‘มวยไทย’จากเวทีผืนผ้าใบสู่เวทีธุรกิจ

SME Update
14/06/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6342 คน
‘มวยไทย’จากเวทีผืนผ้าใบสู่เวทีธุรกิจ
banner

ปัจจุบันศิลปะมวยไทยมิใช่เกมกีฬาต่อสู้ แต่เป็นสินค้าวัฒนธรรมที่สามารถแตกไลน์สู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอีกมหาศาล เคยมีผลวิจัยว่าด้วยมวยไทยและการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจที่ระบุว่า “มิติของมวยไทยที่สังคมปัจจุบันรับรู้ร่วมกันมีมากถึง 7 มิติ  ทั้งในเรื่องการเป็นมรดกชาติ การกีฬา ศิลปะป้องกันตัว การออกกำลังกาย ศิลปะการแสดง สปอร์ต เอ็นเตอร์เทน และแบรนด์สินค้าส่งออกที่หลากหลาย ซึ่งทั้งหมดมีทรัพยากร และเม็ดเงินจำนวนมากที่มาเกี่ยวข้อง”

เหนือสิ่งอื่นใดมวยไทยยังเชื่อมโยงกับอาชีพ การสร้างรายได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ บุคลากร อาทิ นักมวย ครูมวย เทรนเนอร์ประจำค่าย ผู้ตัดสิน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ธุรกิจบริการด้านมวย เช่น ผู้จัดการจัดการแข่งขัน ผู้จัดสปอร์ตอีเวนต์ต่างๆ การโชว์ตัวในงานต่างๆ เครือข่ายสินค้าอุปกรณ์กีฬาและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ของที่ระลึก กางเกงมวย ที่รัดแขนนักมวย เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในการซื้อไปฝากพรรคพวกเพื่อนฝูง มีผู้ประกอบการ SMEs ไม่น้อยที่รวยเพราะทำธุรกิจส่งออกชุดมวยไทยผ่านอินเตอร์เน็ตหรือชายตามแหล่งท่องเที่ยวบางรายถึงขนาดตั้งโรงงานผลิตชุดมวยไทยโดยเฉพาะ

จากข้อมูลการจดทะเบียนกับการกีฬาแห่งประเทศไทย พบว่า มีค่ายมวยไทยทั้งหมด 5,100 ค่าย มีผู้ฝึกสอนมวยทั้งหมด 1,518 คน ผู้ตัดสิน 2,043 คน มีผู้จัดการแข่งขัน 3,148 คน ถ่ายทอดทีวีหลายเวที อาทิ เวทีช่อง 7 เวทีช่อง 3 (อ้อมน้อย) เวทีลุมพินี เวทีราชดำเนิน เวทีรังสิต เวทีอัศวินดำ เวทีอุบลราชธานี เวทีมีนบุรีสปอรต์ ทั้งมีบริษัทระดับนานาชาติถือลิขสิทธิ์ถ่ายทอด อาทิ Thai Fight โดยบริษัทสปอร์ต อาร์ต จำกัด , Topking World Series โดยบริษัท ท็อปคิง บ็อกซิ่ง เอชเค จำกัด , Max Muay Thai โดยบริษัท แม็กซ์ มวยไทยจำกัด

อย่างไรก็ตามปัจจุบันค่ายมวยได้ปรับรูปแบบธุรกิจไปตามเทรนด์ของผู้บริโภค ไม่ใช่เป็นการฝึกซ้อมนักมวยเพื่อขึ้นชกเท่านั้น แต่ใช้มวยไทยเป็นเครื่องออกกำลังกายนันทนาการ มีทั้งคอร์ส ลดน้ำหนัก หลักสูตรการเป็นผู้ตัดสิน การเป็นผู้ฝึกสอน รวมทั้งใช้นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักโภชนาการเข้ามาร่วมนับว่าเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโต มีทั้งค่ายมวยเดิมที่ปรับตัวและศูนย์ฟิตเนสต่างๆ ผุดขึ้นราวดอกเห็ด

ขณะเดียวกัน การผลักดันมวยไทยให้หนุนเสริมเศรษฐกิจ ได้รับการตอบรับที่ดีจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ โครงการเครือข่ายมวยไทย สมาคมมวยที่เกี่ยวข้อง ค่ายมวย โรงเรียนสอนมวยไทย โรงยิม และบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปกรณ์กว่า 50 บริษัท หากธุรกิจต้นน้ำเติบโต ธุรกิจต่อเนื่องทั้งภาคบริการและสินค้า อุปกรณ์ต่างๆ ในภาคการผลิตจะเติบโตตามไปด้วย

ขณะที่แนวโน้มการส่งออกครูมวยไปสอนในต่างประเทศก็มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ธุรกิจมวยไทยได้รับความนิยมมาก สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ และเป็นกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ จนกลายเป็นกีฬาที่สร้างสุขภาพ มีความเป็นอัตลักษณ์ของชาติได้


เมื่อมวยไทยเป็นทั้งกีฬาและเทรนด์ที่คนทั่วโลกรู้จัก จึงเป็นธรรมดาที่ในตลาดจะมีผู้ประกอบการต่างชาติเข้าร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาที่ใช้แม่ไม้มวยไทยมาเป็นจุดขาย ผลิตภัณฑ์กีฬา นวม กางเกงมวย คาแรกเตอร์ตัวละครในอุตสาหกรรมบันเทิง ภาพยนตร์ เกมส์ และอื่นๆ

ทุกวันนี้แม้สินค้าจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาด เช่นเดียวกับแบรนด์กีฬาระดับนานาชาติที่ส่งสินค้าที่เชื่อมโยงกับมวยไทยออกมาจำหน่ายแต่ถ้าเป็นผู้ที่ชื่นชอบกีฬามวยจริงๆ เขาจะเลือกแบรนด์ของไทย เพราะคุณภาพดี เป็น Original ตลาดต่างประเทศ มีทั้ง อเมริกา ออสเตรเลีย บราซิล ที่ยังเชื่อมั่นในสินค้าจากประเทศไทย แม้แต่บุคลากรส่วนใหญ่ในค่าย โดยเฉพาะผู้ฝึกสอน เทรนเนอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นอดีตนักมวยไทย

ดังนั้นเมื่อคิดจะทำ 'แบรนด์มวยไทย' ให้เป็นจุดขายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับมวยไทย ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ไม่แยกส่วนต่างคนต่างทำอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้เพื่อ แปรเปลี่ยนเป็นมูลค่าเพิ่ม สร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบเหมือนอย่างที่งานวิจัย ระบุว่า ต้องเริ่มจากการตั้ง Mindset ว่ามวยไทยไม่ใช่เรื่องต่อสู้ หรือวัฒนธรรมอย่างเดียวแล้ว แต่จะสร้างคน สร้างงาน สร้างเศรษฐกิจ ซึ่งต้องใช้ Big data มาช่วยจัดระบบ เช่น การค้นหาครูมวย นักมวย ผู้ตัดสินที่มีมาตรฐาน

ขณะเดียวกันสนามมวย ค่ายมวย ฟิตเนส สถาบันสอนมวยไทย โรงเรียนมวยไทย การจัดการแข่งขันมวยไทยต้องได้ระดับสากล คุ้มค่า คุ้มราคา ตอบสนองผู้บริโภคทุกกลุ่ม และต้องคง อัตลักษณ์มวยไทยให้เป็นเสน่ห์และความแตกต่างผลิตภัณฑ์มวยไทยจะเชื่อมโยงกับการสร้างมาตรฐานสินค้า โรงงาน ต้นทุนการผลิต การประชาสัมพันธ์ ร่วมทุนกับองค์กรต่างๆ เพื่อสอดแทรกคอนเทนต์ของมวยไทย เข้ากับสินค้าอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร การท่องเที่ยว พัฒนาภาพลักษณ์มวยไทยให้เป็นกีฬาในระดับสากลและส่งเสริมการเติบโตของทุกห่วงโซ่อุปทาน


มวยไทยนอกเหนือจากจะมีคุณค่าในเชิงวัฒนธรรมแล้ว มวยไทยและธุรกิจเกี่ยวเนื่องรวมทั้ง ธุรกิจ SMEs ยังมีบทบาททั้งในเชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี เลยทีเดียว


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1292 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1661 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1915 | 25/01/2024
‘มวยไทย’จากเวทีผืนผ้าใบสู่เวทีธุรกิจ