TTRS วัดเรตติ้ง SME ไทย เพื่อเข้าถึงแหล่งเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยี

SME Update
06/11/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2024 คน
TTRS วัดเรตติ้ง SME ไทย เพื่อเข้าถึงแหล่งเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยี
banner

ต่อไปคุณจะต้องเจอคำถามว่า ‘Newness’ ของธุรกิจคุณคืออะไร?
เทคโนโลยีที่คุณนำมาใช้ คืออะไร?
และ นวัตกรรม ของคุณคืออะไร?


          ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าการทำธุรกิจยุคนี้ และยุคต่อไปนั้นมีหลายๆ อย่างเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม เศรษฐกิจ และสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ประกอบการรายขนาดเล็กและขนาดกลาง หรืกลุ่ม SME ซึ่งปัจจุบันไทยมีผู้ประกอบการกลุ่มนี้กว่า 3 ล้านราย ขณะที่ SME ที่มีศักยภาพพอจะแข่งขันและอยู่รอดได้กลับมีไม่ถึง 4 แสนราย

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นความพยายามในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME ได้มีการปรับตัว ปรับรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือสินเชื่อเพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจในอนาคต ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้นั่นคือ ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 




          ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาจึงมีความพยายามในการนำโมเดลที่มีชื่อว่า TTRS (Thailand Technology Rating System) หรือ ศูนย์สนับสนุนและให้บริการประเมินการจัดอันดับเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อมาช่วยในการ จัดอันดับความน่าเชื่อถือของ SME’ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างความเชื่อมั่นกับสถาบันการเงินในการเข้าถึงสินเชื่อ ที่สำคัญยังเป็นการประเมินธุรกิจให้ปูทางไปสู่ SME ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจอีกด้วย

 

จัดอันดับความน่าเชื่อถือของ SME ที่ไม่ใช่การเงิน (non-financial data)

          ดร.จิรัชญา ดวงบุรงค์ ที่ปรึกษาอาวุโสและหัวหน้าโครงการ ศูนย์สนับสนุนและให้บริการประเมินจัดอันดับเทคโนโลยีของประเทศ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า TTRS มีต้นแบบมาจากประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากตอนนั้นเขามีวิกฤตเศรษฐกิจ เลยพยายามหา Model หรือลักษณะของการประเมิน Rating เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนกลุ่ม SME

          ต่อมาในปี 2557 สวทช. ได้มีการทำงานร่วมกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ได้นำโมเดลดังกล่าวมาเพื่อจัดทำ Rating Score ขึ้นมา เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนกลุ่ม SME ให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยแนวทางการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ SME โดยใช้ข้อมูลด้านที่ไม่ใช่การเงิน (non-financial data) ด้วยการพัฒนา pilot model ซึ่งมีหลักการประเมินประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้

          1. ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม (Technology and Innovation)

          2. การบริหารจัดการธุรกิจ (Management)

          3. ความสามารถทางด้านการตลาด (Marketability)

          4. ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ (Business process)



          ดร.จิรัชญา กล่าวอีกว่า การเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณความน่าเชื่อถือของ SME ในแบบจำลองนั้น ประกอบด้วย หลายรูปแบบ อาทิ การเก็บข้อมูลในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก และการเยี่ยมชมกิจการ

          โดยการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างพันธมิตรจากสถาบันการเงินด้วย เช่น ธนาคารกรุงเทพที่เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสนับสนุน SME ซึ่งหลักเกณฑ์ Rating Scale  จะดูทางด้านความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ซึ่งหลักๆ ในการสนับสนุนจะขึ้นอยู่กับการตกลงในส่วนของการทำงานร่วมกัน

          แต่ละด้านจะมีเกณฑ์ย่อยอยู่ประมาณ 50-100 หลักเกณฑ์ ขึ้นอยู่กับแต่ละลักษณะของธุรกิจ และประเภทของธุรกิจ ซึ่งตรงนี้จะวิเคราะห์ข้อมูล SME ในเบื้องต้นว่า เป็นผู้ประกอบการในลักษณะใด รวมทั้งเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้อยู่ในระดับไหน ซึ่งตรงนี้จะมีหลักเกณฑ์ในการประเมินก่อนในเบื้องต้น โดยวิธีการประเมิน ณ ปัจจุบันนี้ในส่วนของ Model  TTRS ซึ่งไม่ได้ดูแค่เอกสาร แต่มีกระบวนการ พิจารณานอกเหนือจากนั้นคือ  มีเจ้าหน้าที่ TTRS ที่มีความเชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละด้านประเมิน แล้วก็ยังมีระบบ TTRS ในการประเมิน โดยใช้ Algorism อีกด้วย โดย Rating scale ของ SME จะแบ่งเป็น 8 ระดับ คือ AA, A, BB, B, CC, C, DD และ D เรียงจากความน่าเชื่อถือมากที่สุดไปน้อยที่สุด

          “มิติของ TTRS เราจะพิจารณาในส่วนของ All business process และความเป็นไปได้ของธุรกิจ ซึ่งอาจจะมีส่วนของสภาพคล่องทางการเงิน และรวมถึงความสามารถในด้านบริหารจัดการธุรกิจด้วย”

 

ประโยชน์ของ SME ในการประเมินโดยใช้โมเดล TTRS

          1. ผู้ประกอบการทราบถึงระดับของเทคโนโลยี

              รวมทั้งจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาของเทคโนโลยีจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจได้

          2. เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

              ทั้งในส่วนของสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยใช้ควบคู่กับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Start-up & Innobiz ของ บสย. และการร่วมลงทุนในรูปแบบต่างๆ

          3. สามารถเข้าถึงโครงการความช่วยเหลือต่างๆ ของภาครัฐ

              รวมทั้งได้รับสิทธิในการเข้าถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเทคโนโลยีของหน่วยงานภาครัฐ




          ดร.จิรัชญา กล่าวว่า หลักๆ TTRS เน้นจะส่งเสริมด้าน Technology and Innovation ในเชิงการตลาดให้เห็นว่า newness ที่จะไปสร้างความแตกต่าง หรือไปสร้างโอกาสเพื่อที่จะแข่งขันกับตลาดธุรกิจตรงนี้ สามารถที่จะพัฒนาขีดความสามารถ หรือส่งมอบตัว product หรือ service ได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งการ Scale up ไปสู่การทำ R&D

          “แม้ TTRS สนใจในด้าน Level of Technology แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้า high level แล้วจะ Success ในธุรกิจ แต่เรามองถึงความสอดคล้อง มองถึงโอกาสปัญหาอุปสรรค และขีดความสามารถในองค์กรของคุณเองว่า ถ้าหากคุณจะนำเทคโนโลยีตรงนี้ไปใช้ในการต่อยอด หรือพัฒนาให้เป็น product หรือ service คุณจะมีขีดความสามารถมากน้อยแค่ไหน”

          ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการตอบคำถามที่ว่า ทำไมถึงต้องมีการประเมิน Rating นั่นเพราะไม่เพียงเป็นการประเมินศักยภาพธุรกิจแต่ยังนำไปสู่การเข้าถึงสินเชื่อที่มีความเหมาะสมตามความต้องการที่แท้จริง เข้าถึงเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ เป็น Sustainable technology และอยู่ใน life cycle technology ที่กำลังเติบโต

 

SME สนใจประเมินเทคโนโลยีกับ TTRS ทำอย่างไร?

         
          1. ผู้ประกอบการยื่นสมัครในระบบ
TTRS

          2. กรอกแบบฟอร์มและส่งเอกสารเพิ่มเติมที่แจ้งในระบบ

          3. ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเบื้องต้น

          4. ตรวจประเมินการใช้เทคโนโลยีในการผลิต

          5. เข้าสู่ระบบประเมิน TTRS

          6. แจ้งผลการประเมิน

          7. ออกใบรับรองและผลวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ

 

          TTRS อีกหนึ่งเครื่องมือพา SME ไทย สู่ความสำเร็จ ช่วยวิเคราะห์ประเมินเทคโนโลยี นวัตกรรม และศักยภาพในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการไทยให้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และเงินลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในอนาคต

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nstda.or.th/ttrs/

เอกสารสำหรับขอรับการประเมิน : https://www.nstda.or.th/ttrs/images/download/MiniTBP.pdf




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

5 รูปแบบการ Digital Transformation กลยุทธ์เร่งด่วนที่ SME ต้องทำก่อนปี 2568

5 รูปแบบการ Digital Transformation กลยุทธ์เร่งด่วนที่ SME ต้องทำก่อนปี 2568

การเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับปรุงกระบวนการ หรือประยุกต์ใช้งานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ ในแง่มุมของการประกอบธุรกิจเรียกว่า…
pin
3 | 28/09/2024
เจาะลึก ธุรกิจที่ใช้ AI ทำอย่างไร ถึงประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมในครึ่งปีหลัง 2567

เจาะลึก ธุรกิจที่ใช้ AI ทำอย่างไร ถึงประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมในครึ่งปีหลัง 2567

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา AI Chatbot เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีมาแรง ที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญอย่างมาก โดย AI Chatbot กลายมาเป็นเครื่องมือหลักที่ภาคธุรกิจนำมาใช้ในการสื่อสาร…
pin
3 | 26/09/2024
‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
2253 | 13/02/2024
TTRS วัดเรตติ้ง SME ไทย เพื่อเข้าถึงแหล่งเงิน นวัตกรรม และเทคโนโลยี