ผลกระทบทางเศรษฐกิจกับการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์

SME Update
29/01/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 8111 คน
ผลกระทบทางเศรษฐกิจกับการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์
banner

การละเมิดลิขสิทธิ์วิดีโอออนไลน์ ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจมากขึ้นในหลายกรณี ขณะที่ปัจจุบันจากการศึกษาของศูนย์วิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยผลการศึกษาจาก “โครงการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของการละเมิดลิขสิทธิ์ต่ออุตสาหกรรมของสื่อออนไลน์ในไทยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย (COPYRIGHT & VIDEO SHARING PLATFORM หรือ VSP)”  พบการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการแชร์วิดีโอออนไลน์ สร้างความเสียหายกับอุตสาหกรรมคอนเทนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมหาศาล คิดเป็นมูลค่ากว่า 90,000 ล้านบาท อัตราจ้างงานลดลงถึงกว่า 40,000 ตำแหน่ง และยังส่งผลให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ขาดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานต่อ เพราะผลงานไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างจริงจัง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่กระตุ้นให้เกิดบริการบนอินเทอร์เน็ตที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถรับชมเนื้อหา วิดีโอบนแพลตฟอร์ม และยังสามารถเผยแพร่วิดีโอของตนเองบนแพลตฟอร์มได้หรือ VSP (Video-sharing platforms) ปัจจุบันมีบริการแบบ VSP หลายราย เช่น LINE TV, Vimeo, Facebook, Dailymotion และ YouTube ตลอดจนเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้บุคคลทั่วไปหันมาเป็นผู้สร้างสรรค์สื่อหรือผู้ผลิตเนื้อหาเอง ทั้งการคิดขึ้นใหม่ และรีมิกซ์ พร้อมอัพโหลดเนื้อหาของตนเองขึ้นแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างอิสระและง่ายดาย

ขณะเดียวกันผู้ผลิตสื่อดั้งเดิมก็ได้ปรับเปลี่ยนมาให้บริการและเผยแพร่สื่อของตนผ่านทางช่องทางดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ส่งผลในเชิงบวก ทำให้เกิดเนื้อหาจำนวนมากและมีความหลากหลายขึ้น นับเป็นโอกาสใหม่ที่ผู้สร้างสรรค์จะเผยแพร่และหารายได้จากผลงานของตน ขณะเดียวกันก็ผลกระทบเชิงลบอย่างมหาศาลเช่นกัน เมื่อการแบ่งปันหรือเผยแพร่วีดิโอของตนเองได้ง่าย ทำให้ผู้ใช้บริการอาจละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้ง่ายทั้งโดยเจตนาหรือไม่เจตนา

อีกทั้งเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ยังมีคุณภาพทัดเทียมกับต้นฉบับ ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เกิดการเสพสื่อและส่งต่อสื่อละเมิดนั้นต่อไปไม่สิ้นสุด และยังเป็นเครื่องมือ “ปั่นยอดวิว” สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับผู้กระทำผิดละเมิดโดยที่ผู้บริโภคไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวต่ออุตสาหกรรมคอนเทนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมาก


กระทบภาคอุตสาหกรรมคอนเทนต์ สูญจีดีพีถึง 0.55 %

ผศ.ดร. พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการละเมิดลิขสิทธิ์บน VSP ก่อให้เกิดผลกระทบกับเศรษฐกิจในภาพรวมได้อย่างมาก โดยจะก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงกับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ เพราะรายได้บางส่วนที่ผู้ผลิตเนื้อหาควรจะได้รับจากการรับชม ได้ได้ตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรืออาจจะหายไปจากระบบเศรษฐกิจเลย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องกับทั้งห่วงโซ่มูลค่าของการผลิตเนื้อหาทั้งในด้านผลผลิตและการจ้างงาน และสุดท้ายยังจะลดแรงจูงใจในการ ผลิตเนื้อหา ส่งผลให้คุณภาพและความหลากหลายของเนื้อหาลดลง

จากการศึกษาใน “โครงการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของการละเมิดลิขสิทธิ์ต่ออุตสาหกรรมของสื่อออนไลน์ในไทยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย (COPYRIGHT & VIDEO SHARING PLATFORM)”  ซึ่งจัดทำขึ้นโดยศูนย์วิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบความเสียหายของการละเมิดลิขสิทธิ์บน VSP ต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2017 อยู่ระหว่าง 58,575 -  92,519 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.35 ถึง 0.55 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ รวมทั้งยังผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโดยตรง

ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์  โรงภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และบริการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สูงสุดรวมกว่า 44,782 ล้านบาท ทำให้การจ้างงานลดลงเป็นจำนวน 24,030 - 37,956 ตำแหน่งเลยทีเดียว อีกทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ยังเป็นปัญหาสําคัญที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนได้

นอกจากนั้นอิทธิผลจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ในผลงานของตนเอง ยังส่งผลให้ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์รู้สึกหมดกำลังใจในการผลิตงานออกสู่สาธารณะอย่างมีนัยยะสำคัญ และยังส่งผลให้แพลตฟอร์มที่มีการดำเนินการซื้อขายคอนเทนต์อย่างถูกต้องได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากงานอันมีลิขสิทธิ์อาจถูกละเมิดโดยไม่ได้รับการชดเชย หรือมีการนำไปใช้ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์เองไม่ได้รับส่วนแบ่งด้วย

 

กฎหมายการละเมิดยังคลุมเครือ

ด้าน ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์บน VSP โดยเฉพาะในหมู่ผู้สร้างสรรค์งาน ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายก็ได้แสดงความกังวลในเรื่องนี้ออกมาตามสื่อสาธารณะต่างๆ ว่าได้รับความเสียหายจากการไม่บังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ดีและชัดเจนพอบน VSP ในประเทศไทย ควบคู่ไปกับประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากวิดีโอที่นำเข้าสู่ระบบ ได้แก่การโพสต์หรือถ่ายทอดสดวิดีโอของบุคคลอื่นซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน 

รวมทั้งการไลฟ์ อาทิ การโพสต์หรือถ่ายทอดสดวิดีโอของตนเองที่มีงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ตลอดจนการโพสต์หรือถ่ายทอดสดวิดีโอของตนเองที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น ยังมีความล่อแหลม และยากต่อการประเมินว่าอาจมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งบางกรณีก็เห็นได้ชัด บางกรณีก็ไม่อาจระบุได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์


สร้างบรรทัดฐานกฎหมาย สนับสนุนผู้ผลิตคอนเทนต์

ในขณะเดียวกัน หากย้อนมองกลับมาที่กฎหมายไทยในปัจจุบัน ผศ.ดร.ปิยะบุตร เผยว่าจากการการศึกษาในโครงการฯ ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ขณะนี้ผู้ให้บริการ VSP รายใหญ่มีการทำข้อตกลงกับผู้ถือลิขสิทธิ์บริษัทเพลงยักษ์ใหญ่ระดับโลกและในไทยเกี่ยวกับค่าลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับด้วยการต่อสัญญาระยะยาว โดยมีตรวจจับลิขสิทธิ์อัตโนมัติอย่าง Content ID ทำให้สามารถเรียกร้องสิทธิของตนเองผ่านกระบวนการการแจ้งเตือนให้เอาเนื้อหาออก (Notice and Takedown) สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

แต่สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆ กลับไม่ได้รับความคุ้มครองแบบเดียวกัน ในขณะที่ข้อกฎหมายและการบังคับใช้ทางกฎหมายก็ยังไม่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของแพลตฟอร์ม ไม่สามารถจัดการสกัดกั้นกับผลงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ทันทีแม้จะมีเทคโนโลยีรองรับแล้วก็ตาม โดยจะต้องมีขั้นตอนในการขอหมายศาล ต้องแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายอาญาเสียก่อน จึงเกิดความยุ่งยากให้กับทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะดำเนินการเอาผิดผู้กระทำละเมิด 

ด้วยเหตุที่กระบวนการบังคับคดีโดยรัฐและการมุ่งเน้นไปที่การบังคับใช้กฎหมายอาญาเป็นหลักนั้น ยังขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เห็นได้ชัดจากกรณีข่าว “เด็กทำกระทงละเมิดลิขสิทธิ์” ซึ่งต่อมาขยายผลเป็นเรื่องการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์เพื่อสร้างรายรับหรือประโยชน์อันไม่ควรได้เข้ากระเป๋าตัวเอง  จึงควรที่จะพิจารณาเพิ่มทางเลือกในการบังคับคดีโดยเอกชนที่ผู้ประกอบการสามารถใช้กระบวนการในลักษณะเดียวกันกับการแจ้งเตือนให้เอาเนื้อหาออก (notice & takedown)

โดยเฉพาะการแจ้งเตือนไปยัง VSP หรือเจ้าของแพลตฟอร์มนั้นๆ ที่ควบคุมดูแลเนื้อหาโดยตรง เพื่อกระตุ้นให้ VSP มีความรับผิดชอบที่จะต้องเอาเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออก ภายหลังถูกแจ้งว่าละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว (editorial control) และช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องไปดำเนินการบังคับคดีโดยรัฐอีกต่อไป


นับเป็นการสร้างระบบนิเวศน์ในการผลิตคอนเทนต์และเผยแพร่ที่ปลอดภัยและสมบูรณ์และสร้างบรรทัดฐานในการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระการจัดการดูแลของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้ภาครัฐออกมาตรการสนับสนุนผู้ผลิตคอนเทนต์ไทย ทั้งในแง่ของภาษีและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพอย่างเร็วที่สุด เพื่อยับยั้งการกระทำผิดด้านละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศ และเพิ่มแรงขับเคลื่อนในการสร้างสรรค์ผลงานของนักคิดและผู้ผลิตคอนเทนต์คุณภาพต่อไป



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ แบรนด์ตอบโจทย์เฉพาะบุคคล

ตลาด Digital Content ในญี่ปุ่น


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1243 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1616 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1888 | 25/01/2024
ผลกระทบทางเศรษฐกิจกับการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์