ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ที่ต้องรักษาระยะห่างระหว่างกันทางสังคมธุรกิจและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก
จนทำให้มีหลายธุรกิจต้องปรับตัวสู้ ซึ่งหนึ่งธุรกิจที่ต้องปรับตัวสู้ศึกหนักที่กำลังถาโถมเข้ามาครั้งนี้ก็คือ
‘ธุรกิจโรงภาพยนตร์’ แม้ว่าจะผ่านการปรับตัวมาแล้วในช่วงก่อนหน้านี้จากการถูกเทคโนโลยี Digital เข้ามา Disruption
ครั้งนี้ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ในไทยอย่างค่าย
SF Cinema และ Major Cineplex ได้ดึง Drive-In
Theater เข้ามาทำแคมเปญเพื่อเพิ่มทางเลือก หรือปรับกลยุทธ์ทางการตลาดในการดำเนินธุรกิจในเมืองไทย
กับการจัดบริการให้ชมภาพยนตร์แบบ Drive-In Theater ขึ้นมา เพื่อปรับตัวช่วงที่มีโควิด-19
แพร่ระบาด โดย SF Cinema จับมือกับ บริษัท กสท
โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ใช้ทำเล CDC ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เป็นสถานที่ฉายหนังเรื่อง Trolls World Tour ที่เป็นหนังชนโรงในราคาค่าเข้าชม 1,200 บาทต่อรถยนต์
1 คัน 2 คน พร้อมกับป๊อปคอร์น 2 ถุง เครื่องดื่มน้ำอัดลม และน้ำดื่ม
ด้าน Major Cineplex จัดที่ลานจอดรถลอยฟ้าของศูนย์การค้า เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ โดยเปิดให้เข้าชมฟรี พร้อมทั้งเครื่องดื่มน้ำอัดลม, ภาพถ่ายที่ระลึก และอื่นๆ ภายใต้เงื่อนไขต้องโชว์แอพพลิเคชันแอร์เพย์ โดยมีโปรแกรมหนังที่ฉายให้ชมฟรี คือ BEGIN AGAIN ฉายในวันที่ 2 ,5 กรกฎาคม เรื่อง YOUR NAME ฉายในวันที่ 4 กรกฎาคม เรื่อง WHIPLASH ฉายในวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งได้รับความสนใจจากคนไทยพอสมควร เพราะเป็นบรรยากาศใหม่ของคนยุคนี้ แม้ว่าเทรนด์นี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งในไทยและต่างประเทศก็ตาม
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ย้อนรอยเทรนด์
Drive-In Theater สู่ไอเดียสู้โควิด-19
เมื่อปี
ค.ศ.1987 โดย Richard M. Hollingshead Jr. ผู้ค้นพบอรรถรสในการเสพภาพยนตร์และเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องนี้
ได้เกิดไอเดียบรรเจิดในการหาวิธีดูหนังแบบใหม่จนค้นพบ Drive-In Theater ซึ่งมาจากความชื่นชอบส่วนตัวทั้งในเรื่องของรถยนต์และภาพยนตร์
เหตุผลเริ่มมาจากการที่แม่เขานั่งเก้าอี้ในโรงภาพยนตร์ไม่สะดวก
จึงได้เริ่มต้นออกแบบและคิดหาวิธีการดูภาพยนตร์ในรถจนก่อเกิดเป็นธุรกิจจัดฉายภาพยนตร์ในแบบ
Drive-In Theater ขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน
ค.ศ.1933 ที่เมืองแคมเดน รัฐนิวเจอร์ซี
จากนั้นจึงแพร่หลายและได้รับความนิยมชื่นชอบในประเทศสหรัฐอเมริกา 20 ปีต่อมามีการให้บริการ
Drive-In Theater มากถึง 4,000 แห่ง
กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ห่างไกลของสหรัฐอเมริกา
นี่จึงเป็นเสมือนกิจกรรมนำร่องของผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย
เนื่องจากในช่วงที่สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอยู่ทั่วโลกนั้นอาจไม่เหมาะต่อการนั่งชมภาพยนตร์ในโรงฉายสภาพปิดที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของเชื้อได้ง่าย
และการเว้นระยะห่างทางสังคมก็ทำให้จำนวนคนเข้าชมภาพยนตร์ต่อโรงนั้นน้อยลงเหลือเพียง
25% จากจำนวนที่นั่งเต็มทั้งหมด หากรอบนั้นมีคนเข้าชมไม่เต็มก็จะมีจำนวนผู้ชมลดน้อยลงไปอีก
นี่ยังไม่นับรวมการต้องถูกปิดตายธุรกิจนานกว่า 70 วันช่วงล็อคดาวน์เมือง
ที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์อยู่ในขั้นวิกฤติ
ผลกระทบที่มีต่อธุรกิจโรงหนังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ไม่ใช่มีแค่เพียงเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ที่เข้ามาทำให้ต้องรับศึกหนัก หากแต่ยังมี Youtube, Netflix,
Smart Phone และเว็บไซต์ต่างๆ ที่เข้ามาทำให้เกิดการ Disruption
ทั้งนี้มีรายงานว่า
ในระยะเวลาเพียง 1 ปี
ยอดคนไทยที่รับชมวิดีโอออนไลน์เป็นประจำทุกวันได้พุ่งสูงขึ้นจาก 45% ในปี 2017 เป็น
57% ในปี 2018 โดยเฉพาะ Netflix ที่เข้ามากระเพื่อมวงการจากความสดใหม่ของหนัง
ความหลากหลาย รวมถึงภาพยนตร์เก่าที่รวบรวมไว้และค่าบริการรายเดือนที่ถูกพอๆ
กับราคาตั๋วหนังชมภาพยนตร์หนึ่งเรื่องที่จำหน่ายเพื่อเข้าชมภาพยนตร์
แต่สามารถดูได้ไม่จำกัดจำนวนต่อเดือน อันเป็นจุดพลิกเกมธุรกิจภาพยนตร์ ทำให้ทั้งฝั่งผู้บริโภคและผู้สร้างต่างหลั่งไหลเข้าไปใน
Netflix เพิ่มขึ้นทุกวัน
และถึงแม้ว่าหนังจาก Netflix จะยังมีคุณภาพเทียบเท่ากับหนังระดับฮอลีวูดไม่ได้ จนมองว่า Netflix เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น ยังไม่สามารถเทียบชั้นขึ้นมาเป็นคู่แข่งเบอร์ต้นๆ ได้ แต่ท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำ และโควิด-19 ยังแพร่ระบาดอย่างนี้ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็น่าเป็นห่วงไม่น้อยเช่นกัน
ทั้งนี้ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ได้มีการปรับกลยุทธ์รับกับ
Technology Disruption มา 2-3 ปีก่อนหน้า
ด้วยการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนเข้าไปขยายกิจการ ปรับตัวเข้าหาลูกค้ามากขึ้น
ด้วยการลงทุนในรูปแบบใหม่ๆ กับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ไปจนถึงระดับ High End รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น
ใช้เครื่องจำหน่ายตัวอัตโนมัติแทนพนักงาน มีการจำหน่ายตั๋วและสั่งจองออนไลน์
เปิดช่องทางการรับชมภาพยนตร์ฟรีผ่านช่องยูทูบของแบรนด์
เพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์และดึงดูดฐานลูกค้าไว้ในขอบข่ายของตัวเอง
รวมถึงการจัดทำข้อมูล Big Data ของฐานลูกค้าเพื่อนำมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจและตอบโจทย์การทำตลาดของแบรนด์ได้
ซึ่งคงต้องจับตาดูต่อไปว่าการนำเทรนด์รับชมภาพยนตร์บนรถ Drive-In Theater กลับมาอีกครั้ง จะเข้ามาตอบโจทย์การเดินธุรกิจได้ตรงจุดหรือไม่
และผลตอบรับจากผู้ใช้บริการคนไทยจะเป็นอย่างไร แล้วนอกจากนี้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงภาพยนตร์จะใช้อะไรเข้ามาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจท่ามกลางโควิด-19
อีก
แหล่งอ้างอิง
:
