ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม

SME Update
07/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3936 คน
ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม
banner

การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี หรือ Innovation Driven Economy นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการก้าวนำคู่แข่งและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเท่าทันกับสถานการณ์และบริบทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีเริ่มมีการตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวพร้อมนำมาสร้างสรรค์เป็นบริการและสินค้าใหม่ๆ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยวิธีการและรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม และยังเป็นแนวทางให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ภายใต้ภาวะการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่าในจำนวนเอสเอ็มอีที่มีอยู่ในประเทศไทยกว่า 3 ล้านราย มีไม่ถึงร้อยละ 1 หรือไม่ถึง 30,000 รายที่มีการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เอสเอ็มอียังไม่สามารถเข้าถึงงานวิจัยและนวัตกรรม คือ

1. ขาดองค์ความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งจากภายในและต่างประเทศ เช่น ข่าวรายวัน ผลงานวิจัยใหม่ ๆ การศึกษาข้อมูลของผู้ประกอบการต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ

2. ขาดเงินทุน เนื่องจากในการผลิตงานวิจัยหรือนวัตกรรมยังมีต้นทุนที่สูง

3. เครือข่ายเชื่อมโยงต่าง ๆ ทั้งจากสถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา จึงทำให้ไม่มีโอกาสนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากนัก

4. ขาดกำลังคน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่มีความรู้ในสถานประกอบการ การขาดเครื่องมือ ระบบดิจิทัล และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

5.การกระจุกตัวของการพัฒนานวัตกรรม ที่ส่วนใหญ่ยังอยู่แค่ในระดับส่วนกลาง หรือระดับหัวเมือง จึงทำให้ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคยังติดอยู่กับรูปแบบธุรกิจเดิมๆ และไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ได้

สำหรับการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในยุคใหม่จะต้องประกอบด้วย

การพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่เป็นสิ่งใหม่และไม่คุ้นเคย โดยจะต้องเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่ซ้ำกับสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค และมีความก้าวล้ำเหนือคู่แข่ง เช่น บริการหลังการขาย การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย สินค้าหรือบริการที่มีหลากหลายฟังก์ชั่นการใช้งาน การสร้างคอนเทนท์หรือการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อต่างๆที่มีความดึงดูดใจ การผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

การเน้นนวัตกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต จะต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆที่มีความทันสมัย สามารถประยุกต์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิต รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต การใช้พลังงานทดแทน นวัตกรรมเพื่อการลดต้นทุน เป็นต้น

การพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมทางการตลาด ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาลเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น การมีระบบจัดเก็บข้อมูล (บิ๊กดาต้า) การใช้โซเชียลมีเดีย การมีระบบสื่อสารใหม่ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้บริโภค เป็นต้น


ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เอสเอ็มอีเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาธุรกิจจากเดิมเป็นการขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมให้มากขึ้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงได้จัดกิจกรรม “Research Connect หรือตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม ขึ้น เพื่อเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี งานวิจัย และนวัตกรรมระหว่างผู้มีเทคโนโลยี อาทิ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย นักวิจัยผู้ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา และผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการเอกชน บุคคลทั่วไป เพื่อนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและเศรษฐกิจ

พร้อมนำผลงานวิจัยที่มีความพร้อมต่อการต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มานำเสนอแก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ให้เกิดขึ้น ภายใต้ 50 กว่าผลงานวิจัยและนวัตกรรม 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรและอาหารแปรรูป กลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม กลุ่มการแพทย์และสุขภาพ และกลุ่มซอฟต์แวร์และดิจิทัล อาทิ หลอดกินได้จากข้าวและพืช Soil Moisted ดินปลูกต้นไม้ไม่ต้องรดน้ำ Rice Protein โปรตีนจากข้าวเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ เครื่องเติมอากาศประหยัดพลังงานแบบไฮบริดจ์ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากสารสกัดกัญชา และ Food Factory Internet of Things Platform (FIoT) ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มนี้ ถือเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตและสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาลในอนาคต และยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท

ขอสินเชื่อ ธุรกิจต้องใช้อะไรบ้าง

สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1676 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1923 | 25/01/2024
ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม