ศึกษา ‘โตเกียวโอลิมปิก’ กับความคุ้มค่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น

SME Update
12/07/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2793 คน
ศึกษา ‘โตเกียวโอลิมปิก’ กับความคุ้มค่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น
banner

มหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงประกาศเดินหน้าจัดต่อไป ซึ่งตามกำหนดเดิมจะถูกจัดขึ้นในเดือนกรกฏาคมปีที่แล้ว แต่เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 จึงทำให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้กำหนดเวลาจัดโอลิมปิกใหม่อีกครั้งในวันที่  23 กรกฏาคม - 8 สิงหาคม 2021


สำหรับนักกีฬาที่มีรายชื่อเข้าแข่งขัน จะต้องแสดงใบรับรองการผลตรวจโควิด 19 ว่าปลอดเชื้อก่อนเข้าสถานที่แข่งขัน


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 



อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ยังสร้างความกังวลให้แก่หลายประเทศ เนื่องจากไม่ได้มีแค่นักกีฬาและทีมงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะต้องเดินทางมาญี่ปุ่น ซึ่งการจัดมหกรรมนี้อาจกลายเป็นแหล่งในการแพร่เชื้อของโควิด 19 ในวงกว้าง ซึ่งจะทำให้คนญี่ปุ่นในประเทศจำนวนมากได้รับเชื้อไปด้วย

 

แต่ดูเหมือนว่าบรรดานักลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในกรุงโตเกียวพร้อมสนับสนุนให้โอลิมปิกเดินหน้าจัดต่อไป แม้ว่าผู้ชมต่างชาติจะไม่ได้เดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันในญี่ปุ่น แต่การที่มีโอกาสถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมทั่วโลก จะเป็นโอกาสในการนำเสนอกรุงโตเกียวได้รับการมองเห็น และเกิดความต้องการเข้ามาลงทุน ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นขยายตัวเติบโตได้ดี และช่วยให้การฟื้นตัวของญี่ปุ่นหลังยุคโควิด 19 ระบาด เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น 

 

ฝ่ายรัฐบาลญี่ปุ่นก็พยายามผลักดันโอลิมปิกสุดตัว แม้ฝืนแรงต้านของคนในประเทศ เพราะยังหวังใช้เป็นโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจและแสดงศักยภาพของประเทศอีกด้วย

 

 

โตเกียวโอลิมปิกกับความคุ้มค่าที่เกิดขึ้น

 

รัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์ของญี่ปุ่น คาดการณ์กันในเบื้องต้นว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะช่วยให้เกิดเงินสะพัดมหาศาลในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เช่น

 

1.1 ล้านล้านบาท ในภาคการก่อสร้างและการลงทุนที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก

202,000 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมโฆษณา

89,000 ล้านบาท จากภาคพาณิชย์และการค้าต่างๆ

 

ถึงแม้ว่าการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อรายได้จากการขายบัตรเข้าร่วมชมงาน และการสูญเสียโอกาสของรายได้ในท้องถิ่น แต่ก็จะสามารถช่วยปลดล็อกความเสี่ยงให้กับคณะทำงานในอีกหลายๆ ด้าน เช่น การจัดการทางสาธารณสุข ซึ่งถือว่าเป็นการคลายความกังวลใจให้กับชาวญี่ปุ่น

 

ที่สำคัญเป็นการลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียรายได้หลักของการจัดการแข่งขัน นั่นคือการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดการแข่งขันและกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ ที่บรรดานักธุรกิจ นักลงทุน และแบรนด์ได้ทำการเตรียมการลงทุนและวางแผนมาเป็นเวลานาน

 

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ถือลิขสิทธิ์ในแต่ละประเทศสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลจากส่วนแบ่งพื้นที่สื่อโฆษณา ซึ่งในหลายๆ ประเทศจะมีการผลิตโฆษณาเพิ่มขึ้นเนื่องจากความนิยมของกีฬาโอลิมปิก

 

และเนื่องจากว่ามหกรรมกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ถือเป็นงานระดับโลก แบรนด์หรือนักการตลาดที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานจะต้องมีการทำการวางแผนไว้ล่วงหน้า ดังนั้นถ้าหากถูกเลื่อนหรือยกเลิกอีกครั้ง แน่นอนว่าแบรนด์และนักสื่อสารทางการตลาดจำนวนมากจะได้รับผลกระทบ ในเรื่องของการเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน 

 

เมื่อมองถึงงบประมาณทางการตลาดของแบรนด์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับโอลิมปิกเกมส์ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มักจะถูกใช้ไปกับการซื้อพื้นที่สื่อเพื่อการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน โดยไม่จำกัดเฉพาะการซื้อสปอตโฆษณาทางโทรทัศน์เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบการใช้สปอตโฆษณา จะมีความเกี่ยวข้องกับการซื้อขายลิขสิทธิ์ทางการตลาดทั้งในระดับนานาชาติและในระดับประเทศ

 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตว่าหากการแข่งขันถูกยกเลิก งบประมาณในการโฆษณาจากแบรนด์ที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยงบในส่วนนี้น่าจะถูกจัดสรรไปใช้กับกิจกรรมทางการโฆษณาและการตลาดอื่นๆ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าอุตสาหกรรมโฆษณาในแต่ละประเทศจะไม่สูญเสียเม็ดเงินโฆษณา หากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้จะต้องยกเลิกการจัดการแข่งขัน

 


แม้ว่าผู้จัดการแข่งขันจะมีมาตรการมาแก้ปัญหาโดยการไม่อนุญาตให้กองเชียร์ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้าชมการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนี้ แต่ก็ยังคงมีชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยออกมาต่อต้านอยู่ดี รวมไปถึงนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้ออกมาเตือนว่า หากมีการแพร่ระบาดของโควิด 19 จากการจัดการแข่งขัน เรื่องนี้จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างมหาศาลได้

 

การได้เป็นเจ้าภาพในการจัดโอลิมปิก ถือเป็นโอกาสที่ดีในการฟื้นเศรษฐกิจให้ประเทศ แต่ในสภาวะที่ทั่วโลกต้องเชิญกับการระบาดโควิด 19 จึงต้องคำนวณถึงผลกระทบให้รอบด้าน เพื่อเป็นการต้อนรับนักท่องเที่ยว และเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศในอนาคต


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1415 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1829 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
2018 | 25/01/2024
ศึกษา ‘โตเกียวโอลิมปิก’ กับความคุ้มค่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น