REC กลไกโลกยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน

SME Update
23/08/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 7054 คน
REC กลไกโลกยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน
banner

มีแนวคิดหนึ่งในต่างประเทศที่น่าสนใจ ‘Circular for Zero’ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์ แนวคิดอุตสาหกรรมยุคต่อไปที่ต้องไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโลก แม้ตอนนี้เป็นยังเป็นแค่ เทรนด์ แต่ในไม่ช้านี้จะเปลี่ยนเป็น กติกาใหม่ ของสังคมโลกที่ทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสภาวะแวดล้อมของโลก

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นแนวคิดการจัดการอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืน เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตหน้าใหม่ในตลาดพลังงานหนุนเวียน หรือปรับธุรกิจให้มีความยั่งยืน หรือแม้แต่การทำธุรกิจพลังงานหนุนเวียนได้ไม่ยาก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

รู้จัก REC ใบเซอร์พลังงานหมุนเวียน

Renewable Energy Certificate : REC หรือใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยรับรองสิทธิในการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยมี The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นหน่วยงานรับรอง ปัจจุบันมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นรายเดียวที่ได้สิทธิ์เป็นผู้ให้การรับรองในประเทศไทย

REC นอกจากจะเป็นกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติ เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน

ที่สำคัญยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ให้คำมั่นตามข้อตกลงปารีส ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2573

 

REC มีกระบวนการอย่างไร

หลังจากที่ทราบแล้วว่า REC มีประโยชน์อย่างไร ในที่นี้จึงจะนำมารู้จักกับกลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีหน่วยการซื้อขายคือ REC ซึ่งคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจริง (ไฟฟ้า 1 MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC)

 

ผู้เกี่ยวข้องและกระบวนการซื้อขาย REC

REC กำหนดให้มีผู้เกี่ยวข้องหลัก 3 ส่วนได้แก่

1. Participant (ผู้ซื้อ) ส่วนมากมักจะเป็นหน่วยงานหรือองค์กรชั้นนำที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานสะอาดในการดำเนินกิจการ เป็นผู้ส่งคำสั่งขอซื้อ REC จากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

2. Registrant (ผู้ขาย) กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีการผลิตไฟฟ้าจริง และได้ขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้าไว้แล้ว

3. Issuer (ผู้ให้การรับรอง) ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของกลไกให้เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ และให้การรับรอง REC ของโรงไฟฟ้า โดยในประเทศไทยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ให้การรับรองแต่เพียงผู้เดียว (Local issuer)

 

REC มีดังขั้นตอนต่อไปนี้

- ผู้ซื้อ REC (Participant) แจ้งความต้องการซื้อ REC ไปที่ ผู้ขาย REC (Registrant)

- ผู้ขาย REC รับการตรวจสอบและรับรอง REC จาก กฟผ. (Issuer)

- กฟผ. ส่งมอบ REC ที่ผ่านการรับรองให้ผู้ซื้อ REC ผ่านระบบ Registry ของมาตรฐาน I-REC

- ผู้ซื้อ REC ชำระค่า REC ให้กับผู้ขาย REC

 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซื้อขาย REC

- กรณีผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน (ชำระให้กับ กฟผ.)

1. ค่าเปิดบัญชี Registrant 0 บาท

2. ค่าขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้า (5 ปี) 38,000 บาท

3. ค่าต่ออายุการขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้า 15,200 บาท

4. ค่าธรรมเนียมการรับรอง REC (ต่อ MWh) 0.95 บาท     

 

- กรณีผู้ซื้อ (ชำระให้กับ I-REC)

1. ค่าเปิดบัญชีซื้อ-ขาย 500 ยูโร

2. ค่าธรรมเนียมรายปี 2,000 ยูโร

3. ค่าเปิดบัญชี Redemption 0 ยูโร

4. Redemption (ต่อ MWh) 0.06 ยูโร

ที่ผ่านมาธุรกิจชั้นนำของโลกต่างนำ REC ไปใช้งาน เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน อาทิ รายงานความยั่งยืนต่างๆ หรือข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งจะเห็นผ่านตามากขึ้น มีการนำ REC ไปใช้งานจริงในรูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงจุดยืนตามเจตนารมณ์โลกยุคใหม่

ด้วยเหตุนี้ หากมองในมุม SME ที่กำลังสนใจธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โมเดลการซื้อขาย REC นี้ก็นับว่าเป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมจะยิ่งทวีความเข้มข้นความการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

แหล่งอ้างอิง :

https://egc.egat.co.th/

https://biogasthailand.com/


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1198 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1561 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1844 | 25/01/2024
REC กลไกโลกยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน