การตลาดแบบเจาะใจชาว LGBTQ ในเดือน Pride Month

SME Update
13/06/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3109 คน
การตลาดแบบเจาะใจชาว LGBTQ ในเดือน Pride Month
banner

ก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายน หรือ “Pride Month” เดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาว LGBTQ กันอีกครั้ง แม้ว่าในปีนี้กิจกรรมอย่างงานพาเหรด หรือเฉลิมฉลองประจำปี อาจจะต้องถูกงดไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากโควิด 19 ที่ยังคงแพร่ระบาดหนักอย่างต่อเนื่องทั่วโลก หลายแบรนด์จึงเลือกที่จะสนับสนุนและยืนเคียงข้างชาว  LGBTQ ผ่านการตลาด แต่จะต้องทำอย่างไร ถึงจะได้ใจพวกเขาบ้าง มาดูกัน!

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ LGBTQ

ก่อนที่คุณจะเริ่มวางแผนการตลาด เพื่อเจาะใจชาว LGBTQ คุณควรที่จะทราบก่อนว่า

1) LGBTQ คือ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยมีอัตลักษณ์หรือรสนิยมแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม

2) ปัจจุบันมีชาว LGBTQ ทั่วโลกราว 483 ล้านคน โดยประชากรไทยที่เป็น LGBTQ มีประมาณ 4 ล้านคน

3) ธุรกิจที่มีโอกาสในการทำการตลาด ได้แก่ ธุรกิจความงามและสุขภาพ, ธุรกิจแฟชั่น, ธุรกิจการท่องเที่ยว, ธุรกิจเกี่ยวกับของใช้และไลฟ์สไตล์, ธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อทำบุตร เป็นต้น

4) ข้อมูลของเทอร์ร่า บีเคเค เผยว่า กลุ่ม LGBTQ มีรายได้มากกว่ากลุ่มสถานะชายหญิง เมื่อเทียบกับคนในวัยเดียวกัน โดยมีรายได้ 50,000-85,000 บาทต่อเดือน สัดส่วนมากกว่า 9% และมีรายได้มากกว่า 85,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป สัดส่วนมากกว่า 4%

5) รสนิยมเรียบหรูดูแพง เน้นแบรนด์และความน่าเชื่อถือเป็นหลักไม่เน้นตามเทรนด์เหมือนคนทั่วไป

 

หลักการทำการตลาดแบบเจาะใจชาว LGBTQ

- ความจริงใจและความต่อเนื่อง : เชื่อหรือไม่ หลากหลายแบรนด์ต่างพยายามจะทำการตลาดไปยังกลุ่ม LGBTQ ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์สีรุ้ง แล้วพูดว่าเราสนับสนุน LGBTQ แต่พอผ่านพ้นไปยังเดือนกรกฎาคมก็แทบจะลืมพวกเขาโดยทันที แน่นอนว่าผู้บริโภคสามารถแยกออกว่า แบรนด์ไหนที่สนับสนุนการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศของเหล่า LGBTQ อย่างแท้จริง และแบรนด์ไหนที่ทำไปเพียงเพื่อการค้าเท่านั้น ดังนั้นสิ่งแรกที่คุณควรมีคือ แสดงให้เห็นถึงความจริงใจอย่างต่อเนื่อง เพราะเขาคิดว่า หากคุณสนับสนุนพวกเขา เขาก็พร้อมจะสนับสนุนแบรนด์ของคุณด้วยเช่นกัน

- สนับสนุนพนักงานที่เป็น LGBTQ : แคมเปญเกี่ยวกับ Pride Month จะไม่สามารถประสบความสำเร็จไปยังผู้บริโภคภายนอกได้เลย หากภายในองค์กรขาดการสนับสนุนให้เห็นถึงความเท่าเทียมกัน ก่อนอื่นต้องสร้างนโยบายเพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้มีทั้งความปลอดภัย ห่างไกลจากมุกตลกและความคิดเห็นในเชิงลบต่อผู้ที่เป็น LGBTQ รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานกลุ่มนี้สามารถแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรจนสามารถครองใจผู้บริโภคได้ในที่สุด

- เลือกระดับภาษาที่เหมาะสม : การสื่อสารระหว่างองค์กรไปยังผู้บริโภคถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรทำความเข้าใจให้ดี เพราะมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจชาว LGBTQ คิดว่า จะต้องสื่อสารผ่านคำพูดที่ดูแรงหรือสนิทสนมเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วควรใช้ระดับภาษาที่มีความเหมาะสมไม่ต่างจากผู้บริโภครายอื่น ซึ่งหากคุณไม่มั่นใจว่าควรสื่อสารอย่างไรก็อาจจะลองหาผู้ให้คำปรึกษาที่เป็นชาว LGBTQ เช่น พนักงานในองค์กร หรือเอเจนซี่ ฯลฯ ดูก็ได้

- มอง LGBTQ เป็นเรื่องปกติ : บางแบรนด์อาจจะมุ่งเน้นกับการพยายามให้ LGBTQ เป็นกลุ่มคนพิเศษจนเกินไป แต่เชื่อหรือไม่ว่า หนึ่งในการตลาดที่ได้รับการยอมรับจากชาว LGBTQ เป็นจำนวนมาก คือการยอมรับและมองว่าการเท่าเทียมกันของชาว LGBTQ เป็นเรื่องปกติ เช่น โฆษณาของ Gillette ในปี 2019 ที่สื่อสารในรูปแบบให้คนที่ชาว LGBTQ อยากเข้าใจที่สุดอย่างคุณพ่อ ได้มองมุมใหม่ผ่านการบอกเล่าเรื่องราว พ่อสอนลูกชายข้ามเพศให้โกนหนวดเป็นครั้งแรกเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โดยที่ไม่ต้องสร้างโปรดักซ์สีรุ้งอย่างแบรนด์อื่นเลย

- ลงมือทำ : นอกจากการเล่าเรื่องแล้ว การลงมือทำก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะสิ่งที่ชาว LGBTQ อยากจะเห็นคือการเปลี่ยนแปลงภายในสังคม หากแบรนด์ต้องการสนับสนุนพวกเขาจริง ก็ต้องร่วมลงมือเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน อย่างในปี 2560 ที่ Absolut Vodka ได้สร้างแคมเปญ 72 Kisses ซึ่งสนับสนุนให้มีการถ่ายรูปคู่รักจูบกันในสถานที่ต่างๆ ของประเทศที่มีกฎหมายต่อต้านเหล่า LGBTQ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมาย

สรุปแล้วหลักสำคัญของการตลาดแบบเจาะใจชาว LGBTQ อยู่ที่ความจริงใจและต้องการสนับสนุนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ไม่เฉพาะแค่เดือน Pride Month เพียงเดือนเดียว เพราะหากคุณเลือกที่จะสนับสนุนพวกเขาแล้ว พวกเขาก็พร้อมจะสนับสนุนแบรนด์ของคุณเช่นกัน


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1401 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1806 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
2001 | 25/01/2024
การตลาดแบบเจาะใจชาว LGBTQ ในเดือน Pride Month