดวกสบายโดยตรง ที่ผู้ประกอบการไทยใครเริ่มต้นก่อนย่อมได้เปรียบ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


เศรษฐกิจคนขี้เกียจเริ่มปรากฏภาพชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2561 หลังจากเว็บไซต์ “อาลีบาบา” (Alibaba) ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ของประเทศจีน เปิดให้บริการมนุษย์ขี้เกียจสั่งซื้อสินค้า “Lazy Products” หรือ “ผลิตภัณฑ์ตอบสนองความขี้เกียจ”ปรากฎว่ามียอดขายปีแรกถล่มทลายคิดมูลค่าสูงถึง 16 พันล้านหยวน หรือราว 6.9 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว จากนั้นกระแสลุกลามไปทั่วโลก รวมทั้งอาเชียน และประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจขี้เกียจที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเดียว แต่เกิดจากความขี้เกียจของสังคมยุคสมัยใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่ชื่นชอบรักความสะดวกสบายที่พร้อมทุ่มเงินซื้อสินค้า จ่ายค่าบริการ หรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ทำให้ธุรกิจดังกล่าวตอบโจทย์ความต้องการให้กับมนุษย์ขี้เกียจในยุคดิจิทัลอย่างน่าทึ่ง

ปี 2563 ธุรกิจที่จะเกิดการแข่งขันรุนแรงที่สุด คือ ธุรกิจอาหารพร้อมส่ง หรือที่เรียกว่า ฟู้ด เดลิเวอรี่ (Food Delivery) หลังจากยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพี ประกาศสงครามแย่งส่วนแบ่งตลาดฟู้ด เดลิเวอรี่ อย่างเต็มตัว หลังจากก่อนหน้านี้ปล่อยให้คู่แข่งยักษ์ใหญ่ค้าปลีกชิมลางเดินเครื่องครองส่วนแบ่งตลาด ทำให้ซีพีเสียโอกาสทางการตลาด

โดยปี 2562 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจคนขี้เกียจเติบโตพุ่งกระฉูดสวนกระแสเศรษฐกิจโดยรวม เพราะได้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง เพียงแค่ลูกค้ากดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ที่สมัครเป็นสมาชิกใช้บริการกับผู้ให้บริการ ฟู้ด เดลิเวอรี่ ไม่ว่าร้านดังจะอยู่ตรงไหน ใกล้ หรือไกล ก็ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปซื้อเองให้เมื่อย แค่นั่งรอ นอนรอ อยู่ที่บ้าน อาหารเมนูจานเด็ดที่สั่งไปผ่านแอปพลิเคชันก็จะมีคนขับรถจักรยานยนต์มาส่งถึงมือที่บ้าน โดยมูลค่ารวมของ”ฟู้ด เดลิเวอรี่” ปีที่แล้วพุ่งสูงถึง 3.3-3.5 หมื่นล้านบาททีเดียว และปี 2563 ธุรกิจ ฟู้ด เดลิเวอรี่ ยังคงมาแรง

 

ฟู้ด เดลิเวอรี่ ห่วงโซ่ตอบโจทย์คนขี้เกียจ

จากการทำวิจัยของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล(CMMU) ระบุว่า ฟู้ด เดลิเวอรี่  กลายเป็นห่วงโซ่ธุรกิจสนองเศรษฐกิจขี้เกียจ ที่กำลังเติบโตไม่หยุด นับตั้งแต่ปี 2561 ลากยาวปี 2563 กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดเฟื่องฟูในประเทศไทยว่าได้ ทุกวันนี้ไม่ได้มีแค่ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเท่านั้นเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจนี้ แต่ยังมีผู้เล่นอีก 2 ส่วน เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดก้อนโตและพลิกโอกาสทองจาก "ช่องว่าง" เล็กๆ กลายเป็นขุมทรัพย์มหึมา นั่นคือ ร้านอาหารและคนส่งอาหาร

โดยมีการคาดการณ์ว่า ร้านอาหารทั้งในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่จะมีเข้ามาส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท และคนส่งอาหารจะมีส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 3.9 พันล้านบาท ส่วนผู้ให้บริการแอปพลิเคชันที่เป็นผู้กุมห่วงโซ่ ฟู้ด เดลิเวอรี่” นั้นคาดว่าจะมีส่วนแบ่งรายได้ประมาณ 3.4 พันล้านบาทเลยทีเดียว เมื่อมูลค่ามหาศาลขนาดนี้ แน่นอนว่า "การแข่งขันทางการตลาดย่อมดุเดือดเลือดพร่าน" หลายแบรนด์ต่างงัดกลยุทธ์โปรโมชันราคาออกมา เพื่อดึงดูดผู้บริโภคและเอาใจคนขี้เกียจ จากที่มีแค่แอปพลิเคชันเดียวอย่าง ‘แกร็บฟู้ด’ ปัจจุบันมีมากกว่า 10 แอปพลิเคชันเปิดศึกการแข่งขันทางการตลาด

 

ช้อปปิ้ง ออนไลน์ แห่ผุดแย่งส่วนแบ่งตลาด

ปัจจุบันประชาชนชาวไทยมีพฤติกรรมขี้เกียจทำอาหารมากขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับจากผลวิจัยเชิงลึกของ CMMU ยังพบว่าประชากรไทยสูงถึง 69% หรือประมาณ 45 ล้านคน ไม่เพียงแต่เป็นลูกค้า”ฟู้ด เดลิเวอรี่”แล้วธุรกิจ“ช็อปปิ้งออนไลน์ หรือเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซ ยังเป็นอีกหนึ่งห่วงโซ่ธุรกิจ ที่เริ่มเข้ามาตอบสนองความขี้เกียจของมนุษย์อย่างเป็นร่ำเป็นสัน ที่แห่เปิดให้บริการมากมาย ส่งผลทำให้มูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ซ มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง นั้บตั้งแต่ปี 2561 โดยมูลค่าสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท เช่นเดียวกับปี 2562 เติบโตสูงยิ่งขึ้นคิดมูลค่าอาจสูงถึง 3.8 ล้านล้านบาท และแนวโน้ยมไม่หยุดแค่นั้นในปี 2563 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าพุ่งทะลุกว่า 5 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

“ยกตัวอย่างตลาดอี-คอมเมิร์ซที่จัดโปรโมชั่นในช่วงเทศกาล 9.9, 11.11 หรือ 12.12 เมื่อปีที่ผ่านมา ปรากฎว่ามียอดสั่งซื้อของแต่ละเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมในไทยสูงขึ้นหลายเท่า โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่คนนิยมสั่งซื้อก็ยังหนีไม่พ้น สินค้าตอบสนองความขี้เกียจทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ตลอดทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นทั่วไปในครัวเรือน”


แม่บ้าน-ซ่อมบ้านเคลื่อนที่คนยุคใหม่ฮิตใช้บริการ

อีกหนึ่งพฤติกรรมตอบสนองความสังคมคนขี้เกียจ ที่กำลังกลายมาเป็นธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด นอกเหนือจากสั่งซื้ออาหารและการช้อปปิ้งออนไลน์แล้ว “ธุรกิจแม่บ้านทำความสะอาดและซ่อมบ้านเคลื่อนที่”มาแรงไม่แพ้กัน เนื่องจากสังคมยุคใหม่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลทำความสะอาดบ้านเรือน หรือห้องพักตามคอนโดมิเนียมต่างๆ ที่ต้องตื่นแต่เช้าไปทำงานกลับมาถึงที่พักก็ตกค่ำ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาด หรือบ้านพังชำรุดไม่มีปัญญาซ่อมแซมเองได้ ก่อให้เกิดธุรกิจบริการดังกล่าวที่ผู้ประกอบการเปิดเว็บไซต์ “แม่บ้านออนไลน์” และ “ช่างซ่อมบ้านออนไลน์” บริการผ่านแอปพลิเคชันมากกว่า 5 แอปพลิเคชันจากเดิมมีแค่ 1 ราย และยังมีสตาร์ตอัพรายใหม่อีกหลายรายเปิดให้บริการแบบลักษณ์ดังกล่าว สร้างรายได้ให้แม่บ้านออนไลน์และช่างซ่อมบ้านเกือบเท่าตัว ซึ่งจากผลวิจัยของ CMMU พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมขี้เกียจทำงานบ้านและซ่อมบ้านเองมากถึง 77% หรือประมาณ 50 ล้านคน

 

นักรับจ้างต่อคิวซื้อสินค้าแบรนด์ดังรุ่งฉุดไม่อยู่

กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อยเพราะเกิดจากความขี้เกียจนั่นเอง คือ “นักรับจ้างต่อคิว” ธุรกิจที่มีเวลาเป็นต้นทุน ถือเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เห็นได้จากงานเปิดตัวสินค้าแบรนด์ดังต่างๆ ที่มักจะมีคนแห่มาต่อแถวเพื่อซื้อสินค้าเป็นคนแรกๆ หรือที่เรียกว่า “ตั้งแคมป์” เพื่อต่อคิวซื้อสินค้า ซึ่งรายได้ของนักรับจ้างต่อคิวต่อครั้งอย่างต่ำก็คนละ 300 บาท หลายคนอาจมองว่าธุรกิจนี้ไม่แฟร์เท่าไร หรือเป็นธุรกิจที่ไม่น่าพิสมัย แต่ธุรกิจนักรับจ้างต่อคิว นับเป็นธุรกิจที่เกิดจากความพึงพอใจและการตกลงของ 2 ฝ่าย ระหว่างผู้จ้างและผู้ถูกจ้าง ที่ผู้จ้างยอมจ่ายเงินเพื่อเอาเวลาไปทำอย่างอื่น และผู้ถูกจ้างก็ยอมสละเวลาตัวเองเพื่อต่อคิวเพื่อแลกกับเงิน ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตาในอนาคตทีเดียว ซึ่งจากผลวิเคราะห์เชิงลึกของ CMMU พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมขี้เกียจรอคิวมากถึง 81% หรือประมาณ 53 ล้านคน

ธุรกิจและบริการเหล่านี้ในปี 2020 คาดว่าจะได้รับความนิยมและตอบสนองความต้องการตลาดกลุ่มคนขี้เกียจได้เป็นอย่างดี หากผู้ประกอบการ หรือกลุ่มสตาร์ทอัพที่กำลังมองหาแนวทางทำธุรกิจแนวใหม่ อาจจะหันมาศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมตลาดคนขี้เกียจและนำไปต่อยอดได้ในอนาคต



เทรนด์ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล ที่คุณต้องรู้

โจทย์ใหม่ค้าปลีก พฤติกรรมผู้ซื้อที่เปลี่ยนไป !


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1243 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1616 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1888 | 25/01/2024
เทรนด์ธุรกิจคนขี้เกียจมาแรง ปี 2020