Sunset Industry ด้วยเทคโนโลยี ‘AIoT’ หนุนไต้หวันพลิกวิกฤต

SME Update
14/09/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2187 คน
Sunset Industry ด้วยเทคโนโลยี ‘AIoT’ หนุนไต้หวันพลิกวิกฤต
banner

โลกธุรกิจมักเกิดเทรนด์ต่างๆ สร้างความนิยมให้กับผู้คนมากมาย การรู้จักจังหวะเข้า-ออก ย่อมสร้างความได้เปรียบให้แก่ภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่หากกิจการใดตามเทรนด์ไม่ทัน ไม่รู้จักปรับตัว ก็อาจถูกขนานนามว่า ‘Sunset Industry’ ซึ่งก็คือธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมลดลง ตลาดผู้บริโภคเปลี่ยนรูปไปสู่ธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งหรือถูกทดแทน ไปจนถึงธุรกิจที่ต้องปิดตัวลงไปในอนาคตอันใกล้ และอาจกำลังจะพับฐานไปแล้วก็ดี

โดยเขตลู่กั่งในจังหวัดจางฮั่ว ได้รับการขนานนามให้เป็นอาณาจักรแห่งก๊อกน้ำในไต้หวัน มีมูลค่าการผลิตปีละประมาณ 55,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกร้อยละ 70 อย่างไรก็ดี สินค้าของที่นี่ก็ยังคงไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับสินค้าของประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี หรือฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นสินค้าระดับพรีเมียมได้

ดังนั้นกระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) จึงนำเอาเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้ เพื่อช่วยพัฒนาก๊อกน้ำของที่นี่ให้กลายเป็นก๊อกน้ำที่มีฟังก์ชันใช้งานที่หลากหลาย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

Metal Industry Research & Development Center (MIRDC) ของ MOEA ได้ร่วมกับผู้ประกอบการในการดำเนินโครงการพัฒนาการผลิตก๊อกน้ำแบบอัจฉริยะ และเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานของก๊อกน้ำให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยให้ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการร่วมกันตั้งโจทย์ที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยแก้ไข

โครงการนี้จึงเป็นการช่วยชี้แนะเหล่าผู้ประกอบการ ตั้งแต่การออกแบบ การหล่อ การขึ้นรูป การตรวจสอบ พร้อมนำระบบ AI และ IoT มาใช้ในการยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นแบบอัจฉริยะ จนทำให้สามารถลดระยะเวลาในการผลิตจาก 90 วันเหลือเพียง 60 วัน ซึ่งช่วยให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก

นอกจากนี้ยังมีการนำระบบเซนเซอร์มาใช้ ทำให้กระบวนการผลิตมีความแม่นยำมากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาการคลาดเคลื่อนของก๊อกน้ำในกระบวนการผลิต พร้อมทั้งติดตั้งโมดูลพิเศษสำหรับเพิ่มความเร็วในการเปลี่ยนวัตถุดิบ ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 12 เท่า และช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ 20% พร้อมนี้ก็ได้จัดทำฐานข้อมูลแบบ AI ขึ้น เพื่อเก็บรวบรวมปัญหาในการผลิตภายใต้สถานการณ์และวัตถุดิบแบบต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาในระหว่างการผลิตได้ตลอดเวลา จึงเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตและทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ดีขึ้น

จุดเด่นอย่างหนึ่งของโครงการนี้ คือการให้สถาบันการศึกษามาช่วยยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่น ถือเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและเอกชน เป็นการสร้างประโยชน์ร่วมกัน โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจี้ยนกั๋ว (CTU) เป็นผู้ดำเนินการ ร่วมกับบริษัทที่เป็นผู้ผลิตในอุตสาหกรรม Water Hardware ที่อยู่ในท้องที่ลู่กั่ง 13 ราย เช่น JUSTIME, CHUAN WEI METAL, MIZUWORLD และ TSANGKUO INDUSTRIAL พร้อมทั้งได้จัดตั้งกลุ่ม Changhua Water Hardware Brand Alliance ขึ้น เพื่อทำการตลาดร่วมกันด้วยการเปิดร้านบนแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซชื่อดังในไต้หวัน เช่น PChome และ Ruten เป็นต้น

การนำเอาเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้ในกระบวนการผลิต ถือเป็นแนวโน้มแห่งอนาคตของอุตสาหกรรมต่างๆ เชื่อว่าจากประสบการณ์ของความสำเร็จในครั้งนี้ จะสามารถต่อยอดในการช่วยให้ผู้ประกอบการไต้หวัน สามารถเข้าไปอยู่ใน Supply Chain ของแบรนด์ก๊อกน้ำชั้นนำระดับพรีเมียมของโลกได้ โดยการใช้เครื่องจักรกลอัจฉริยะจะช่วยลดการพึ่งพาแรงงานคน ไม่เพียงจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลน แรงงานมีฝีมือ หากแต่ยังสามารถดึงดูดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาสู่อุตสาหกรรมได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถ รับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผู้ประกอบการไปในตัว

การที่ผู้ประกอบการไต้หวันสามารถยกระดับตัวเองขึ้นเป็นผู้ผลิตในระดับแนวหน้าของโลกได้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่เหล่าผู้ประกอบการไม่ยอมหยุดนิ่งและพยายามจะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ การสร้างความร่วม 3 ฝ่ายระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชนของไต้หวัน ถือเป็นการทำงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่างให้เห็นในหลายภาคอุตสาหกรรมของไต้หวัน เช่นเดียวกับในกรณีอุตสาหกรรมก็อกน้ำของเขตลู่กั่ง การสร้างความร่วมมือสถาบันการศึกษาทำให้การค้นคว้าวิจัยมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อแก้ปัญหา-ยกระดับกระบวนการผลิตให้มีความทันสมัยมากขึ้น

สำหรับแนวทางในการทำการตลาด ด้วยการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตรของ ผู้ประกอบการ ถือเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจของไต้หวัน ซึ่งสามารถสร้าง Impact ในตลาดได้เป็นอย่างดี โดยมีตัวอย่างของกลุ่มธุรกิจในสินค้าต่างๆ ของไต้หวันที่ประสบความสำเร็จในตลาดโลก เช่น สินค้าเซมิคอนดัคเตอร์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเครื่องจักรกล สินค้าจักรยาน สินค้าสิ่งทอ ต่างก็ประสบความสำเร็จจากการทำการตลาดในรูปแบบของการรวมกลุ่มทั้งสิ้น จึงถือเป็นแนวทางที่ภาคธุรกิจไทยควรให้สนใจและเรียนรู้อย่างยิ่ง

 

แหล่งอ้างอิง : China Times / Commercial Times (September 1, 2021), สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1674 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1922 | 25/01/2024
Sunset Industry ด้วยเทคโนโลยี ‘AIoT’ หนุนไต้หวันพลิกวิกฤต