ทางเลือก SMEs พักหนี้ เสริมสภาพคล่องต้องดูความจำเป็น

SME in Focus
21/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1804 คน
ทางเลือก SMEs พักหนี้ เสริมสภาพคล่องต้องดูความจำเป็น
banner

ถึงตอนนี้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19(COVID-19)ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ลดลง จนมีการประเมินว่า ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) อาจจะผ่อนคลายกฎระเบียบให้ห้างร้านและธุรกิจต่างๆ สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างปกติอีกครั้ง

ทว่าภายใต้การหยุดชะงักของธุรกิจไปนับตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมจนถึงปัจจุบัน เป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ขยายเป็นวงกว้าง โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะย่ำแย่ถึงขนาดรุ่นแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 GDP ทั้งปี 2563 อาจติดลบ -3.4% และมีโอกาส -4.9% เลยทีเดียว

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลต่อการจับจ่ายของประชาชน และภาคธุรกิจที่รายได้หยุดชะงัก หลายธุรกิจต้องปิดกิจการ เพราะประสบปัญหาทางการเงิน ไม่สามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินที่ต้องบริหารจัดการในช่วงที่ขาดรายได้ แต่ยังคงมีรายจ่าย ทั้ง เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า ค่าดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องจักร ตลอดจนค่าใช้จ่ายจิปาถะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน นับเป็นภาระที่เอสเอ็มอีจะต้องแบกรับในขณะนี้

ทั้งนี้ ภายใต้มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 3 ภายใต้กรอบวงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท ของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีส่วนที่เป็นมาตรการดูและและเยียวยาธุรกิจเอสเอ็มอี โดย (ร่าง) พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา แบ่งเป็น 2 มาตรการ

ตรงนี้ มาดูกันว่ามาตรการดูแลและเยียวยาในครั้งนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง

 

1. เลื่อนชำระหนี้ 6 เดือน

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีวงสินเชื่อไม่เกินร้อยล้าน จะได้รับสิทธิ์ไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยในช่วง 6 เดือนที่ 'ผ่อนปรน' ไม่ถือว่าเสียประวัติข้อมูลเครดิต หมายความว่า หลังจาก 6 เดือน จะต้องจ่ายค่างวดบวกกับเงินดอกเบี้ย 6 เดือนในช่วงที่ 'เลื่อนชำระ'

ตรงนี้ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขโดยละเอียด เพราะตามมาตรการ คือ พักชำระเงินต้น และ 'เลื่อนกำหนดชำระดอกเบี้ย'ตัวอย่างเช่น

สัญญาเงินกู้กำหนดค่าผ่อนชำระทุกเดือน เดือนละ 30,000  บาท อาจประกอบด้วยส่วนของเงินต้น 20,000 บาท และส่วนของดอกเบี้ย 10,000 บาท ดังนั้น การพักชำระเงินต้น 6 เดือนจะทำให้ค่างวดเหลือ  10,000 บาท ซึ่งเป็นการส่งเฉพาะดอกเบี้ยหรืออาจกลับกัน คือชำระแค่ดอกเบี้ยแต่ขอพักชำระเงินต้น ก็ได้เช่นกัน

ตรงนี้เงินต้นที่พักชำระหรือดอกเบี้ยที่เลื่อนชำระ  อาจจะส่งผลให้ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายสัญญา (balloon) หรือทำให้ต้องเป็นหนี้เพิ่มขึ้นและนานขึ้น แต่หากมองอีกด้านในช่วงที่เศรษฐกิจดีขึ้น ดีมานด์กลับมา และสภาพคล่องดีขึ้น ผู้ประกอบการก็สามารถโป๊ะหนี้ได้เช่นกัน

อีกกรณีการเลื่อนกำหนดการชำระเงินต้นรวมดอกเบี้ยให้ 6 เดือน คือ ชะลอการจ่ายหนี้ทั้งหมด เท่ากับว่าธุรกิจสามารถชะลอการจ่ายค่างวดเงินกู้ 3 หมื่นบาท ได้ 6 เดือนโดยไม่เสียเครดิต กรณีนี้จะเกิดประโยชน์มากในช่วงที่ธุรกิจขาดรายได้ เพราะนับเป็นการ 'ต่อลมหายใจ' ของธุรกิจไปได้อีกระยะ

ที่สำคัญ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ก็ไม่แน่ว่าจะจบลงโดยเร็ว และถึงแม้สถานการณ์คลี่คลาย แต่เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ถูกทุบมาจนสั่นคลอนคงไม่สามารถกลับมาปกติได้เร็วนัก

ดังนั้นการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจไว้ได้ ไม่เสียเครดิตทางการเงิน และการมีเงินสดหมุนเวียนเพียงพอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก แต่ในทางกลับกัน ในช่วงนี้ยังมีบางธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบ หรืออาจกระทบไม่มากนัก จึงยังมีสภาพคล่องที่ดีก็ควรจะชำระหนี้เป็นปกติ

เพราะมาตรการดังกล่าวเป็นการ 'เลื่อนชำระ' เงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน 'ไม่ใช่ยกหนี้' ดังนั้นธนาคารยังคงคิดดอกเบี้ยในอัตราปกติ ภาระหนี้ยังอยู่และในช่วงที่ผ่อนปรนดอกเบี้ยยังเดินอยู่ไม่ได้หยุดไปด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องประเมินความจำเป็นของสถานะธุรกิจด้วยว่ามี ความจำเป็นต้องเลื่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยหรือไม่ 

 

2. กู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง

สำหรับธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงจากการขาดรายได้ในช่วงนี้ แม้มีการเลื่อนชำระหนี้และตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นไปแล้ว ก็ยังไม่สามารถพยุงธุรกิจให้เชิดหน้าขึ้นได้ ทางออกอย่างเดียวของสถานการณ์นี้ คือการหาแหล่งเงินทุนมาจุนเจือรายได้ที่ขาดหายไป และรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้ผ่านพ้นความลำบากนี้ไปได้และทำให้ทุกอย่างกลับเข้าที่เร็วที่สุด

'สินเชื่อ' จึงเป็นแหล่งทุนยอดนิยมที่จะเสริมสภาพคล่องให้เอสเอ็มอี โดยที่ผ่านมาทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีมาตรการสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (soft loan) ให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอี อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษร้อยละ 2 ต่อปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6เดือนแรก (จ่ายต้นบวกดอก 1ปี 6 เดือนหลัง)

โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแต่ละรายสามารถขอกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้างและไม่เป็น NPL สามารถขอสินเชื่อได้ที่ธนาคารที่เป็นลูกค้าอยู่

ทั้งนี้ สินเชื่อดังกล่าวเป็นสินเชื่อเพื่อ 'เสริมสภาพคล่อง' เพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนสำหรับธุรกิจ ดังนั้นธนาคารจะพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการใช้เงินด้วย รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถขอคำแนะนำจากธนาคารได้ ทั้งในการปรับโครงสร้างหนี้ ปรับแผนการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ และช่วยจัดโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมกับธุรกิจได้ด้วย


อย่างไรก็ตาม ทั้งสองมาตรการดูแลและเยียวยาเอสเอ็มอีในครั้งนี้ อาจสามารถช่วยให้ธุรกิจผ่านพ้นวิกฤติไปได้ในที่สุด และยังเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการรับมือวิกฤติในอนาคต และหวังว่า ในวันที่ดีมานด์กลับมาเหมือนเดิม ธุรกิจจะสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อีกครั้ง


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


โควิดติดมากับโอกาส! 10 กลุ่มธุรกิจฟันกำไรช่วงนี้

ทำความเข้าใจ! มาตรการช่วยเหลือ SMEs ระยะที่ 3


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
256 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
426 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
335 | 20/03/2024
ทางเลือก SMEs พักหนี้ เสริมสภาพคล่องต้องดูความจำเป็น